วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ตามรอยวิถีลงทุนของ วอเร็น บัฟเฟตต์

ถึงนาทีนี้ไม่มีนักลงทุนคนไหนที่จะไม่รู้จัก "วอเร็น บัฟเฟตต์" (Warren Buffett)
ผู้มั่งคั่งสูงสุดอันดับสองของโลก เป็นรอง
ก็แต่ บิล เกตส์ (Bill Gates) เจ้าพ่อ
ไมโครซอฟท์เท่านั้น 
วอเร็น บัฟเฟตต์ ไม่ใช่นักธุรกิจมืออาชีพ แต่เขาเป็นนักลงทุนมืออาชีพ ความสำเร็จของบัฟเฟตต์ ทำให้มีผู้ติดตามศึกษาอัตชีวประวัติของเขาสังเกตและวิเคราะห์วิธีและสไตล์การลงทุนของเขาจนเกิดคำว่า "การลงทุนเน้นคุณค่า (Value Investing) และนักลงทุนที่ปฏิบัติตามแนวคิดนี้ถูกเรียกว่า"นักลงทุนเน้นคุณค่า" (Value Investor) 

มีผู้เขียนถึง วอเร็น บัฟเฟตต์ อย่าง
มากมายในหลายแง่มุม ผมในฐานะนักตีความก็จะขอเลือกหนังสือชื่อ "Warren
Buffett Wealth" เขียนโดย Robert P. Miles ซึ่งมีฉบับแปลและเรียบเรียงเป็น
ภาษาไทย โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงต์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฟิเดลลิตี้ โดยใช้ชื่อ
ว่า "มั่งคั่งอย่าง วอเร็น บัฟเฟตต์" มาสรุปให้ท่านนักลงทุนที่สนใจได้ทราบกัน

ผู้ที่ต้องการอ่านรายละเอียดเจาะลึกก็ไปหาหนังสือฉบับเต็มมาอ่านเพิ่มเติมกัน
ต่อไปครับ

หนังสือเล่มนี้เริ่มตันด้วยการชี้ให้เห็นข้อมูลที่นตื่นตะลึงว่า ถ้าปี 1956 เรานำเงินไปร่วมลงทุนกับ วอเร็น บัฟเฟตต์ จำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐมาถึงปี 2004 เงินลงทุนของเราเมื่อหักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และภาษีแล้ว จะมีมูลค่าสุทธิสูงถึง 300 ล้านดอลลาร์ วอเร็น บัฟเฟตต์ ทำได้อย่างไร ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ถือครองสิทธิบัตรใดๆ ไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่หรือทำธุรกิจใดๆ แต่สิ่งที่เขาใช้ก็คือเครื่องมือในโลกทุนนิยมที่เรียกว่า "การลงทุน" (ซึ่งทุกคนสามารถนำไปใช้ได้) วิธีตามสไตล์ของเขาก็คือ "การมีวินัยที่เคร่งครัด และยึดมั่นในหลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่าอย่างไม่เสื่อมคลาย" แม้อายุจะล่วงเลยมาจนถึง 81 ปีแล้วก็ตาม สิ่งที่ทุกคนยอมรับและชื่นชม 
วอเร็น บัฟเฟตต์ ไม่ใช่การสร้างตัวเองเป็น
มหาเศรษฐีพ้นล้าน แต่เขาใช้เวลาทั้งชีวิตสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้อื่นด้วย

นอกจากนี้ เขายังได้ค้นหาวิธีการที่ทำให้เกิดความยั่งยืนของความมั่งคั่ง
และถ่ายทอดความมั่งคั่งไปยังคนรุ่นต่อไปเพื่อสังคมที่ดีกว่าด้วย เราจะค่อยๆ
ตามดูชีวิตและแนวคิดของ วอเร็น บัฟเฟตต์ กันครับ โดยในตอนแรกนี้จะเริ่มตัน
จากอัตชีวประวัติและช่วงเวลาในการสร้างความมั่งคั่งของเขา



ประวัติโดยสังเขป
ความมั่งคั่งไม่จำเป็นต้องมาจากชาติตระกูล
วอเร็น บัฟเฟตต์ ไม่ได้เกิดมาร่ำรวย แต่สิ่งที่เขามีคือสติปัญญา ซึ่งก็ไม่ได้
มีมาทั้งหมดตั้งแต่เกิด แต่เขาเพิ่มพูนมันภายหลังด้วยความตั้งใจและอดทน
เรียกว่า ขามีทั้งพรสวรรค์และพรแสวง แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือแรงบันดาลใจ
(Inspiratio) และความหลงใหล (Passion) ในเรื่องการลงทุน ทำให้เขาใช้
เวลาพัฒนาสติปัญญาเพื่อเรื่องการลงทุนนี้มากที่สุด วอเร็น บัฟเฟตต์ ใช้แนวคิด
เรียบง่ายเหมือนกับคนที่ประสบความสำเร็จอื่นๆ คือ เริ่มด้วยการศึกษาอย่าง
ไม่ย่อท้อในเรื่องใเรื่องหนึ่ง เพื่อที่จะเป็นคนเก่งที่สุด เขาเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
ลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง หาหลักการแห่งความสำเร็จ เมื่อค้นพบและทำมันอีก
ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกลายเป็นวิธีการลงทุนชนิดหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับ
"วอเร็น เอ็ดเวิร์ด บัฟเฟตต์" (Warren Edward Buffett) เกิดเมื่อวันที่
30 สิงหาคม 1930 ที่เมืองโมฮา รัฐเนบราสก้า สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรชาย
ของ โฮเวิร์ด และ ไลล่าบัฟเฟตต์ ตระกูลของเขาเป็นพ่อค้า คุณทวดและคุณปู่
ของวอเร็นมีร้านขายของชำชื่อ Buffett and Son ในเมืองโอมาฮา ขณะที่เขาเกิด
คุณพ่อของเขาประกอบอาชีพเป็นผู้บริหารของบริษัทนายหน้าขายหลักทรัพย์
(Broker) ซึ่งเป็นช่วงวลาพอดีกับเกิดการตกต่ำครั้งใหญ่ในตลาดหุ้นของสหรัฐฯ
และทั้งโลก

