วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การเงินส่วนบุคคล

จุดมุ่งหมายของการบริหารการเงินส่วนบุคคล
จุด
การบริหารการเงินส่วนบุคคล เป็นการบริหารเงินในส่วนของบุคคล ให้บรรลุจุดมุ่งหมาย “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ บุคคลได้รับในสิ่งที่ตนหวังไว้ โดยเริ่มต้นวางแผนการเงินสำหรับตนเองและครอบครัวเสียแต่เนิ่น ๆ แล้ว ก็ย่อมทำให้ทุกคน มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตได้

การบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) หมายถึง การจัดระเบียบการเงินของบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการรู้จัก จัดหาเงินเข้ามา และใช้จ่ายออกไปอย่างถูกต้อง บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ความหมายของคำว่า “การบริหารการเงินส่วนบุคคล”

ความสำคัญของการบริหารการเงินส่วนบุคคล

เพื่อให้คน วางแผนการเงิน ของตนเองและ ครอบครัวได้อย่างถูกต้อง ส่งเสริมให้คนตระหนักถึงความสำคัญ
ในการใช้จ่าย อย่างถูกต้อง ทุกแง่ทุกมุมของชีวิต จะก่อให้เกิดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการวางแผนการเงิน

ขอบเขตของการบริหารการเงินส่วนบุคคล

1. การสร้างฐานะความมั่นคงทางการเงิน
2. การรู้จัดใช้เงินอย่างฉลาด
3. การใช้เงินเพื่อที่อยู่อาศัย
4. การสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยการทำประกันภัย
5. การลงทุนประเภทต่างๆเลือกหลักทรัพย์ลงทุนและสถาบันที่จะลงทุนให้เหมาะสม
6. การวางแผนการเงินสำหรับอนาคตยามปลดเกษียณ

ข้อคิดเกี่ยวกับการบริหารการเงินส่วนบุคคล


1. เวลาเป็นของมีค่าในการบริหารการเงินส่วนบุคคลควรจะใช้เวลาให้น้อยที่สุด
2. การจัดการเกี่ยวกับการเงินควรจะมีการยืดหยุ่นได้
3. ควรมีการปรับปรุงแผนงานระยะยาว และควรมีการตรวจสอบอยู่เสมอเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ
4. ควรมีการวางแผนทางการเงินของครอบครัว สามีและภรรยาควรเข้าใจในแผนงานนี้ร่วมกัน
5. การซื้อของราคาแพงแล้วได้สินค้าคุณภาพดี จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในระยะยาว
6. ควรหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น
7. พยายามเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แต่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
8. พยายามบริหารเงินที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด
9. ควรพัฒนาปรับปรุงงานอดิเรกที่ทำอยู่ให้มีผลประโยชน์เกิดขึ้น
10. ใช้ประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์เพิ่มพูน
11. ควรวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับเรื่องของเวลาเสมอ

การวางแผนทางการเงินของบุคคล (Personal Finanace Program)

เป้าหมายในชีวิตของบุคคล (Personal Goals in Life)

ก. เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเงิน (Financial Goals) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินของบุคคล อันจะมีผลให้ ฐานะการเงินของบุคคล เกิดการเปลี่ยนแปลง
ข. เป้าหมายที่ไม่เกี่ยวกับเงิน (Nonfinancial Goals) บางครั้งเงินก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่บุคคลมุ่งหวังเสมอไป ทัศนคติ ความนึกคิด เกี่ยวกับ ครอบครัว สังคม ศีลธรรมและศาสนา อาจมีค่าสำคัญกว่าเงินก็ได้เพราะบางคนถือว่า เงินไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต

การวางแผนชีวิตของบุคคล
แผนระยะสั้น (Short-term or current planning) แผนระยะสั้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง
แผนระยะยาว (Long-term Planning) การวางแผนระยะยาวส่วนใหญ่ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ การสร้างฐานะความมั่นคง ให้บุคคลในอนาคต

ที่มาของรายได้ของบุคคล ได้มาจากหลายทาง เช่น จากงานประจำที่ทำอยู่ การทำงานอดิเรกดอกผลที่เกิดขึ้นจาก สินทรัพย์ลงทุน ตลอดจนบำเหน็จบำนาญ และ สวัสดิการต่าง ๆ ที่ได้รับ มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็น เครื่องกำหนด รายได้ของบุคคล และความปรารถนาของแต่ละบุคคล ว่าต้องการมีรายได้มากเพียงใด ซึ่งเขาก็ต้อง ขวนขวายให้ได้มา ซึ่งรายได้นั้น

การใช้จ่ายของบุคคล
รายได้ที่บุคคลได้มา มักจำเป็นต่อการดำรงชีพซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค นอกจากนั้น เป็นการจ่ายเพื่อซื้อสิ่งของต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกสบาย การใช้จ่ายเกี่ยวกับพันธะทางการเงินที่มีอยู่ เช่น ค่าเบี้ยประกัน ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ ตลอดจนค่าภาษี เป็นต้น

การวางแผนการเงินในแต่ละช่วงชีวิตของบุคคล (Personal Financial Planning Life Cycle) ระยะเริ่มตั้งครอบครัว (The beginning family) ระยะขยายครอบครัว (The expanding family) ระยะการแยกย้ายครอบครัว (The launching family) ระยะช่วงกลางของครอบครัว (The middle-age family) ระยะเมื่อเข้าสู่วัยชรา (The Old-age family) แบ่งเป็น 5 ระยะ


 
ภาวะเงินเฟ้อกับการวางแผนการเงิน (Inflation and Financial Planning)

การพิจารณาว่าภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นดูได้จาก ดัชนีราคาผู้บริโภค ว่าดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นจากปีฐาน เป็นจำนวนเท่าใด หากภาวะเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ รัฐก็จะทำการเข้าแทรกแซง

เงินเฟ้อ (Inflation) คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อันมีสาเหตุเนื่องมาจาก ความต้องการสินค้ามีมาก หรืออาจเป็น เพราะต้นทุนของสินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้นก็ได้

การวัดฐานะการเงินของบุคคล
การที่จะรู้ถึง ฐานะการเงิน ณ วันนี้ของเราได้นั้นในช่วงรอบปีที่ผ่านมา จะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินทุกรายการ ที่เกิดขึ้น และนำมาทำสรุปออกมา เป็นรายงานทางการเงิน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “งบการเงิน” ข้อมูลตัวเลข ใน งบการเงิน จะบอกให้ ทราบได้ว่า ขณะนี้ฐานะการเงินของท่านกำลังอยู่ ณ จุดไหน เมื่อทราบฐานะการเงินแท้จริง ณ ขณะนี้ได้ต่อไป ท่านจะสามารถ วางแผนการเงิน สำหรับอนาคตได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ไป

งบการเงินของบุคคล งบดุล (Balance Sheet) เป็นงบสรุปฐานะการเงินของบุคคล ณ เวลาหนึ่งเพื่อบอกให้ทราบว่า ณ เวลานั้น เขามีสินทรัพย์ หนี้สิน และ เงินทุนส่วนที่เป็นของเขาเองอยู่เท่าไร เพื่อแสดงให้เห็นถึง ความมั่งคั่ง (Wealth) ของบุคคลนั้นคำนวณได้จากสูตร

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

งบการเงินของบุคคล (Personal Financial Statements) ประกอบด้วยงบดุล (Balance Sheet of Statement of Finanacial Position) และงบรายได้และค่าใช้จ่าย (Income anExpenditures Statement)

สินทรัพย์ (Assets) คือ รายการทรัพย์สินต่าง ๆ ที่บุคคลเป็นเจ้าของอยู่ซึ่งมีมากมายหลายประเภทแตกต่างกัน ตามลักษณะและ ประโยชน์ของการใช้สอย สินทรัพย์ต่าง ๆ ได้แก่เช่น เงินสด เงินฝากบ้าน รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับต่าง ๆ เป็นต้น ในการบริหารการเงินนิยมจัดกลุ่มสินทรัพย์ของบุคคลออกเป็น 4 กลุ่มคือ งบการเงินของบุคคล

