วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

วอเร็นบัฟเฟตต์ เมื่อหลงใหลก็ทำเลย

ชีพที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน :เมื่อหลงใหล ก็ลงมือทำเลย

   วอเร็น บัฟเฟตต์ เริ่มต้นทำงานเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์ ที่บริษัท บัฟเฟตต์ แอนด์ ฟอลค์ ที่คุณพ่อของเขาเป็นหุ้นส่วน และเริ่มสอนหนังสือภาคค่ำในวิชาหลักการลงทุนของมหาวิทยาลัยโมฮา เมื่ออายุเพียง 21 ปี ในปี
1952 เขาแต่งงานกับซู ท่อมปีสน เพื่อนร่วมห้องในมหาวิทยาลัยของน้องสาวของเขา ว่ากันว่าระหว่างไปฮันนีมูน เขายังนำหนังสือการวิเคราะห์หลักทรัพย์ของ เบนจามิน เกรแฮม ไปอ่านด้วย

     ในปี 1954 เบนจามิน เกรแฮมได้โทรศัพท์ไปหาวอเร็นและชวนเขากลับมาทำงานในฐานะหุ้นส่วนของบริษัท เกรแฮม นิวแมน ที่นิวยอร์ค มีรายได้ 12,000 ดอลลาร์ต่อปื ในช่วง 2 ปีที่เขาได้อยู่กับบริษัทนี้ ขาได้ฝึกฝนตัวเองอย่างหนักจนพร้อมที่จะออกไปจัดตั้งธุร
กิจหุ้นส่วนการลงทุนของตนเองในบ้านเกิด ซึ่งเวลานั้นมาถึง
    เมื่อวอเร็นอายุ 26 ปี เกรแฮมถอนหุ้นส่วนออก วอเร็นจึกลับไปที่โอมาฮาเขาเริ่มลงทุนด้วยงินของตนเอง 100 ดอลลาร์ และอีก 105,000 ดอลลาร์ จากครอบครัวและเพื่อนๆ เขาเริ่มลงทุนโดยทำงานอยู่กับบ้าน ไม่มีสำนักงาน ไม่มีเลขานุการ ตลอด 13 ปี นับจากนั้นกองทุนบัฟเฟตต์ทำกำไรโดยไม่เคยลดลงเลยโดยอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 29.5%   

กองทุนบัฟเฟตต์ :เมื่อโอกาสมาถึง แสดงฝีมือออกมาให้เต็มที่

      หลังจากจัดตั้งกองทุนเล็กๆ ด้วยเงินเริ่มตัน 105,000 ดอลลาร์ในปี 1956 นั้น วอเร็นก็ได้ความรู้และประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หุ้นทุกตัวที่เขาลงทุนในการอ่านเอกสารสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับธุรกิจนั้นอย่างละเอียดเรียกว่าเขาทำวิจัยอย่างรอบคอบเพื่อคันหาของดีราคาถูก อย่างไรก็ตาม วอเร็น ก็มักจะไม่ลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเกินกว่า 10% ของความมั่งคั่งของเขา เพื่อกระจายความเสี่ยง

      แนวคิดนี้ถูกยึดถือมาตลอด โดยในช่วงเริ่มตัน เขาได้ซื้อบ้านหลังใหม่ใน 1957 เมื่อภรรยคลอดบุตรคนที่ 3 เพื่อขยับขยายครอบ
ครั้วบ้านที่เขาซื้อและอยู่จนถึปัจจุบันมีราคาในขณะนั้น 31,500 ดอลลาร์ หรือประมาณ 100 ของความมั่งคั่งของวอเร็นในตอนนั้น ซึ่งแนวคิดนี้ต่างจากคนทั่วไป

      ซึ่งใช้เงินเก็บของตนเองเกือบทั้งหมดไปดาวน์บ้านประมาณ 20% ของราคาบ้าน
และเป็นหนี้ระยะยาวที่ต้องผ่อนในยอดเงินต้นอีก 80% เป็นเวลา 30 ปี แนวคิดนี้ของวอเร็นไม่เหมือนคนอื่นตรงที่หาเงินมาให้ได้ครบก่อน จึงค่อยมีบ้าน เขาจะไม่กู้เลยและการซื้อบ้านก็ใช้เงินแค่ 10% ของที่มีทั้งหมด ทำให้ชีวิตมีส่วนเหลือของความปลอดภัยอยู่อีกมาก ภาษาลงทุนเรียกว่า "ส่วนเผื่อความปลอดภัย"
(Margin of Safety)

       การทำเช่นนี้ได้บ่งบอกว่าวอเร็นมีปรัชญาการประหยัดเป็นหลักด้วยในปี 1962 วอเร็นมีอายุ 32 ปี กองทุนของเขาที่เริ่มต้นด้วยเงิน 105,000 ดอลลาร์ ติบโตเป็น 7.2 ล้านดอลลาร์ ในตอนนั้นเขามีสำนักงานแล้วห่างจากที่พักออกไปเพียง 20 ช่วงตึกเท่านั้น 

     เขาได้บรรลุเป้าหมายการเป็นเศรษฐีเงินล้านเมื่ออายุ 30 ปี ตามที่ได้ตั้งปนิทานเอาไว้ตั้งแต่อายุ 13 ปีแล้ว ในการบริหารกิจการหุ้นส่วนลงทุนนั้น วอเร็น บัฟเฟตต์ รับประกันผลตอบแทนให้หุ้นส่วนปีละ 6% โดยที่เขาจะได้รับส่วนแบ่ง 25% ของส่วนที่เกิน 6% นั้น