●สายเลือด ความหลงใหล และลงมือทำ
ขณะที่มีอายุ 6 ขวบ วอเร็น บัฟเฟตต์ ก็เริ่มต้นเป็นพ่อค้าแล้ว โดยขอซื้อ
โค้กแพ็ค 6 ขวด ในรดา 25 เซนต์ จกร้านของคุณแล้วเอาไปขายต่อให้ถึง
มือเพื่อน ในรดาขวดละ 5 เซนต์ ทำให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนโดยรวม
20%

ตอนเป็นเด็ก เขาหลงใหลในตัวเลข คณิตศาสตร์ เงินตรา และเหรียญ
เขาเริ่มอ่านหนังสือ A Thousand Ways to Make $ 1000 ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ และ
เมื่ออายุ 10 ขวบ เขาก็เริ่มอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับการลงทุน การเงิน และตลาดหุ้น
ทุกเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุดเมืองโอมาฮา นอกจากนี้ เขายังได้เรียนรู้จากการช่วยงาน
เล็กๆ น้อยๆ ในบริษัทโบรกเกอร์ของพ่อ โดยการช่วยเขียนราคาหุ้นบนกระดาน
ราคาด้วยชอล็ค

-ขณะที่อายุ 11 ขวบ วอเร็นซื้อหุ้นเป็นครั้งแรก เป็นหุ้นบุริมสิทธ์ของ
City Service จำนวน 6 หุ้น ในรคหุ้นละ 38 ดอลลาร์ โดยเป็นของตนเอง
3 หุ้น และของพี่สาว 3 หุ้น เขาขายหุ้นนี้ออกไปเมื่อราคา 40 ดอลลาร์ แม้จะได้
กำไร แต่เขาก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับจังหวะการซื้อขาย พราะภายหลังหุ้นนี้มีราคา
ปรับตัวขึ้นไปถึง 200 ดอลลาร์ การกระหายความรู้ด้านการลงทุนมีไม่หยุดหย่อน
โดยเฉพาะความต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในตลาดลงทุน เมื่ออายุ 13 ปี เขาได้
กำหนดเป้าหมายว่าจะเป็นศรษฐีให้ได้เมื่ออายุ 30 ปีต่อมาเมื่อเขาอายุ 14 ปี คุณพ่อของเขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิก
สภาคองเกรสของรัฐเนบร่าสก และครอบครัวต้องย้ายไปอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
เพื่อทำงานที่รัฐสภา วอเร็นต้องเข้าเรียนต่อที่เมืองนี้ เขาไม่ค่อยชอบเมืองหลวง
เพราะผูกพันกับเมืองโอมาฮบ้านเกิด (ซึ่งทำให้เราเห็นว่าเมื่อโตขึ้นเขาเลือกที่จะ
อยู่อาศัยและทำงานที่บ้านเกิดเท่นั้น) ขณะที่อยู่เมืองหลวง วอเร็นทำงานพิเศษ
เป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์อชิงตันโพสต์ โดยมีรายได้พิเศษ 175 ดอลลาร์ต่อเดือน
นอกจากนั้นยังทำธุรกิการขายลูกกอล์ฟมือสอง ถึงตอนนั้นวอเร็นยังนำเงินออม
อีก 1,200 ดอลลาร์ ไปลงทุนซื้อที่ดินเกษตรกรรมในรัฐเนบราสก้า และต่อด้วยการ

ทำธุรกิจเครื่องเล่นพินบอลมือสอง ซึ่งซื้อเครื่องเล่นเก่ามาในราคา 25 ดอลลาร์
เมื่อเทียบกับราคาเครื่องใหม่ 300 ดอลลาร์ แล้วนำไปวางในร้านตัดผมชาย
ธุรกิจนี้ไปได้ด้วยดี โดย 1 ปีต่อมา เขาและเพื่อนได้ขายธุรกิจนี้ให้แก่ทหารผ่านศึก
ไปในราคา 1,200 ดอลลาร์
เมื่อจบชั้นมัธยมกษา วอเร็นมีอายุ 16 ปี มีทรัพย์สินที่หาด้วยตนเองถึง
6,00 ดอลลาร์ เขายังคงทำธุรกิ ใช้ชีวิตอย่างมัธยัสถ์ รายจ่ายน้อยกว่ารายได้
และเขายังกระหายความรู้อยู่ตลอดเวลา เขาอ่นหนังสือด้านธุรกิจ การเงิน
การลงทุนมาแล้วถึง 100 เล่ม และผลการเรียนมีความโดดเด่นในวิชาคณิตศาสตร์
เป็นอย่างมาก