งบการเงินของบุคคล

สินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid Assets)
ทรัพย์สินแท้จริง (Real Property)
ทรัพย์สินส่วนตัว(Personal Property
ทรัพย์สินลงทุน(Investments)

หนี้สิน (Liabilities) คือเงินที่เราได้กู้ยืมคนอื่นเขามา (the money you owe) และมีพันธะต้องชำระคืนในอนาคต หนี้สินอาจจะเป็นหนี้สินส่วนตัวหรือหนี้สินของครอบครัวก็ตาม เช่น


 
หนี้ค้างชำระค่าสินค้าจากร้านค้า
หนี้ค้างชำระของบัตรเครดิต
หนี้ค้างชำระในการซื้อของผ่อนส่ง
หนี้เงินกู้ธนาคาร
หนี้ซื้อที่ดินผ่อนบ้าน เป็นต้น

งบการเงินของบุคคลโดยทั่วไปจะแบ่งหนี้สินออกเป็น

1. ค่าบิลค้างชำระ (Unpaid Bill)
2. เครดิตหมุนเวียน (Revolving Credit)
3. หนี้ค่าผ่อนสินค้า (Consumer Installment Loans)
4. หนี้ค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ (Mortgage Loans)

ส่วนของเจ้าของ (Net worth) หมายถึง สินทรัพย์ส่วนที่เหลืออยู่หลังจากหักหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมดออกไปแล้ว ซึ่งส่วนที่เหลือนี้จะเป็นทรัพย์สินที่บุคคลเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงและเป็นสิ่งแสดงถึงความมั่งคั่งของบุคคลนั้นด้วย จากสูตร

Total assets – Total liabilities = Net worth

ยิ่ง Net worth ของบุคคลมีเพิ่มขึ้นเท่าไรก็แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของบุคคลนั้นที่ยิ่งมีเพิ่มขึ้น และ Net worth นี่เองจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป้าหมายทางการเงิน (Financial Goal) ที่บุคคลวางไว้ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นการบริหารการเงินที่ดีบุคคลควรหาทางทำให้ Net worth ของตนเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ

ในการใช้ชีวิตประจำวันพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม หาทางที่ว่าทำอย่างไร จึงจะหารายได้ ให้ได้มากขึ้นและใช้จ่ายให้ลดลง การเลือกลงทุนซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ต้องเลือกสินทรัพย์ที่ดี มีโอกาสที่มูลค่าสินทรัพย์นั้น จะเพิ่มขึ้นได้ วิธีการเพิ่มความมั่นคั่งให้กับบุคคล หาทางเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ลงทุนให้สูงขึ้น เช่น การลงทุนใน
หลักทรัพย์ต่าง ๆ โดยพยายามซื้อหุ้นบริษัทดี ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูง มาไว้ในกองหลักทรัพย์ลงทุนของตน อย่าก่อหนี้สินโดยไม่จำเป็น สำหรับหนี้สินที่มีอยู่แล้วควรพยายามหาทางชำระให้หมดภายในเวลาอันรวดเร็วด้วย

งบรายได้และค่าใช้จ่าย (Income and Expenditures Statement)

การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของบุคคลจะบันทึกโดยใช้เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) กล่าวคือจะมี การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่าย ต่อเมื่อได้มีการรับเงินสดเข้ามาจริง และจ่ายเงินสดออกไปจริง ๆ เท่านั้น รายได้ (Income) คือ จำนวนเงินสดที่บุคคลได้รับเข้ามา อาจได้จากหลายทาง เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส ค่าคอมมิสชั่น เงินปันผล ดอกเบี้ยรับ เงินรับค่ากรมธรรม์ประกันชีวิต เงินบำเหน็จบำนาญกองทุนเลี้ยงชีพ และเงินค่าประกันสังคม ตลอดจนเงินได้รับอื่น ๆ เช่น การขายทรัพย์สิน เงินรางวัลตอบแทนต่าง ๆ เป็นต้น

ค่าใช้จ่าย (Expenditure) ค่าใช้จ่ายหรือจำนวนเงินสดที่บุคคลใช้จ่ายออกไป (The Amount of Cash Out) บุคคลมีการใช้จ่าย มากมายเพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่าง ๆ กัน เช่น การใช้จ่ายเพื่อดำรงชีวิตประจำวัน ,การใช้เพื่อซื้อทรัพย์สินต่าง ๆ บางอย่าง, การใช้จ่ายค่าภาษี และการชำระหนี้สินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้บางรายการก็เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed expenditures) ต้องจ่ายเท่ากันทุกงวดจำนวนแน่นอน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าเบี้ยประกัน ฯลฯ แต่บางรายการก็เป็นค่าใช้จ่ายผันแปร คือจำนวนที่จ่ายไม่คงที่แน่นอน ผันแปรไปตามเหตุการณ์ความจำเป็น เช่น ค่าอาหาร เสื้อผ้า หรือค่าใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อนบันเทิง

ประโยชน์ของงบการเงิน เพื่อจะได้หาแนวทางว่าต่อไปเราควรทำอย่างไร จึงจะทำให้ฐานะการเงิน อันจะนำไปถึง จุดหมายทางการเงินที่วางไว้ ยังเป็นประโยชน์สำหรับธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่จะใช้ประเมินฐานะของผู้มาขอกู้เงินด้วย เพื่อใช้ดูว่าผู้กู้มีความเสี่ยงทางการเงินเพียงใด เหมาะสมจะให้กู้ยืมหรือไม่ ซึ่งธนาคารจะเอาตัวเลขจากรายการต่าง ๆ ในงบการเงินนี้มาประเมินหาอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อจะวิเคราะห์ถึงความมั่นคงทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้คืน ในอนาคตของบุคคลนั้น

การวางแผนการเงินสำหรับอนาคตของบุคคล (Planning Personal Future)
แนวความคิดในการกำหนดเป้าหมายทางการเงิน (Financial Goal Concepts)

เพิ่มพูน (Accumulation) เป็นการสะสม หรือ ทำให้ทรัพยากรการเงิน ที่มีอยู่นั้นยิ่งมีเพิ่มพูนขึ้น ด้วยการให้ เงินสดที่ได้มา (Cash inflow) เปลี่ยนสภาพไปเป็นเงินทุน (Capital) ให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งขึ้น การรักษาไว้ (Preservation) เพื่อเป็นการคงฐานะและรักษาคุณภาพชีวิตของบุคคลไว้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรืออย่างน้อย ก็รักษาความเป็นอยู่ให้เหมือนเดิม แม้ว่าเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนไป Go golf! การแบ่งสรรออกไป (Distribution) แนวความคิดนี้เป็นลักษณะของการให้กล่าวคือ เป็นการจัดสรร หรือ แบ่งปันทรัพยากรการเงิน ที่มีอยู่ออกไปอย่างเหมาะสม เพื่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคคลอื่นตลอดจนสังคมที่เกี่ยวข้อง


 
การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ เป้าหมายระยะสั้น, เป้าหมายระยะยาว เป้าหมายระยะสั้น เป็นการวางแผนสำหรับช่วงเวลาอันสั้น มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี การวางแผนทางการเงินระยะสั้น เป็นการวางแผน เพื่ออนาคตอันใกล้ ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกันเรื่องการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การเก็บเงินออมใช้ยามจำเป็น การซื้อของเงินผ่อน การจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราว การเดินทาง ตลอดจนการต้องการ ความคุ้มครอง ในช่วงระยะเวลา อันสั้นของบุคคล เป้าหมายระยะยาว เป็นการวางแผนสำหรับช่วงระยะเวลาที่เกินกว่า 1 ปี อาจจะไปถึง 5, 10, 20 ปีข้างหน้า เป้าหมายทางการเงินระยะยาว ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับ การจัดสรรเงิน ไว้สำหรับอนาคตวันข้างหน้า และ เพื่อความมั่นคง ความสุขสบาย ในบั้นปลายของชีวิต ด้วย การวางแผนส่วนใหญ่จึงมักเกี่ยวกับเรื่อง การลงทุน อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่ถาวร,การวางแผนเกษียณอายุ ,การพักผ่อนท่องเที่ยว