บริษัทเบิร์คไชร์ ฮาราเวย์ธุรกิจลงทุนแบบมืออาชีพของ วอเร็น บัฟเฟตต์

      ช่วงตันทศวรรษ 1 960 วอเร็น บัฟเฟตต์ได้คันพบบริษัท เบิร์คไชร์ ฮาราเวยซึ่งเป็นบริษัทสิ่งทอที่ตั้งอยู่ที่เมืองนิเบคฟอร์ด รัฐแมสชาชูเซตส์ ขณะนั้นเขายังทำธุรกิจหุ้นส่วนลงทุนอยู่ โดยแผนการวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบ

      เขาเริ่มซื้อหุ้นนี้ในรดา 7 ดอลลาร์ต่อหุ้น ในขณะที่มูลค่าบัญชีเท่ากับ 17  ดอลลาร์ต่อหุ้น และหนี้สินของบริษัทมีน้อยมาก ในปี 1963 กองทุนของ วอเร็น บัฟเฟตต์ กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทแห่งนี้ วอเร็นค้นหาหุ้นตามสไตล์ของเขาเข้าพอร์ตโฟลิโอหุ้นสามัญของกองทุนอย่างต่อเนื่อง หุ้นของ GEICO และ DISNEY เป็นอีกบางตัวอย่างของหุ้นเน้นคุณค่ที่เขาไปวิเคราะห์และเลือก
เข้ามาในพอร์ต

     ในปี 1969 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเมื่อ วอเร็น บัฟเฟตต์ ปิดกองทุนเดิมจากธุรกิจหุ้นส่วนลงทุน โดยขายหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในพอร์ต จำนวน 100 ล้านดอลลาร์ ยกเว้นแต่หุ้นของเบิร์ไซฯ ที่ตกป็นของวอเร็น อยู่ที่ 25 ล้านดอลลาร์ ทำให้เขาถือหุ้นในเบิร์กไซร์ฯ ได้เกือบครึ่งหนึ่งขณะนั้นตัวเข้าอายุได้ 39 ปี และเบิร์กไซรฮาราเวย์ก็กลายเป็นครื่องจักร
ที่สร้างผลตอบแทนให้แก่วอเร็นและผู้ถือหุ้น
คนอื่นๆ ได้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

      แม้ว่าในขณะนั้น เบิร์คไช ฮราวย์ จะยังคงดำเนินธุรกิจสิ่งทอต่อไปแต่กำไรจากธุรกิจสิ่งทอในปี 1969 มีเพียง 45,000 ดอลลาร์ ในขณะที่กำไรจากการลงทุนด้วยฝีมือของ
วอเร็นทำได้ถึง 4.7 ล้านดอลลาร์ หรือสูงกว่า 10 เท่าตัววอเร็นใช้กลยุทธ์ซื้อของดีราคาถูก และขายออกไปเมื่อมีกำไร และนำเงินที่ได้
ไปซื้อกิจการอื่นต่อไปอีก ซึ่งแนวทางการสร้างวงจรในการสร้างความมั่นคงแบบ
ไม่รู้จบ 

     พ้นปี 1985 วอเร็นปิดโรงงานผลิตสิ่งทอ ซึ่งเป็นธุรกิจดั่งเดิมของ เบิร์กไซร์ฮาราเวย์ เนื่องจากแรงงานต่างชาติมีราคาถูกกว่าและมีคู่แข่งจากต่างชาติเข้ามามากขึ้น แต่หน่วยธุรกิจด้านการลงทุนยังคงอยู่ต่อไป


        การลงทุนแบบเน้นคุณค่าของ วอเร็น บัฟเฟตต์ในปี 1988 พอร์ตโฟลิโอของ เบิร์คไซร์ฯ แสดงให้เห็นว่าวอเร็นเป็นเจ้าของ
ธุรกิหลากหลาย หุ้นบางตัวสัมพันธ์กับช่วงชีวิตตั้งแต่วัยเด็กของเขา เช่น บริษัท
โคคา-โคล่า, บริษัท เดอะวอชิงตันโพสต์, บริษัท GEICO เป็นต้น หุ้นเหล่านี้และ
หุ้นต่างๆ ที่เขาเลือกล้วนแต่เป็นหุ้นที่มีคุณค่า ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป บางตัวก็ยังคงอยู่ บางตัวก็ไม่ใช่หุ้นคุณค่าอีกต่อไป ซึ่งวอเร็นทำการตรวจสอบตลอดเวลาและปรับพอร์ตซื้อเพิ่ม หรือขายออกตามความเหมาะสม

      การลงทุนของวอเร็นในเบิร์กไซร์  ผ่านช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจทั้งดีทั้งร้ายมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งเป็นบททดสอบที่ดีพอสมควร โดยราคาหุ้นของเบิร์กไซร์ฯ จากปี 1962-1998 


      ถ้าดูเวลาที่ วอเร็น บัฟเฟตต์ลงทุนผ่านมาครึ่งศตวรรษ (1956-2007)ตอนที่เขาบริหารกองทุนบัฟเฟตต์ ผลตอบแทนได้รับถึง 29.55% ต่อปืตลอดช่วง 13 ปี และผลตอบแทนของเบิร์กไซร์ฯ เฉลี่ยที่ 22.6% ต่อปี ตลอด 38 ปี
ที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนของดัชนี S&p 500 ที่ปรับตัวเพิ่มเพียง 11%
ในช่วงเวลาดังกล่าว
บทความ: ASAWINLHAOSRI
28-07-2020

ขอบคุณที่มา : หนังสือตามรอยวิถีเซียนลงทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour)

พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour ) พฤติกรรม หมายถึง กิริยาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์หรือที่มนุษย์ได้แสดง หรือปฏิกิริยาที่เกิ...