The Intelligent Investor :
หนังสือที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของวอเร็น บัฟเฟตต์วอเร็นสมัครและเข้าเรียนระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
แต่ต่อมาได้ย้ายไปเรียนและจบระดับปริญญาตรีด้านศรษฐศาสตร์ จาก
มหาวิทยาลัยเนบราสก้า ใน 1950 ในขณะที่เรียนในปีสุดท้าย เขาได้อ่าน
หนังสือ "The Intelligent Investor" ของเบนจามิน เกรแฮม หนังสือเล่มนี้ได้
จุดประกายหรือเป็นจุดเริ่มต้นของปรัชญาการลงทุนที่เรียกว่า "การลงทุนแบบ
เน้นคุณ" ที่มีแนวคิดที่สำคัญ คือ การลงทุนจะดีที่สุดเมื่อผู้ซื้อรู้จักธุรกิจ
มากที่สุด และลงทุนโดยปราศจกอารมณ์ ความกลัว หรือวิ่งตามแนวโน้มหรือ
ความนิยมชั่วครั้งชั่วคราว
ตอนอายุ 19 ปี วอเร็นมีความมั่งคั่งของตนเอง 9,800 ดอลลาร์ เขา
สมัครเรียนปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ได้รับการ
ปฏิเสธ แต่นั่นกลับเป็นสิ่งดี เพราะเขาได้ตามหาเบนจามิน เกรแฮม และพบว่า
เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยโคล้มเบีย เขาได้สมัครและได้รับการตอบรับ ที่นี่
เขาได้ความรู้จ้กนักการงินที่มีชื่อเสียง รวมทั้ง เดวิด ดอดจ์ ผู้เขียนหนังสือ
"Security Analysis" ร่วมกับเบนจามิน เกรแฮมระหว่างเรียน ในตอนที่เขาอายุ 21 ปี เขาทราบว่า เบนจามิน เกรแฮม เป็น
ประธานกรรมการบริษัทประกันภัยรถยนต์ "GECO" เขาอาสาเข้าไปช่วยงาน
ในวันหยุด และได้เรียนรู้หลักการวิเคราะห์ธุรกิจประกันภัยรถยนต์ ซึ่งทำให้เขา
ได้พื้นฐานการหามูลค่ที่แท้จริงผ่นการวิเคราะห์ธุรกิจในแง่มุมต่างๆ ระหว่างนี้
เขายังได้เขียนงานวิจัยชื่อ "The Security & Like Best" ลงใน The Commercial
and Financial Chronicle โดยใช้ข้อมูลหุ้น GEICO นั้นเอง



หลังจบการศึกษใน 1951 เขาอยากทำงานที่ตลาดหุ้นในวอลล์สตรีท
แต่บิดาและเบนจมิน เกรแฮม ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ เบนจามิน เกรแฮม
ยังปฏิเสธที่จะรับเขาเข้าทำงานด้านวิเคราะห์หุ้นในบริษัทของเขา ทั้งที่วอเร็น
เป็นลูกศิษย์ที่ได้เกรด A: ดนเดียวในวิชาวิเคราะห์หลักทรัพย์และเสนอตัวไม่รับ
เงินเดือนด้วย วอเร็นจึงต้องกลับบ้านที่รัฐโอมาฮาอาชีพที่เกี่ยงข้องกับการลงทุน :
เมื่อหลงใหล ก็ลงมือทำเลย
วอเร็น บัฟเฟตต์ เริ่มต้นทำงานเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์ ที่บริษัท
บัฟเฟตต์ แอนด์ ฟอลค์ ที่คุณพ่อของเขาเป็นหุ้นส่วน และเริ่มสอนหนังสือ
ภาคค่ำในวิชาหลักการลงทุนของมหาวิทยาลัยโอมาฮา เมื่ออายุเพียง 21 ปี ในปี1952 เขาแต่งงานกับซูซี่ ท่อมป์สัน เพื่อนร่วมห้องในมหาวิทยาลัยของน้องสาว
ของเขา ว่ากันว่าระหว่างไปฮันนีมูน ขายังนำหนังสือการวิเคราะห์หลักทรัพย์
ของ เบนจามิน เกรแฮม ไปอ่านด้วย
ในปี 1954 เบนจามิน เกรแฮมได้โทรศัพท์ไปหาวอเร็นและชวนเขากลับมา
ทำงานในฐนะหุ้นส่วนของบริษัท เกรแฮม นิวแมน ที่นิวยอร์ค มีรายได้ 12,000
ดอลลาร์ต่อปี ในช่วง 2 ปีที่เขาได้อยู่กับบริษัทนี้ เขาได้ฝึกฝนตัวเองอย่างหนัก
จนพร้อมที่จะออกไปจัดตั้งธุรกิจหุ้นส่วนการลงทุนของตนเองในบ้านเกิด ซึ่งเวลา
นั้นมาถึงเมื่อวอเร็นอายุ 26 ปี เกรแฮมถอนหุ้นส่วนออก วอเร็นจึงกลับไปที่โอมาฮา
เขาเริ่มลงทุนด้วยงินของตนเอง 100 ดอลลาร์ และอีก 105,000 ดอลลาร์ จาก
ครอบครัวและเพื่อนๆ ขาเริ่มลงทุนโดยทำงานอยู่กับบ้าน ไม่มีสำนักงาน ไม่มี
เลขานุการ ตลอด 13 ปี นับจากนั้นกองทุนบัฟเฟตต์ทำกำไรโดยไม่เคยลดลงเลย
โดยอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 29.5%