บทบาทของงบประมาณในการวางแผนการเงิน

คือการจัดระบบข้อมูลทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับ การคาดคะเน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งในงบประมาณจะประกอบด้วย การประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในระยะสั้น เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านั้น ให้อยู่ภายใน ขอบเขตที่ต้องการ งบประมาณ (Budgeting) งบประมาณ (Budgeting)

การทำงบประมาณนับว่า มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อบุคคล และครอบครัวเของเขา เพราะช่วยให้การใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่ภายใน ขอบเขตที่กำหนดไว้ ทำให้ไม่เกิดปัญหา การใช้จ่ายเงินเกินตัว หรือการซื้อหาสิ่งใดโดยไม่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า และเมื่อมีการควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ภายในขอบเขตแล้วก็จะทำให้มีเงินเหลือใช้ สามารถเก็บออมไว้สำหรับวันข้างหน้าได้ นอกจากนั้นใน งบประมาณ ซึ่งได้มีการประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไว้ล่วงหน้า ก็จะทำให้ไม่มีปัญหา เมื่อถึงเวลาที่จะต้อง จ่ายเงินออกไปจริง ๆ เพราะได้มีการเตรียมค่าใช้จ่ายเหล่านั้นเผื่อไว้แล้ว

การจัดทำงบประมาณเงินสด (Setting a cash budget)

การทำงบประมาณเป็นการประมาณการรายได้ และค่าใช้จ่ายของบุคคลที่คาดว่าจะมีขึ้นในอนาคตข้างหน้า ซึ่งรายได้ และ ค่าใช้จ่าย เหล่านี้จะต้องเป็น รายการที่อยู่ใน รูปของเงินสดเท่านั้น (Cash Basis) ดังนั้นงบประมาณที่ทำขึ้น จึงนิยมเรียกว่า งบประมาณเงินสด (Cash budget) งบประมาณเงินสด

ขั้นตอนเกี่ยวกับการงบประมาณ (The Budgeting Process)

การคาดคะเนรายได้หรือเงินสดรับ (Estimating incomes or cash inflow)
การคาดคะเนค่าใช้จ่าย (Estimating expenditures)
การทำสรุปงบประมาณ (Finalizing the cash budget)
การปรับปรุงงบประมาณ (Adjustments)
เงินสด และ กลยุทธ์การบริหารเงินสด (Cash Management)
การถือเงินสดมากเกินไปก็จะมีผลเสีย เพราะเงินสดไม่ได้ผลตอบแทนหรือมีค่างอกเงยขึ้นแต่ประการใด ซ้ำยังเกิดค่าต้นทุนแห่งการเสียโอกาส ถ้านำเงินสดไปลงทุนหาผลประโยชน์ เช่น ฝากธนาคารหรือลงทุนซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้นถือไว้ก็ยังจะได้ดอกผลอีกจำนวนหนึ่งขึ้นมา ดังนั้นบุคคลควรจะได้มีการบริหารเงินสดอย่างถูกต้อง

เงินสดที่ดี (Sound cash management) คือ การที่บุคคลรู้จักกะประมาณเงินสดที่อยู่ในมือให้น้อยที่สุด โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาเงินสดขาดมือ

สาเหตุในการถือเงินสดของบุคคลก็เพื่อประโยชน์ 3 ประการ

1. เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็น (Undertake Transaction)

2. เพื่อเป็นเงินสดสำรองไว้ยามฉุกเฉิน (Emergency Reserves)

3. เพื่อการสะสมมูลค่า (Store of value)

บริการเช็คของธนาคาร

แคชเชียร์เช็ค คือ เช็คของธนาคารเองที่ออกให้กับลูกค้าโดยธนาคารเป็นผู้จ่ายเงินตามเช็คนั้น เช็คนี้จะระบุชื่อผู้รับเงินไว้ ลูกค้าสามารถ ขอซื้อแคชเชียร์เช็คไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ
เช็คที่ธนาคารรับรอง คือ เช็คที่ธนาคารเข้ามาผูกพันในการจ่ายเงินตามเช็ค การที่ธนาคารให้การรับรองเช็คฉบับใดก็เท่ากับว่าให้การรับรองว่าธนาคารเองจะจ่ายเงินตามเช็คฉบับนี้อย่างแน่นอน เช็คเดินทาง เป็นเช็คที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทางที่จะเดินทางไปไหน ๆ ได้โดยไม่ต้องพกเงินสดติดตัวไปมาก เพียงแต่ซื้อเช็คเดินทางไว้ก็สามารถนำไปขึ้นเงินตามสถานที่ที่เดินทางไปได้

เงินฝากออมทรัพย์ (Saving Accounts) เงินฝากออมทรัพย์เป็นเงินฝากที่ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการเก็บออม โดยการสะสมเงินทีละเล็กทีละน้อยรวมกันเข้าเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในวันข้างหน้าเมื่อมีความจำเป็น เงินฝากดังกล่าวจะมีการจ่ายดอกเบี้ยให้ และในการฝากถอนก็สะดวกเพราะมีสมุดคู่ฝากให้สำหรับบันทึกรายการฝากถอนทุกครั้ง จะฝากจะถอนเงินเมื่อไรก็ได้ มีสถาบันการเงินหลายแหล่งที่ให้บริการเงินฝากออมทรัพย์กับประชาชน


 
ประโยชน์ของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
1. จำนวนเงินไม่มากนัก อีกทั้งยังได้ดอกเบี้ยด้วย โดยดอกเบี้ยไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีบ้างแต่ไม่มากนัก
2. เหมาะสำหรับเป็นบัญชีพักไว้ชั่วคราวของเงินลงทุน
3. เป็นการส่งเสริมให้มีการออมเงินไปในตัว เพราะฝากได้ง่าย และสะดวกดี
4.เยาวชนการมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เป็นการเสริมสร้างนิสัยให้เด็กรู้จักประหยัดเก็บออม และใช้จ่ายเงินเป็น

บัตรเงินฝาก
เป็นเงินฝากประเภทหนึ่งคล้ายเงินฝากประจำ เป็นตราสารที่ธนาคารออกให้กับ ผู้ต้องการลงทุนโดยธนาคาร ให้คำมั่นว่าจะใช้เงินคืนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด
บทที่ 8 การวางแผนการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย (Housing)

ประเภทของที่อยู่อาศัย l l บ้านเดี่ยว (Single-family homes) l
อาคารพาณิชย์หรือตึกแถว (Shop houses) l
ทาวน์เฮ้าส์ (Townhouse) l
แฟลตหรืออพาร์เม้นท์ (Flat or spartment) l
คอนโดมิเนียม (Condominium) l
สหกรณ์เคหสถาน (Cooperative housing) l
บ้านเคลื่อนที่ (Mobile home) l
บ้านที่แบ่งเวลาการพักอาศัย (Time-share homes)

การซื้อบ้าน (Buying Housing) lสิ่งที่ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ ทำเลที่ตั้ง (Location) ในการซื้อบ้านการพิจารณาถึงทำเลที่ต้องมีความสำคัญมาก ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่อยู่อาศัยคนหนึ่งได้กล่าวว่า “เมื่อท่านซื้อบ้าน แท้จริงแล้วสิ่งที่ท่านต้องการซื้อก็คือ เพื่อนบ้านนั้นเอง” เพราะถ้ามีเพื่อนบ้านดีมีความเข้าใจช่วยเหลือไหว้วานกันได้ ทุกคนที่อยู่ใกล้กันก็มีความสุขสบายใจ

การซื้อบ้าน (Buying Housing) v ไม่ห่างไกลจากตัวเมือง การเดินทางสะดวก มีรถโดยสารผ่านหลาย สาย v มีสถานที่สำคัญ ๆ ตั้งอยู่ใกล้ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด v สภาพแวดล้อมร่มรื่นมีต้นไม้อยู่ทั่วไป v ถนนหนทางสะดวก ท่อระบายน้ำดี มีไฟถนนให้ความสว่าง v บริการประปา และโทรศัพท์ไปถึง v อื่น ๆ เช่น มียามให้การรักษาความปลอดภัย คอยตรวจตราเสมอ เป็นต้น

l ย่านที่ตั้ง (Zoning) บ้านที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย ควรเป็นบ้านเพื่อการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงควรตั้งอยู่ในเขตที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านสำคัญทางการค้า หรือย่านโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัยควรเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีการรบกวนในเรื่องเสียงอึกทึกครึกโครม หรือกลิ่นต่าง ๆ ซึ่งในเรื่องนี้หากเทศบาลหรือท้องถิ่นได้ออกกฎหมายกำหนด1.
อย่างแน่นอนว่า ย่านใดกำหนดให้เป็นย่านที่อยู่อาศัยก็ควรเลือกซื้อบ้านในโซนที่กำหนดไว้เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง l การซื้อบ้าน (Buying Housing)

l สนามหญ้า (Yard) ควรเลือกบ้านที่มีบริเวณบ้านหรือสนามอย่างเพียงพอ เพื่อจะได้เป็นที่พักผ่อนเดินเล่น หรือ ออกกำลังกายได้ แต่ปัจจุบันราคาที่ดินสูง ดังนั้นควรเลือกโครงการที่มีสวนสาธารณะ หรือสถานที่พักผ่อนที่เป็นส่วนกลางให้ การซื้อบ้าน (Buying Housing) สิ่งก่อสร้างภายนอกบ้าน (Exterior construction) ตัวบ้านควรมีความแข็งแรง คงทนถาวร แน่นหนาพอสมควร วัตถุที่ใช้ การทาสี ฝีมือการก่อสร้างก็ไม่หยาบ มีความละเอียดปราณีต กล่าวคือ เมื่อดูรวม ๆ แล้วมีความคงทนต่อแดดฝน ภาวะอากาศพอที่จะอยู่อาศัยไปอีกนาน

การประเมินกำลังเงินในการซื้อบ้าน

หลักในการพิจารณาว่าคนเราควรจะมีเงินสักเท่าไรจึงเหมาะสมที่จะหาซื้อบ้านโดยไม่มีปัญหาทางการเงินเกิดขึ้นนั้น ได้มีผู้ให้แนวทางไว้ดังนี้
1. มูลค่าบ้านที่ซื้อ ไม่ควรเกินสองเท่าของรายได้ทั้งสิ้นของครอบครัว เช่น ถ้ารายได้ทั้งสิ้นของครอบครัวปีละ 250000 บาท ก็ควรซื้อบ้านในราคาอย่างสูงไม่ควรเกิน 500000บาท 2. ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของการมีบ้านจะต้องไม่เกินหนึ่งในสี่ของรายได้ที่ได้รับแต่ละเดือน โดยพิจรณาถึงอัตราส่วนความสามารถในการจัดหาที่อยู่อาศัยหรือที่เรียกว่า Affordability ratio ซึ่งเป็นการวัดถึงอัตราส่วนความสามารถในการจัดหาที่อยู่จะรับภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

การเดินทาง และเครื่องใช้ที่จำเป็น (Transportation and Major Appliance)

บทที่ 9 การใช้จ่ายทางด้านยานพาหนะ


คุณสมบัติของรถยนต์ที่ต้องสอดคล้องกับความต้องการ •ทัศนคติในการลงทุนซื้อรถของแต่ละคนแตกต่างกัน เช่นเพื่อความจำเป็นทางด้านการค้า, หรือเพื่อใช้เดินทาง, บางคนก็ต้องการความโก้หรู ดังนั้นควรพิจารณาคุณสมบัติ ที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. ความจุของรถ2. ค่าใช้จ่ายสำหรับรถ3. ความสะดวกสบาย 4. ความเชื่อถือได้5. การสนับสนุนนโยบายของรัฐในการรักษาสิ่งแวดล้อม

การซื้อรถยนต์ใหม่ (buying a new car)•
เนื่องจากรถใหม่มีราคาค่อนข้างแพง จึงควรพิจารณาและพิถีพิถันเป็นพิเศษ และควรสนใจในเรื่องของ 1. การเลือกรถยนต์2. การพิจารณาราคาที่เหมาะสม 3. การต่อรองกับผู้ขาย

การซื้อรถยนต์ใหม่ (buying a new car)•
1. การเลือกรถยนต์1.1 ความเชื่อถือได้ รถแต่ละยี่ห้อเป็นที่กล่าวถึงต่างกันในการเลือกซื้อควรเลือกยี้ห้อที่เป็นที่ยอมรับ โดยการหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ1.2 การประกันรถ ควรเปรียบเทียบการประกันว่ามีมากน้อยเพียงไร เงื่อนไขเหมาะสมหรือไม่1.3 ระบบเครื่องแบบธรรมดาหรือมีให้เลือกพิเศษ ควรคำนึงถึงราคาหากมีระบบอัตโนมัติต่างๆ ราคาก็เพิ่มสูงขึ้นตาม1.4 ราคาขายต่อ ควรคำนึงถึงผลกระทบกับราคาขายต่อของรถด้วย1.5 การทดลองขับ อย่าซื้อรถที่รู้สึกไม่สะดวกหรือไม่คล่องตัวเมื่อทดลองขับ

การซื้อรถยนต์ใหม่ (buying a new car)•
2. การพิจารณาราคาที่เหมาะสม โดยทั่วไปราคาจำหน่ายรถยนต์จะมีราคาหน้าร้าน
(windows sticker)
ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ผลิตกำหนดให้ผู้ขายตั้งราคาจำหน่ายไว้
ซึ่งในทางปฎิบัติผู้ซื้ออาจไม่จำเป็นต้องซื้อในราคานี้ และสามารถต่อรองราคาที่ต่ำกว่าราคาตามป้ายได้


 
การซื้อรถยนต์ใหม่ (buying a new car)•
3. การต่อรองกับผู้ขาย1. ในเมืองไทยรถใหม่ทุกคันจะตั้งราคาขายเท่ากันหมด แต่หากลูกค้าซื้อกับตัวแทนต่างๆ ผู้ขายอาจมีการตัดค่าคอมมิชชั่นของตนลง หรืออาจใช้วิธีมีของแถมให้เป็นต้นว่า ติดตั้งวิทยุ กันสนิม ฯลฯ แล้วแต่จะตกลงกัน2. หากทำการซื้อโดยเอารถเก่ามาแลกกรณีที่ลูกค้าขายรถเก่าผ่านศูนย์ค้ารถเก่าของบริษัทเดิมมักได้ราคาสูง และเป็นธรรมกว่าเอารถของตนไปให้กับเต็นท์ในการตีราคา
การซื้อรถยนต์ที่ใช้แล้ว (Buying a used cars)•ผู้บริโภคบางรายหันมาซื้อรถเก่าหรือรถมือสองเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในปัจจุบันรถยนต์ใหม่มีราคาแพง การซื้อรถมือสองมีทั้งข้อดีและข้อเสียดังนั้นควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ 2. ตรวจสอบสภาพรถ3. การทดลองขับ4. การตรวจสอบโดยช่างยนต์มืออาชีพ5. การกำหนดราคาซื่อที่เหมาะสม1. แหล่งขายรถยนต์ใช้แล้ว ควรสืบถามราคาเปรียบเทียบจากตัวแทน ต่างๆ เสียก่อน