กองทุนบัฟเฟตต์ :
เมื่อโอกาสมาถึง แสดงฝีมือออกมาให้เต็มที่
หลังจากจัดตั้งกองทุนล็กๆ ด้วยเงินเริ่มต้น 105,000 ดอลลาร์ในปี 1956
นั้น วอเร็นก็ได้ความรู้และประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
หุ้นทุกตัวที่เขาลงทุนผนการอ่านเอกสารสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับธุรกิจนั้นอย่างละเอียด
เรียกว่าเขาทำวิจัยอย่างรอบคอบเพื่อค้นหาของดีราคาถูก อย่างไรก็ตาม วอเร็น
ก็มักจะไม่ลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเกินกว่า10% ของความมั่งคั่งของเขา เพื่อ
กระจายความเสี่ยง แนวคิดนี้ถูกยึดถือมาตลอด โดยในช่วงเริ่มตัน เขาได้ซื้อ
บ้านหลังใหม่ใน 1957 เมื่อภรรยคลอดบุตรคนที่ 3 เพื่อขยับขยายครอบครั้ว
บ้านที่เขาชื้และอยู่จนถึปัจจุบันมีรดาในขณะนั้น 31,500 ดอลลาร์ หรือ
ประมาณ 10% ของความมั่งคั่งของวอเร็นในตอนนั้น ซึ่งแนวคิดนี้ต่งจากคนทั่วไป
ซึ่งใช้เงินเก็บของตนเองเกือบทั้งหมดไปดาวน์บ้านประมาณ 20% ของราคาบ้าน
และเป็นหนี้ระยะยาวที่ต้องผ่อนในยอดเงินต้นอีก 80% เป็นเวลา 30 ปี แนวคิดนี้
ของวอเร็นไม่เหมือนคนอื่นตรงที่หาเงินมาให้ได้ครบก่อน จึงค่อยมีบ้าน เขาจะ
ไม่กู้เลยและการซื้อบ้านก็ใช้เงินแค่ 10% ของที่มีทั้งหมด ทำให้ชีวิตมีส่วนเหลือ
ของความปลอดภัยอยู่อีกมาก ภาษาลงทุนเรียกว่า "ส่วนเผื่อความปลอดภัย"
(Margin of Safety) การทำเช่นนี้ได้บ่งบอกว่าวอเร็นมีปรัชญาการประหยัด
เป็นหลักด้วยในปี 1962 วอเร็นมีอายุ 32 ปี กองทุนของเขาที่เริ่มต้นด้วยเงิน 105,000
ดอลลาร์ เติบโตเป็น 7.2 ล้านดอลลาร์ ใตอนนั้นเขามีสำนักงานแล้วห่างจาก
ที่พักออกไปเพียง 20 ช่วงตึกเท่นั้น เขาได้บรรลุเป้าหมายการเป็นเศรษฐีเงินล้าน
เมื่ออายุ 30 ปี ตามที่ได้ตั้งปนิธานเอาไว้ตั้งแต่อายุ 13 ปีแล้ว ในการบริหาร
กิจการหุ้นส่วนลงทุนนั้น วอเร็น บัฟเฟตต์ รับประกันผลตอบแทนให้หุ้นส่วน
ปีละ 6% โดยที่เขาจะได้รับส่วนแบ่ง 25% ของส่วนที่เกิน 6% นั้น




บริษัทเบิร์คไชร์ ฮาราเวย์
ธุรกิจลงทุนแบบมืออาชีพของ วอเร็น บัฟเฟตต์ช่วงต้นทศวรรษ 1960 วอเร็น บัฟเฟตต์ได้คันพบบริษัท เบิร์กไซร์ ฮาราเวย์ซึ่งเป็นบริษัทสิ่งทอที่ตั้งอยู่ที่เมืองนิวเบคฟอร์ค รัฐแมสซาชูเซตส์ ขณะนั้น
เขายังทำธุรกิจหุ้นส่วนลงทุนอยู่ โดยผ่นการวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบ
เขาเริ่มซื้อหุ้นนี้ในรดา 7 ดอลลาร์ต่อหุ้น ในขณะที่มูลค่กางบัญชีเท่ากับ 17
ดอลลาร์ต่อหุ้น และหนี้สินของบริษัทมีน้อยมาก ในปี 1963 กองทุนของ วอเร็น
บัฟเฟตต์ กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทแห่งนี้ วอเร็นค้นหาหุ้นตามสไตล์
ของเขาเข้าพอร์ตโฟลิโอหุ้นสมัญของกองทุนอย่างต่อเนื่อง หุ้นของ GEICO
และ DINEY เป็นอีกบางตัวอย่างของหุ้นเน้นคุณค่ที่เขาไปวิเคราะห์และเลือก
เข้ามาในพอร์ตในปี 1969 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเมื่อ วอเร็น บัฟเฟตต์ ปิดกองทุนเดิมจาก
ธุรกิห้นส่วนลงทุน โดยขายหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในพอร์ต จำนวน 100 ล้านดอลลาร์
ยกเว้นแต่หุ้นของเบิร์ไซฯ ที่ตกเป็นของวอเร็น อยู่ที่ 25 ล้านดอลลาร์ ทำให้เขา
ถือหุ้นในเบิร์ไซร์ฯ ได้เกือบครึ่งหนึ่ง ขณะนั้นตัวเข้าอายุได้ 39 ปี และเบิร์กไซร์
ฮาราเวย์ก็กลายป็นครื่องจักรลงทุนที่สร้างผลตอบแทนให้แก่วอเร็นและผู้ถือหุ้น
คนอื่นๆ ได้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
แม้ว่าในขณะนั้น เบิร์กไซ ฮธาเวย์ จะยังคงดำเนินธุรกิจสิ่งทอต่อไป
แต่กำไรจากธุรกิจสิ่งทอใน 1969 มีเพียง 45,000 ดอลลาร์ ในขณะที่กำไรจาก
การลงทุนด้วยฝีมือของวอเร็นทำได้ถึง 4.7 ล้านดอลลาร์ หรือสูงกว่า 10 เท่าตัว
วอเร็นใช้กลยุทธ์ซื้อของดีราคาถูก และขายออกไปเมื่อมีกำไร และนำเงินที่ได้
ไปซื้อกิการอื่นต่ไปอีก ซึ่งปนการสร้างวงจรในการสร้างความมั่นคงแบบ
ไม่รู้จบ พ้นปี 1985 วอเร็นปิดโรงงานผลิตสิ่งทอ ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของ เบิร์กไซร์
ฮาราเวย์ เนื่องจากแรงงานต่งชาติมีรดาถูกกว่าและมีคู่แข่งจากต่างชาติเข้ามา
มากขึ้น แต่หน่วยธุรกิด้านการลงทุนยังคงอยู่ต่อไป