คุณสมบัติของรถยนต์ที่ต้องสอดคล้องกับความต้องการ

•ทัศนคติในการลงทุนซื้อรถของแต่ละคนแตกต่างกัน เช่นเพื่อความจำเป็นทางด้านการค้า, หรือเพื่อใช้เดินทาง, บางคนก็ต้องการความโก้หรู ดังนั้นควรพิจารณาคุณสมบัติ ที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. ความจุของรถ2. ค่าใช้จ่ายสำหรับรถ3. ความสะดวกสบาย 4. ความเชื่อถือได้5. การสนับสนุนนโยบายของรัฐในการรักษาสิ่งแวดล้อม
เงินกู้เพื่อการซื้อรถยนต์ (Financing a car)สถาบันการเงินที่รองรับ ธนาคาร (Banks) สหกรณ์ออมทรัพย์ (Credit union) ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ (Dealer) บริษัทเงินทุน (finance company)

เครื่องใช้ที่จำเป็น (Major Appliances) สินทรัพย์ของบุคคลที่มีความสำคัญรองลงมาจากบ้านและ รถยนต์ก็คือพวกเครื่องใช้รายการสำคัญๆ ต่างๆ เช่น พวกเครื่องใช้คงทนถาวรและเฟอร์นิเจอร์ ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษเนื่องจากเพื่อให้มีอายุการใช้งานนานพอสมควรและมีราคาที่เหมาะสม และควรคำนึงถึงต้นทุนของการใช้งาน และการซ่อมแซมบำรุงรักษา โดยทั่วไปแล้วเรามักซื้อหาด้วยวิธีเงินสดหรือเงินผ่อน แต่ไม่นิยมเช่าของใช้ในบ้านเท่าไรนัก

การซื้อรถยนต์ใหม่ (buying a new car)การวางแผนในการซื้อ กำหนดวัตถุประสงค์
การประเมินค่าเครื่องใช้ที่ต้องการซื้อ ความถี่ในการใช้ ต้องซ่อมบ่อยครั้ง ค่าโสหุ้ยในการใช้ ราคา
ลักษณะรูปแบบ

การซื้อรถยนต์ใหม่ (buying a new car)กำหนดแนวทางในการซื้อ

หาแผ่นโฆษณาของเครื่องใช้ที่จะซื้อมาศึกษาดู
พูดคุยกับเพื่อนฝูงที่เคยใช้มาแล้วเป็นอย่างไร
ตัดสินใจวางแนวทางของตนเองว่าเราจะซื้ออะไร
กำหนดงบประมาณที่จะซื้อ
เลือกจังหวะที่เหมาะสมในการซื้อ
เมื่อจะตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ชนิดใดรูปแบบใด
ความเสี่ยงกับการประกับชีวิตและสุขภาพ (Risk Management with Life and Health Insurance)
ความสำคัญและความหมายของความเสี่ยง

ความเสียงคือโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งนำความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น และอาจวัดมูลค่าออกมา ทางเศรษฐกิจและเป็นตัวเงิน lความเสี่ยงมีหลายอย่าง เช่น ความตาย ความพิการ ความสูญเสียทรัพย์สินและรายได้ lไม่มีใครสามารถขจัดความเสี่ยงได้ แต่มีหนทางที่ป้องกัน

ประเภทของความเสี่ยง Pure risk Speculative risk Property risk Liabillity risk Personal risk เป็นความเสี่ยงที่อาจ มีทั้งได้และเสีย อาจเกิดโอกาสสูญเสียทรัพย์สิน เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ไม่คิด เป็นการที่ต้องจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหาย ทำให้เกิดความเสียหายกับบุคคล

4 กลยุทธ์การลดความเสี่ยง

การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อย่างง่ายที่สุด คือการไม่ไปเกี่ยวข้องใน เหตุการณ์ที่จะเกิด ความเสียหายแก่เรา อย่างไรก็ตามภัยบางอย่างก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ความตาย
การลดความเสี่ยง โดยการเพิ่มความป้องกันความปลอดภัยเข้าไป และในบ้างครั้งอาจทำให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ ดังนั้นระดับของความต้องการรักษาความปลอดภัยก็จะแตกต่างไปตามแต่ความจำเป็นของแต่ ละบุคคล
การคงไว้ซึ่งความเสี่ยง กรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้นได้ หรือต้องยอมรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เช่น เจ้าของบ้านไม่สนใจในเรื่องการทำประกันอัคคีภัย หากเกิดไฟไหม้เขาก็ต้องยอมรับกับความเสี่ยงทั้งหมด
การโอนความเสี่ยง โดยการโอนความเสี่ยงให้แก่สถาบันอื่น เช่นบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับภาระแทน
ขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยง

จำแนกลักษณะของภัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวรวมถึง ประเมินความเสียหายหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น lเลือกกลยุทธ์ในการป้องกันแก้ไขความเสี่ยงนั้นให้เหมาะสม
การควบคุมและติดตามผล

ประกันชีวิตคืออะไร .. ประกันทำไม .. เพื่อใคร
lประกันชีวิต –เป็นแผนการออมทรัพย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งให้ผลประโยชน์กว่าการออมทรัพย์ โดยปกติเพราะจะได้ ทั้งเงินออม และความคุ้มครอง
ประกันทำไม – คนเราต้องเผชิญกับภัยอันตรารอบด้าน และเรามาสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่า จะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไร เวลาใด
lเพื่อใคร –จะช่วยเหลือผู้เอาประกันและครอบครัวของผู้เอาประกัน


แบบของประกันชีวิต

1. การประกันแบบชั่วระยะเวลา 2. การประกันชีวิตแบบตลอดชีพ 3. การประกันแบบสะสมทรัพย์ 4. การประกันแบบเงินได้ประจำ 5. การประกันชีวิตแบบอื่นๆ


การวางแผนทางการเงินเพื่อการทำประกันชีวิตที่ดี

1. กำหนดวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
2. วางแผนการซื้อประกัน
3. การประเมินผลและควบคุมอะไรคือความต้องการ .. และเหมาะสมกับเงินออม ที่มีอยู่หรือไม่ ปรับปรุงกรมธรรม์ให้เหมาะสมกับความต้องการของครอบครัวอยู่เสมอ จัดสรรเงินออมอย่างเหมาะสม โดยปกติคนทั่วไปมักเก็บเงิน 10 –15% เพื่อทำประกันชีวิต


ประโยชน์ทางการเงินของการประกันชีวิต เป็นแหล่งเงินออมที่สามารถ กู้ยามฉุกเฉินได้ เป็นการลงทุนให้เกิดดอกผล สามารถนำไปหักลดหย่อน ในการเสียภาษีเงินได้

การประกันสุขภาพ lการประกันสังคม lกองทุนเงินชดเชย lการประกันสุขภาพกลุ่ม lโครงการประกันสุขภาพของศูนย์สุขภาพ lการประกันสุขภาพรายบุคคลของบริษัทประกัน lบัตรประกันสุขภาพ สถาบันที่ให้ความคุ้มครองทางด้านสุขภาพของบุคคล

เอกสารที่เกี่ยวข้องแผนการตลาด –ชื่อหรือหมายเลขโทรศัพท์ของที่ติดต่อ lงบประมาณ –ชื่อหรือหมายเลขโทรศัพท์ของที่ติดต่อ lโพสท์มอร์เท็ม (Post mortem) –ชื่อหรือหมายเลขโทรศัพท์ของที่ติดต่อ lที่ติดต่อสอบถาม –ชื่อหรือหมายเลขโทรศัพท์ของที่ติดต่อ

ที่มา
https://www.novabizz.com/NovaAce/Money/Personal_Finance.htm

คู่มือจับโกหก

คู่มือจับโกหก (NEVER BE LIED TO AGAIN) รวมเคล็ดลับและเทคนิคสารพัดวิธี “จับโกหก”
เราสามารถไม่ให้ถูกหลอกได้โดยสังเกตอาการแสดงของบุคคล ที่เราสนทนาว่า มีลักษณะท่าทางอาการผิดปกติไปหรือไม่ บทความนี้จะเสนอวิธีการค้นหาความจริงจากคนที่เราสนทนาด้วย โดยมีใจความสำคัญ ดังนี้