ในปี 1988 พอร์ตโฟลิโอของ เบิร์คไชร์ฯ แสดงให้เห็นว่าวอเร็นเป็นเจ้าของ
ธุรกิจหลากหลาย หุ้นบางตัวสัมพันธ์กับช่วงชีวิตตั้งแต่วัยเด็กของเขา เช่น บริษัท
โคคา-โคล่, บริษัท เดอะวอชิงตันโพสต์, บริษัท GEICO เป็นตัน หุ้นเหล่านี้และ
หุ้นต่างๆ ที่เขาเลือกล้วนแต่เป็นหุ้นที่มีคุณค่ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป บางตัวก็ยัง
คงอยู่ บางตัวก็ไม่ใช่หุ้นคุณค่อีกต่อไป ซึ่งวอเร็นทำการตรวจสอบตลอดเวลา
และปรับพอร์ตซื้อเพิ่ม หรือขายออกตามความเหมาะสม
การลงทุนของวอเร็นในเบิร์คไชร์ ฮธาเวย์ ผ่านช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจทั้งดี
ทั้งร้ายมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งเป็นบททดสอบที่ดีพอสมควร โดยราคาหุ้นของ
เบิร์กไซร์ฯ จากปื 1962-1998 แสดงการเติบโตไว้ดังนี้
ที่มา: Andy Kilpatrick, of Permanent Value (AKPE, 2002)
ถ้าดูเวลาที่ วอเร็น บัฟเฟตต์ลงทุนผ่านมาครึ่งศตวรรษ (1956-2007)
ตอนที่เขาบริหารกองทุนบัฟเฟตต์ ผลตอบแทนได้รับถึง 29.55% ต่อปี
ตลอดช่วง 13 ปี และผลตอบแทนของเบิร์คไชร์ฯ เฉลี่ยที่ 22.6% ต่อปี ตลอด 38 ปี
ที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 ที่ปรับตัวเพิ่มเพียง 11%
ในช่วงเวลาดังกล่าว



●บทเรียนที่ได้จากอัตชีวประวัติ
ของ วอเร็น บัฟเฟตต
1. คุณควรค้นหาว่าเราถนัดอะไรมากที่สุด ลงมือศึกษาสิ่งนั้นให้ดีที่สุด
เพื่อที่จะเป็นคนก่งที่สุดในการลงทุนนั้น วอเร็น บัฟเฟตต์ เก่งที่สุดในการสร้าง
ความมั่งคั่งโดยการลงทุนในธุรกิจของผู้อื่น เราไม่ได้คิดว่านักลงทุนทุกคนจะเก่ง
เทวอเร็น หรืออาจมีวิธีการลงทุนที่ดีหลายวิธี แต่การศึกษาและทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับวิธีของ วอเร็น บัฟเฟตต์ น่จะเป็นประโชน์อย่างยิ่งต่อการลงทุนของเรา
2.ในโลกของลัทธิทุนนิยม ความมั่งคั่งเกิดขึ้นจากการเป็นเจ้าของ
ธุรกิจ แต่วอเร็นไปไกลกว่านั้น เขานำเงินเข้ไปลงทุนกับนักธุรกิจที่เน้นคุณค่า
แล้วไม่หยุดแค่นั้น แต่นำกำไรที่ได้ไปซื้อกิจการอื่นเพิ่ม เพื่อสร้างกำไรที่จะนำไป
ลงทุนต่อไป เป็นวงจรเรื่อยไป ซึ่งคุณก็ควรทำเช่นนั้น
3. เนื่องจากเวลา งบประมาณ พลังงานทั้งหมด เป็นข้อจำกัดของทุกคน
ในชีวิตไม่ว่าจะทำอะไร แม้แต่การลงทุน การที่จะเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ
ต้องทุ่มเทพรสวรรค์ เวลา และพลังงานทั้งหมดในเรื่องนี้ กล่าวได้ว่า วอเร็นได้อุทิศ
ตัวเองเพื่อการนี้ ดึพรสวรรค์ของตัวเองในการค้นหาธุรกิจที่ดี และผู้บริหารที่ดี
เพื่อจะลงทุน โดยไม่จำเป็นต้องคิดดันสิทธิบัตรหรือก่อตั้งธุรกิจอะไรเลย
4. คัดเลือกต้นแบบอย่างรอบคอบ วอเร็นไม่ได้มีแต่โชคดีที่มีครอบครัว
ที่เป็นพ่อค้าช่วยเป็นต้นแบบ แต่เขาลงมือทำมัน เขาหาต้นแบบ เช่น อาจารย์
ที่ดีอย่าง เบนจามิน เกรแฮม เขาใฝรู้ มีแรงบันดาลใจ มีความหลงใหลในเรื่องที่
เกี่ยวกับการลงทุน และมีเป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิต
5. มีพฤติกรรมการดำรงชีวิตส่วนตัวและชีวิตการลงทุนที่ดี เช่น
เริ่มลงทุน และสร้างความมั่งคั่งโดยเร็ว
เก็บสะสม ลงทุน และใช้ชีวิตต่ำกว่าระดับรายได้
อ่านและศึกษาธุรกิจในอดีต หลายทศวรรษก่อนที่จะลงทุน
เข้าใจระบบบัญชี และวิธีการดำเนินธุรกิจ