1. สัญญาณของการหลอกลวง ( Signs of deception ) ที่สำคัญ

กริยาจะต่างไปจากเดิม ( Body language ) เช่น ท่าทางแข็งเกร็ง(stiff type) มือ แขน ขาเกร็ง ยืนกอดอก, หลบสายตา , ขาไขว่ห้าง , ยิ้มแห้ง ,บุคลิกเปลี่ยนไปจากปกติ จะต้องพิจารณาว่าอาการแสดงที่ตรวจพบไม่ได้เกิดจาก สภาวะจิตที่ว้าวุ่นของคนพูด
เกิดระยะห่างมากขึ้นขณะสนทนา (Physical contact distance ) โดยปกติคนที่มีความสนิทสนมกัน จะมีระยะห่างระหว่างกันไม่มาก แต่เมื่อเขาเกิดจิตที่ไม่ปกติขึ้นขณะสนทนา มักจะเกิดระยะห่างระหว่าง สนทนาขึ้น
บังคับให้เสียงราบเรียบ (Monotone ) โดยปกติน้ำเสียงของคนมักเป็นท่วงทำนอง แต่ถ้าเกิดน้ำเสียงเกิดเป็นลักษณะโทนเดียวกันระหว่างสนทนา ให้ระวังไว้ แต่ในกรณีนี้อาจเกิดจากเขาตั้งใจมากก็ได้
อยากจะตอบคำถามอย่างเดียว (Answer only ) ไม่มีปฏิกิริยาอื่น นอกจากการตอบคำถาม เพราะกำลังตั้งใจหาคำตอบแก้ตัวอยู่
ในการพิจารณา "สัญญาณของการหลอกลวง" นั้น ให้คำนึงถึงด้วยว่าบุคคลผู้นั้นอาจจะมีนิสัยหลอกลวงจนชำนาญ สามารถฝึกท่าทาง อากัปกิริยา น้ำเสียง จนเป็นปกติได้ (ราคะจริต)

2. ทำอย่างไรถึงจะได้ความจริง ( How to get the truths )

ทำให้เขาสะเทือนอารมณ์ หรือตั้งคำถามตรงๆเพื่อให้ตกใจซึ่งอาจจะได้ความจริงหรือมีพิรุธออกมา
กล่าวหาหรือพูดเหมาว่า เขาเป็นเช่นนั้น เพื่อดูปฏิกิริยา หรือกล่าวหาเกินจริง เพื่อให้เขาแก้ตัว
ให้ข้อแลกเปลี่ยนบอกประโยชน์ที่เขาจะได้จากการกล่าวความจริง และบอกถึงความเสียหายที่จะเกิดแก่เขา ถ้า ยังไม่พูดความจริง
ถ้าเป็นผู้มีอำนาจมากกว่า ควรใช้เหตุผล เรียกร้องความเห็นใจ จึงจะได้ทราบความจริงมากกว่าการใช้คำถามที่มีอารมณ์

3.กลยุทธ์ที่จะทำให้ได้ความจริงมากขึ้น
วิเคราะห์เป็นรายบุคคล (จริต) เช่น 
ให้ข้อมูลเกินจริง (วิตกจริต),
 ชอบให้แต่ข้อมูลในด้านดี ให้คนอื่นสบายใจ (โมหะจริต) ,
ยึดแต่เหตุผลของตัวเอง (โทสะจริต) ,
ต้องทำให้บุคคลนั้นอยู่ในสภาพจิตใจที่ไม่ปกติ จึงจะได้ความจริง (ราคะจริต)
เป็นฝ่ายตั้งคำถามก่อน ลักษณะคำถามเป็นเชิงชื่นชม มักใช้กับผู้ชำนาญงานหรือบุคคลระดับสูง หรือคำถามที่ทำให้เกิดความสนใจ

4.การหลอกตัวเอง
มีความเชื่อ เป็นตัวหลอกทำให้ไม่เห็นตรงตามความเป็นจริงในขณะนั้น วิธีแก้ คิดเสมือนว่าได้เห็นสิ่งนั้นเป็นครั้งแรก อยู่กับความจริงในปัจจุบัน ไม่ใช้ความรู้สึกเดิม
อารมณ์และความรู้สึก ที่สำคัญคือ ความกลัว ความรู้สึกผิด ความอยากรู้อยากเห็น ความรัก

5.กฎเบ็ดเตล็ด

คนแปลกหน้าให้ของ อาจจะมาขออะไรจากเราภายหลัง
โดนหลอกจากการสิ่งที่เห็น เช่น การขายสินค้าลดราคาที่เพิ่มจากราคาจริงมากแล้วตั้งราคาให้ลดลง

อย่าเชื่อตามคนหมู่มาก
อย่าเชื่อเพราะว่าเขาเป็นผู้ชำนาญในสิ่งนั้น เช่น หมอใส่เสื้อกาวน์ขาว (white coat effect)
อย่าคิดว่าสิ่งนั้นดีเพราะหายาก เพราะจริงๆ ของสิ่งนั้นอาจจะไม่ดี หรือเหมาะสำหรับเรา
อย่าเชื่อเพราะคิดว่าเขาอยู่เป็นฝ่ายเดียวกับเรา
ให้ระวังคนที่มายกยอ

ที่มา: https://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Never_Be_Lied.htm

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(เพื่อน)
      ในชีวิตของเราต้องสัมพันธ์อยู่กับบุคคลหลายประเภท แต่ละประเภทล้วน มีปทัสถานใน การปฏิบัติต่างกันออกไป นักวิชาการได้จัดจำแนกประเภท ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยอาศัยระดับความสัมพันธ์เป็นเกณฑ์ จากผิวเผินไปสู่ลึกซึ้ง การจัดประเภทเช่นนี้จะทำให้เรารู้ล่วงหน้าว่าจะ คาดหวังอะไรจากกันและกันได้และจะเตรียมตัวติดต่อกันอย่างไร จึงจะไม่เกิดปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในที่นี้จำแนกเป็น 3 ระดับ คือ
 1. คนรู้จัก คนรู้จักนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่ผิวเผิน การสื่อสารกันมักเป็นเรื่องของ ข้อเท็จจริงและจาก ข้อเท็จจริงก็จะประเมินว่า ควรจะสร้าง ความสัมพันธ์ ในระดับต่อไปหรือไม่ คนรู้จักกันนั้นจะใช้ยุทธวิธีในการสื่อสาร เพื่อหาข้อเท็จจริง จากกันและกันใน 3 ประเภท

ประเภทแรก เป็นการตั้งรับ หมายถึง ใช้การสังเกตการกระทำของคนอื่นแทนที่ จะซักถามหรือเข้าไปร่วมในสถานการณ์
ประเภทที่สอง แบบรุก หมายถึง การเข้าไปจัดการกับสถานการณ์ทางสังคม เพื่อให้ได้ข้อมูลมากขึ้น เช่น ใช้การคุย การถาม หรือการสัมภาษณ์
ประเภทที่สาม แบบปฏิสัมพันธ์ หมายถึง ใช้การสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นระหว่างกันและกัน ควบคู่กันไปกับการสังเกต (Berger,1978)
จากข้อมูลที่ได้มาไม่ว่าจะโดยวิธีใด คนเราจะใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อกรองว่าเราจะสัมพันธ์กับคนผู้นั้นต่อไปในระดับใด ความสัมพันธ์อาจเป็นไปในระดับเดิม หรือเพิ่มระดับไปสู่ความลึกซึ้ง หากข้อมูลที่รับมาก่อให้เกิดความพอใจ แต่หากข้อมูลที่รับมาเป็นข้อมูลที่ไม่น่าพอใจเราก็อาจเลือกที่จะไม่พบกันต่อไปอีก
 2. เพื่อน คำว่าเพื่อนเป็นคำที่พูดง่ายแต่ให้ความหมายยาก เพราะเพื่อนเป็นบทบาทที่เกิดขึ้นได้ในคู่สัมพันธ์ทุกประเภท ตั้งแต่เพื่อน กับเพื่อนจริง ๆ เพื่อนในระหว่างสามีภรรยา นายกับลูกน้อง ครูกับศิษย์ หรือแม้แต่พ่อแม่กับลูก เมื่อเอ่ยถึงคำว่าเพื่อน นักมนุษยสัมพันธ์ได้เสนอว่า หมายถึงความสัมพันธ์ ที่มีลักษณะพิเศษ ดังนี้ (Reardon, 1987)
 2 .1 เพื่อนมีสถานะพิเศษในชีวิต เป็นคนที่เราไว้ใจและเป็นที่ยอมรับ ยิ่งไปกว่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนเป็น ความสัมพันธ์แบบ ไม่เอาเปรียบ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าคนเราจะ ไม่รับสิ่งใดจากเพื่อน แต่การได้สิ่งใดจากเพื่อนนั้นเป็นการได้มาโดยไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าตน ถูกบังคับหรือขู่เข็ญ