เป็นนักวิเคราะห์ธุรกิ ไม่ใช่นักวิเคราะห์ตลาด (หุ้น)เรียนรู้ที่จะประเมินราคาธรกิจ และซื้อหุ้นของกิจการนั้นๆ ในราคา
ต่ำกว่ามูลค่าที่คุณคิดปรัชญาหลักในการลงทุนของ วอเร็น บัฟเฟตต์หลักปรัชญาในการลงทุน (ซึ่งจะส่งผลไปยังวิธีในการลงทุน) ของ วอเร็นบัฟเฟตต์ อาจหอนได้ในหนังสืการลงทุนตามสไตล์ของ วอเร็น บัฟเฟตต์ซึ่งมีมากมาย แต่ในฐนะผู้ตีความคนหนึ่ง ผมขอสรุปไว้สั้นๆ 3 ข้อหลัก ดังนี้
ลงทุนในธุรกิจที่คุณเข้าใจวอเร็น บัฟเฟตต์ แนะนำว่การจะลงทุนในหุ้นของธุรกิจอะไรสักอย่างเราควรจะรู้จักสิ่งที่เรากำลังจะเป็นจ้าของอย่างแท้จริง นอกจากเข้าใจแล้วจะต้องทำวิจัยก่อนตัดสินใจซื้อด้วย ในการลงทุนในหุ้นเราอาจลองใช้แนวคิดเหมือนกับเรากำลังจะลงทุนในธุรกิจนั้นๆ ถ้าเราจะเปิดร้านอาหาร เราก็คงต้องตอบคำถาม
หลายอย่าง เช่น

เรากำลังจะขายอะไร
สินค้าและบริการคืออะไร
ลูกค้าของเราคือใคร
เขามีความต้องการอย่างไร
วิธีการผลิตและบริการเป็นอย่างไร
คู่แข่งเป็นอย่างไร
ความพร้อมและความสามารถของผู้บริหารและพนักงานเป็นอย่างไร
ราคา ตั้นทุน และกำไรเป็นอย่างไร
ต้องลงทุนเท่าไร

ถ้าคิดแบบนี้ เวลาสนใจจะลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ทำร้านอาหาร เราก็คงต้องวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจแบบนี้เช่นกัน แต่การลงทุนในหุ้นจะมีข้อดี คือ เราไต้องเหนื่อยไปบริหารธุรกิจเอง เพราะมีผู้บริหารมืออาซี่พคอยดูแล เราเพียงแต่คอยติดตามวิคราะห์ดูว่บริษัทจดทะเบียนยังดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยดี เติบโต กำไรดี ผลตอบแทนดี มีความมั่นคงอยู่เสมอหรือไม่
วอเร็น บัฟเฟตต์ มักจะกล่าวว่า "ผมไม่เข้าใจเทคโนโลยี ดังนั้น ผมจึง
ไม่ลงทุนในกลุ่มนี้" ไม่ได้หมายความว่า ธุรกิจเทคโนโลยีไม่ดี ไม่มีอนาคต
แต่ วอเร็น บัฟเฟตต์ อธิบายว่าเขาไม่ถนัดในการทำความเข้าใจกับธุรกิจดังกล่าว
ทำให้ไม่มั่นใจที่จะคาดการณ์สภาพของธุรกิจในอนาคต ซึ่งส่งผลต่อความไม่เข้าใจ
ในการคาดการณ์กระแสเงินสด และการประเมินมูลค่ของธุรกิจนี้ เขาจึงไม่กล้า
ลองสังเกตหุ้นที่อยู่ในพอร์ตของธุรกิจลงทุนอย่างยาวนานของ วอเร็น
บัฟเฟตต์ เช่น การลงทุนในหุ้นของโรงงานสิ่งทอ เบิร์กไซร์ ฮาราเวย์ ซึ่งภายหลัง
ได้เปลี่ยนมาเป็นธุรกิจการลงทุนของ วอเร็น บัฟเฟตต์ แทนแต่ในตอนที่เขาซื้อหุ้นของโรงงานสิ่งทอนี้ วอเร็น บัฟเฟตต์ ต้องการลงทุนในธุรกิจสิ่งหอจริงๆ เพราะในยุคทศวรรษ 1960 ธุรกิจสิ่งทอ
ยังขยายตั้วได้ดีในสหรัฐฯ ซึ่งวอเร็นศึกษาธุรกิจนี้มาอย่างถ่องแท้แม้ธุรกิจสิ่งทอจะถูกวิพากษ์วิจรณ์ว่าเป็นธุรกิจในเศรษฐกิจแบบเก่าแต่ก็ยังเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่จำเป็น
อย่างไรก็ดี ในทศวรรษ 1980 รุรกิจสิ่งทอในสหรัฐฯ เผชิญกับการแข่งขันจากสิ่งทอของประเทศจีน และประเทศกำลังพัฒนา ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป วอเร็นจึงเปลี่ยนบริษัทสิ่งทอนี้เป็นธุรกิจการลงทุนแทน แม้ว่าวอเร็นจะเห็นว่าการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจสิ่งทอนี้เป็นความผิดพลาด แต่ในตอนที่ตัดสินใจซื้อ เขาใช้หลักการ
ที่เกี่ยวกับ"การลงทุนในธุรกิจที่คุณข้าใจ" แต่บทเรียนที่ได้มาเพิ่มเติม
ก็คือ "เราต้องเข้าใจมันตลอดทุกช่วงเวลาด้วย"