 
 2 .2 เพื่อนมีฐานอยู่บนความเท่าเทียมกัน หมายถึงว่า ระหว่างเพื่อนไม่มีใครมีอำนาจหรือ อิทธิพลเหนือใคร แม้ว่าอีกคนหนึ่ง จะมีสถานภาพเหนือกว่า และตรงจุดนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บุคคลมีเพื่อนที่มีสถานภาพทางสังคมหรือเศรษฐกิจต่างจากตนเองมาก ๆ ได้ เนื่องจากอาจเกิดความขัดแย้งระหว่างบทบาทขึ้น
 2 .3 เพื่อนต้องยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งจะรู้ได้จากการสังเกตพฤติกรรมของอีกฝ่ายหนึ่งว่าคล้อยตามกฏของความเป็นเพื่อนหรือไม่ กฏของความเป็นเพื่อน โดยทั่วไปประกอบด้วย

เมื่อมีข่าวใด ๆ เกี่ยวกับความสำเร็จก็บอกให้เพื่อนรู้
แสดงการสนับสนุนทางอารมณ์
เสนอความช่วยเหลือเมื่อต้องการ
พยายามทำให้มีความสุขเมื่ออยู่ร่วมกัน
เสนอตัวทำงานแทนถ้าเพื่อนขาดไป
อย่างไรก็ตามนักวิชาการบางท่านได้สำรวจกฏดังกล่าวและเสนอว่ากฏเหล่านี้ตั้งขึ้นมาเพื่อให้รางวัลสำหรับความเป็นเพื่อน โดยพยายามหลีกเลี่ยง ความขัดแย้งซึ่งเป็นปรากกการณ์อีกด้านหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในระหว่างเพื่อน สำหรับการที่ยอมรับใครเข้ามามีความสัมพันธ์ในระดับเพื่อนนั้น เป็นไปตามทฤษฎีการเกิดความสัมพันธ์และสาเหตุการเกิดความสัมพันธ์ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

3. ระดับลึกซึ้ง ความสัมพันธ์ในระดับนี้เป็น ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เปิดตนเองต่อกันมาก ขึ้นต่อกัน และกันสูง มีเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องมาก ความสัมพันธ์เช่นนี้ปรากฏอยู่ในสามี-ภรรยา พ่อแม่-ลูก พี่-น้อง เพื่อนสนิท คู่รัก หรือลักษณะอื่น ๆ มีข้อค้นพบที่น่าสนใจสำหรับความสัมพันธ์ประเภทนี้ ดังนี้

3.1 คู่สัมพันธ์ระดับลึกซึ้งมักคาดหวังจากกันและกันสูง เกินกว่าขอบเขตที่เป็นจริง เมื่อไม่เป็นไปตามที่คาดก็มักกล่าวโทษอีกฝ่ายหนึ่ง
3.2 ความสัมพันธ์ระดับนี้มิได้ขึ้นอยู่กับคู่สัมพันธ์อย่างเดียว การสื่อสารจากคนอื่น ๆ ก็มี อิทธิพลต่อความสัมพันธ์นั้นด้วย
3.3 ความสัมพันธ์ระดับลึกซึ้งที่เรียกว่าความรักนั้น จำแนกได้เป็น 3 ประเภทย่อยและแต่ละประเภทก็มีลักษณะต่างกัน ดังนี้
3.3.1 รักแบบหลงไหล ซึ่งปรกติจะอยู่นอกเหนือการควบคุมเป็นเรื่องของอารมณ์แท้มากกว่าเหตุผล มักกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองอย่างฉับพลัน พฤติกรรมระหว่างคู่สัมพันธ์มักพยากรณ์ไม่ได้ และไม่เป็นฐานความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน การได้อยู่ร่วมกันเป็นประจำหรือการที่ได้มีความสัมพันธ์ทางเพศสม่ำเสมอจะทำให้ความตื่นเต้นอันเกิดจากความหลงไหลลดลง
3.3.2 รักแบบความจริง เป็นความรักที่พัฒนามาจากแบบแรก เกิดขึ้นทีละน้อยและอยู่ภายใต้การควบคุมของคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง มีการตอบแทนกันและกัน มองความสัมพันธ์ในลักษณะสมดุล
3.3.3 รักแบบเอื้ออาทร เป็นรักที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน ซึ่งจะมีส่วนเพิ่มชีวิตชีวาให้กับความรักแบบที่สอง
3.4 พฤติกรรมที่สื่อให้เห็นความสัมพันธ์ลึกซึ้งนั้น เป็นได้ทั้งภาษาถ้อยคำและท่าทาง ภาษาเหล่านี้ส่อให้เห็นว่า คู่สัมพันธ์มีความใกล้ชิดกัน ทั้งกายและใจ อาจเห็นได้จากการมองตา การใช้เวลาอยู่ร่วมกันมาก การยิ้ม การยืนใกล้กัน หรือการสัมผัส เป็นต้น

 การเกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
การที่บุคคลจะเลือกมีความสัมพันธ์กับใครเป็นสิ่งที่นักจิตวิทยาสังคมให้ความสนใจมาก นักวิชาการในสาขานี้ได้พัฒนาทฤษฎีและข้อคิดเห็นเพื่อนำมาอธิบาย ดังนี้ (Organ & Hamner, 1982)
1. ทฤษฎีอธิบายการเกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

1.1 ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน
ทฤษฎีนี้ได้อธิบายการเกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรูปของกำไรและต้นทุน โดยที่ กำไร หมายถึง สิ่งที่เราได้จากการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ขณะที่ต้นทุน หมายถึง สิ่งที่ไม่น่าพอใจในการสร้างความสัมพันธ์นั้น เช่น ความล้า เบื่อ วิตกกังวล เป็นต้น คนเราจะประเมินกำไรจาก ความสัมพันธ์โดยอาศัยมาตรฐาน 2 ประการ ประการแรก ได้แก่ ระดับของการเปรียบเทียบในอดีต ซึ่งเป็นสิ่งที่เคยได้รับจากการมีความสัมพันธ์ในอดีต เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน และประการที่สอง ได้แก่ ระดับการเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่น ๆ ในปัจจุบัน ในข้อนี้หมายถึงว่า บุคคลจะเลือกสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใดต้องคำนึงแล้วว่า ระหว่างคนต่าง ๆ ที่แวดล้อมอยู่ผู้ใดจะทำให้ได้สิ่งที่ต้องการ มากที่สุด ไม่ว่าความสัมพันธ์กับคนปัจจุบันจะทำให้ได้ผลดีแค่ไหนก็ตาม หากบุคคลคิดว่าการสร้างความสัมพันธ์กับคนใหม่ให้ผลดีกว่า เขาก็มีแนวโน้มที่จะไปสร้างความสัมพันธ์กับคนใหม่หรือกลุ่มใหม่ ในทางตรงข้ามแม้ความสัมพันธ์ในปัจจุบันจะทำให้ไม่พอใจขนาดใดก็ตามบุคคลจะยังคงความสัมพันธ์นั้นไว้ หากเปรียบเทียบแล้วว่าการไปสร้างความสัมพันธ์กับคนใหม่อาจทำให้ได้ผลร้ายกว่าเดิม
 1.2 ความคล้ายคลึงของเจตคติ
ทฤษฎีนี้อธิบายว่า ผู้ที่มีเจตคติคล้ายกันจะดึงดูดเข้าหากันและเป็นองค์ประกอบสำคัญของการคบหากัน