การลงทุนในหุ้นบริษัทประกันภัย GECO หุ้นบริษัทเครื่องดื่มโคคา-
โคล่ หรือหุ้นบริษัทหนังสือพิมพ์ เดอะ วอชิงตันโพสต์ ทั้งหมดนี้
ล้วนเกี่ยวข้องกับชีวิตในอดีตที่ผ่านมาของวอเร็น ที่เขามีประสบการณ์
ได้ทำงานเกี่ยวข้องหรือมีโกาสได้วิเคราะห์จนเข้าใจในธุรกิจเหล่านั้น
อย่างลึกซึ้ง จนแน่ใจในความมั่นคง และโอกาสการเติบโตของธุรกิจ
หล่านั้น ซึ่งนำไปสู่การประมาณการมูลค่ที่แท้จริงของกิจการ และ
เมื่อนำมาเทียบกับราคาตลาดของหุ้นที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับมูลค่าของ
บริษัท เหมือนกับได้ "ของดี ราคาถูก" ทำให้มีส่วนเผื่อความปลอดภัย
(Margin of Safety) ถ้าในอนาคตราคาหุ้นขึ้นไปตามมูลค่า ก็จะได้
ผลตอบแทนสูง (เพราะซื้อมารดาถูก) หรือถ้าราคาหุ้นเคลื่อนไหว
ขึ้นลง เราก็จะไม่ตกใจมาก เพราะซื้อมาในราคาถูก จึงทนต่อความ
ผันผวนได้มากกว่า
จะข้าใจในธุรกิจได้ต้องทำอย่างไรบ้าง
วอเร็นให้กำลังใจว่า นักลงทุนรายย่อยก็สามารถศึกษาวิจัยธุรกิจได้
ไม่ต้องกลัวว่าเป็นศาสตร์ขั้นสูง ต้องเป็นนักวิคราะห์ นักวิชาการเท่านั้นที่ทำได้
วิธีการศึกษาธุรกิจ ซึ่งต้องเป็นไปตลอดช่วงเวลาการลงทุน (ซื้อ, ถือ และ
ขายออก) พอสรุปได้ดังนี้
อ่าน วิเคราะห์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เช่น ประวัติกิจการ
สินค้าและบริการ ตลาด คู่แข่ง ฐานะการงิน และผลการดำเนินงาน
เข้าใจหลักการพื้นฐนของบัญชี การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัท
เพราะบัญชีเป็นภาษาของธุรกิจ ภาพความสำเร็จหรือไม่สำเร็จทาง
ธุรกิจจะสะท้อนออกมาที่งบการเงิน
ไปเยี่ยม สำรวจ และสัมภาษณ์กิจการ
เข้าร่วมประชุมประจำ รู้จักผู้บริหารของบริษัท
เข้าใจหลักการพื้นฐนของบัญชี การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัท
เพราะบัญชีเป็นภาษาของธุรกิจ ภาพความสำเร็จหรือไม่สำเร็จทาง
ธุรกิจจะสะท้อนออกมาที่งบการเงิน
ไปเยี่ยม สำรวจ และสัมภาษณ์กิจการ
เข้าร่วมประชุมประจำ รู้จักผู้บริหารของบริษัท

กล่าวกันว่าในแต่ละวันของ วอเร็น บเฟตต์ และทีมงานใช้เวลามากกว่า8 ชั่วโมงต่อวันในการศึกษาข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ และการใช้เวลาอาจนานกว่านี้โดยเฉพาะในช่วงที่รายงานประจำปีที่สรุปรวมภาวะการดำเนินงานของบริษัทต่างๆ ออกมาสู่สาธารณชน
และเนื่องจากข้อมูลต่างๆ มีมาก นักลงทุนจึงต้องเรียนรู้วิธีที่จะย่อยข้อมูลและนำเข้าสู่กระบวนกรวิเคราะห์ ซึ่งอาศัยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ เช่น การบริหารเชิงกลยุทธ์ การบริหารการตลาด การบริหารการผลิตการบริหารบุคลากร และการบริหารการเงิน เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ เพื่อหาข้อสรุปว่าธุรกิจนั้นยังดีและมคที่จะลงทุนต่อไปหรือไม่
ลงทุนในตลาดสินค้าและบริการไม่ใช่ตลาดหุ้น

วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ใช้คำเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า เวลาเลือกลงทุนให้คิดว่กำลังลงทุนในเมนสตรีท (Main Street) ไม่ใช่ วอลล์สตรีท (Wall Street)คำว่า "เมนสตรีก" (Main Street) คือ ธุรกิจที่มีการดำเนินงานอยู่แล้วและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำธุรกิจแบบยั่งยืนไม่ใช่ธุรกิตามกระแส ส่วนการลงทุนใน "วอลล์สตรีก" (Wall street) เป็นการเปรียบเปรยว่าเป็นการดำเนินธุรกิจ
ในโลกที่จับต้องไม่ได้ เป็นแค่สัญญาณการซื้อขาย ญญาณราคาจับต้องไม่ได้วอร์เร็นให้ความเห็นว่าการที่เรารู้จักสิ่งที่เราเป็นเจ้าของ ทำให้เราสามารถเน้นการลงทุนไปที่ถนนสายหลัก (Main Stret) หรือตัวธุรกิจ แม้ว่าเราจะซื้อมันจากตลาดหุ้น (Wall Street) แต่เราก็จะไม่ตกใจง่ยๆ กับการเคลื่อนไหวของรดาหุ เพราะทุกครั้งเราจะกลับไปดูที่ตัวธุรกิจวมันยังดีอยู่ไหม แนวคิดนี้จึงเป็นการย้ำใหน้กลงทุนแบบเน้นคุณเห็นว่า "ความมั่งคั่ง... กิดจากเมนสตรีท
มากกว่าวอลล์สตรีก"

ค้นหาธุรกิจดีบนเมนสตรีท
เวลาเราค้นหาธุรกิดีที่นสนใจจะลงทุน วิธีหนึ่งที่ควรทำก็คือเดินไปใน
ย่านเศรษฐกิจของเมือง สอดส่ายสายตดอยดูว่าประชาชนทั่วไปจับจ่ายใช้สอย
อะไร ร้านค้าบางร้น บริษัทบางแห่ง ทำไมจึงขายดี ทำเลที่ตั้งดี หรือเพราะสินค้า
บริการถูกใจลูกค้า หรือเราอาจเดินเข้ไปในร้านสะดวกซื้อหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต
เข้าไปซื้อน้ำผลไม้ยี่ห้อที่เราโปรดปราน แล้วอาจจะฉุกใจคิดว่า จะมีคนอีกเท่าไร
ที่มีรสนิมแบบเรา ขนาดตลาดของน้ำผลไม้แบบนี้มีอยู่เท่ได และเป็นส่วนแบ่ง
การตลาดของน้ำผลไม้ยี่ห้อนี้อยู่เท่ได นี่คือตัวอย่างของการเข้าไปหาธุรกิจที่ดี
บนเมนสตรีท ซึ่งแนวคิดการลงทุนแบบนี้ให้คิดเสมือนว่าเรากำลังจะทำธุรกิจ
แบบนี้ด้วยตัวของเราเอง
ส่วนประเด็นต่มา ถ้าบริษัทที่เราสนใจนั้นเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่
ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย อย่างนี้ถือว่าอยู่ในวอลล์สตรีท ซึ่งถือว่าเป็นโชคดีที่จะ
สามารถขอเข้ไปลงทุนร่วมได้ง่ย โดยเข้าไปซื้อหุ้นเก็บไว้ผ่าน "วอลล์สตรีก"
แต่เราจะสบายใจมากกว่าเดิม เพราะผ่านการวิเคราะห์บน "เมนสตรีก" มาเล้ว
การลงทุนในเมนสตรีท เป็นการลงทุนระยะยาว

วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ใช้คำพูดที่โดนใจมาก เมื่อถูกถามว่า "ทำอย่างไรจึงจะ
รวยเร็ว" ขาตอบว่า "ตลาดหุ้น(วอลล์สตรีท) เนสถานที่เพียงแห่งเดียวที่คนขับรถโรลส์รอยซ์ได้รับคำแนะนำจกคนนั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน" ซึ่งตีความหมายได้ว่า คนนั่งรถไฟฟ้าใต้ดินก็คือประชาชนทั่วไปนั้นเอง เขาใช้ชีวิตอย่างไร บริโภคอะไร วอร์เร็นจึงลงทุนในบริษัทที่ผลิตอิฐ สีทอาคาร ฉนวนกันความร้อน พรมเครื่องดูดฝุ่น เครื่องประดับอัญมณี ฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นตันหลายบริษัทที่วอร์เร็นเข้ไปลงทุน เขาเริ่มจากการเป็นเจ้าของกิจการบางส่วนโดยซื้อขายผ่นตลาดหลักทรัพย์ ไปสู่การซื้อเพื่อเป็นเจ้าของทั้งกิจการ โดย
ซื้อเพิ่มเรื่อยๆ ถือหุ้นไว้ในระยะยาว ถ้าบริษัทมั่นคงดีกำไรสูง มูลค่าหุ้นก็สูงขึ้น
ด้วย กลยุทธ์การลงทุนแบบนี้มีผลทำให้ในระยะยาวมูลค่าพอร์ตการลงทุนของ
วอร์เร็นก็เปลี่ยนไปด้วย




จะเห็นได้ว่า ในพอร์ตลงทุนของวอร์เร็น ในปี 1997 ลงทุนในหุ้นสามัญ
ถึง 73% ของสินทรัพย์และลดลงเหลื 26% ในปี 2002 โดยไม่มีการขายหุ้น
ออกเลย แต่ขณะที่ได้เข้าซื้อหุ้นธุรกิจที่ดีเพิ่ม จนมีสัดส่วนจาก 4% ของสินทรัพย์
เป็น 30% ในอีก 5 ปีต่อมา ถ้บริษัทเหล่นั้นทำกำไรได้ดี ราคาหุ้นที่สูงขึ้น ก็จะ
ทำให้พอตการลงทุนของเขามีมูลค่สูงขึ้น อีกทั้งงินปันผลที่เป็นส่วนแบ่งจาก
กำไรก็จะยังช่วยให้ความมั่งคั่งของเขาเพิ่มสูงขึ้น เพิ่มโอกาสในการไปซื้อกิจการ
เมนสตรีกดีๆ เพิ่มขึ้นอีก อย่างไรก็ดี วอร์เร็นจะไม่ข้าไปเกี่ยวข้องกับการซื้อขาย
กิจการแบบไม่เป็นมิตร และพนักงานทั้งหมดจะยังคงทำงานอยู่ต่อไปเมื่อเขา
ซื้อกิจการ
การลงทุนสไตล์แบบวอร์เร็น บัฟเฟตต์ มีลักษณะที่ขัดแย้งกับการลงทุน
ทั่วไปในวอลล์สตรีท นักซื้อขายหลักทรัพย์หรืเทรดเดอร์ในวอลล์สตรีทหารายได้
จากการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ซึ่งตรงข้ามกับวอร์เร็นที่สร้างความมั่งคั่งและทำ
กำไรจากผลประกอบการของแต่ละธุรกิจที่เขาลงทุน เขาเน้นและจำกัดการลงทุน
ในบริษัทเพียงไม่กี่แห่ง เวลาประเมินบริษัท เขาไม่ใช้การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
ของบริษัท แต่จะวัดจกการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ตามบัญชีในแต่ละปื








พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour)

พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour ) พฤติกรรม หมายถึง กิริยาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์หรือที่มนุษย์ได้แสดง หรือปฏิกิริยาที่เกิ...