 
 1.3 การเติมความแตกต่างให้สมบูรณ์
ในบางกรณีพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเกิดขึ้นได้แม้จะมีความแตกต่างกันโดย สิ้นเชิง ลักษณะเช่นนี้อธิบายด้วยหลักของการเติมให้สมบูรณ์ โดยทฤษฎีนี้กล่าวว่า ลักษณะที่ แตกต่างกันของบุคคลนั้นหากสามารถตอบสนองความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ความต่างจะกลายเป็นเสมือนสิ่งดึงดูดใจอีกฝ่ายหนึ่งให้เข้ามาสร้างความสัมพันธ์ด้วย ทฤษฎีนี้สอดคล้องกับทฤษฎีการแลกเปลี่ยน เนื่องจากลักษณะของอีกฝ่ายหนึ่งจะถือว่า เป็นกำไรของอีกฝ่ายหนึ่งที่มิได้เป็นเจ้าของลักษณะนั้น
 1.4 การเปรียบเทียบทางสังคม
ทฤษฎีนี้อธิบายว่า คนเราแต่ละคนมีความต้องการที่จะประเมินตนเอง ดังนั้นจึงต้องการทดสอบตนเองกับคนอื่น ๆ เพื่อทราบว่าสิ่งที่เรามีหรือเราคิดหรือ เราเป็นสอดคล้องกับความเป็นจริง ทางสังคมหรือไม่ และการที่จะกระทำเช่นนี้ได้จำเป็นที่จะต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ
 1.5 ตัวแบบเสริมแรง
ทฤษฎีนี้เสนอว่า ความดึงดูดระหว่างบุคคลนั้นส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ที่ได้รับ การเสริมแรงเมื่อมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทฤษฎีนี้เสนอว่า คนเราจะชอบบุคคลที่มีความสัมพันธ์อยู่กับสิ่งเร้าที่ทำให้เราพอใจ นักทฤษฎีนี้ตั้งข้อเสนอว่า ปฏิกิริยาซึ่งเป็นความชอบพอที่เราจะตอบสนองต่อบุคคล หรือวัตถุเกิดขึ้นได้โดยการวางเงื่อนไขด้วยความใกล้กันในแง่ของพื้นที่หรือเวลา ตัวอย่างเช่น เราอาจมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อใครคนหนึ่งได้เพียง เพราะเขามาปรากฏตัวอยู่ในขณะที่เรามีประสบการณ์ที่น่ายินดีและพึงพอใจ

2. สาเหตุโดยทั่วไปของการเกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
สำหรับสาเหตุโดยทั่วไปที่ควรจะนำมาพิจารณาประกอบด้วย

2.1 การมีจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกัน
การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับใครนั้นอาจเกิดขึ้นได้เพราะการมองเห็นประโยชน์ซึ่งอาจได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าทั้งคู่มีจุดมุ่งหมายที่เข้ากันได้
2.2 ความต้องการใฝ่สัมพันธ์
หากรับรู้ว่าการมีความสัมพันธ์กับใครสามารถจะตอบสนองความต้องการที่จะได้รับ ความรัก ความเป็นมิตรและการได้ผูกพัน ก็มีแนวโน้มที่เราจะเข้าไปสร้างความสัมพันธ์กับคนผู้นั้น
2.3 ความพอใจในกิจกรรมของผู้อื่น
กิจกรรมที่ผู้อื่นทำอยู่เป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้เข้ามาสร้างความสัมพันธ์ด้วย เนื่องจากการมีความสัมพันธ์นั้นเป็นโอกาสให้ได้เข้าไปทำกิจกรรมที่ตนพอใจ
2.4 การส่งเสริมสถานภาพส่วนตัว
ในบางกรณีแม้ตัวบุคคลที่ตั้งใจจะมีความสัมพันธ์ด้วยนั้นไม่น่าสนใจและไม่ดึงดูดใจ แต่หากบุคคลนั้นมีสถานภาพทางสังคมหรือเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง ก็อาจเป็นปัจจัยดึงดูดให้เข้าไปมีความสัมพันธ์ด้วย เพราะจะได้รับเกียรติและการยกย่องว่าเป็นพวกเดียวกันกับบุคคลผู้นั้น
2.5 การลดความวิตกกังวล
สาเหตุหนึ่งที่คนเราสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นก็เพื่อลดความวิตกกังวลอันเกิดจากความรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อต้องอยู่โดดเดี่ยว การมีความสัมพันธ์ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อคนเรา รู้สึกว่าถูกขู่หรือถูกทำให้กังวล การเข้าร่วมกับคนอื่นจะทำให้ความรู้สึกดังกล่าวลดลงเพราะคนอื่น ๆ ก็กังวลเหมือนกัน หรือเป็นไปได้ว่าเมื่อมาอยู่รวมกันก็สามารถจะหาทางจัดการกับความวิตกกังวลนั้น อย่างไรก็ตามหากสถานการณ์นั้นทำให้กังวลร่วมกับอับอาย คนเรามีแนวโน้มจะอยู่คนเดียวมากกว่าอยู่รวมกับผู้อื่น
2.6 การใช้ความสัมพันธ์กับคนอื่นเป็นเครื่องมือสำหรับการบรรลุจุดมุ่งหมายส่วนตัว
การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลนั้น เป็นไปได้อีกเช่นกันที่คนเราจะทำไปเพราะเป็น ช่องทางที่ทำให้ตนเองได้ประโยชน์และบรรลุวัตถุประสงค์ส่วนตนได้ โดยที่มิได้พอใจในตัวบุคคลนั้นเลย

ขั้นตอนของการเกิดความสัมพันธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เกิดขึ้นอย่างมีเงื่อนไข และเงื่อนไขที่สำคัญ คือ ท่าทีและความรู้สึกที่เราแสดงต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ท่าทีเหล่านี้มีผลอย่างยิ่ง ต่อการงอกงามและการสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ซึ่งกระบวนการเกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นเป็นไปตามขั้นตอน ดังนี้

 1. การเริ่มความสัมพันธ์

มีปัจจัยจำนวนมากที่มีอิทธิพลต่อการเริ่มความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่ได้รับความสนใจ กันมาก ได้แก่ ก) การมีลักษณะทางกายที่ดึงดูดใจ ข) ความถี่ของการได้พบปะกัน และ ค) ความคล้ายคลึงกันในลักษณะต่างๆ

 2. การสร้างความสัมพันธ์

ขั้นตอนที่สองนี้ยากที่จะระบุให้ชัดเจนลงไป แต่โดยทั่วไปจะเกิดใน 2 ลักษณะ คือ
ก) เกิดทีละน้อยตามเวลาของการที่ได้ติดต่อกัน และ
ข) เกิดเพราะมีเหตุการณ์วิกฤตเกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดความสัมพันธ์ขึ้นมาแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะเพิ่มปริมาณของความสัมพันธ์ขึ้นเรื่อย ๆ เช่น อาจทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ใช้เวลาอยู่ร่วมกันมากขึ้น มีการป้องกันตนเองน้อยลง บอกถึงความต้องการของตนเองมากขึ้น และจะเริ่มรู้สึกสนิทกัน สามารถสื่อสารกันถึง เรื่องส่วนตัว ซึ่งก้าวไปไกลกว่าการคุยกันตามมารยาท

 3. การกระชับความสัมพันธ์

ในขั้นนี้ต่างฝ่ายต่างพยายามหาวิธีรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันโดยการรักษาความน่าสนใจในการอยู่ร่วมกัน เรียนรู้นิสัยของอีกฝ่ายหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็พัฒนานิสัยบางอย่างของตนเพื่อ การตอบสนองและการปรับตัว ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างต้องทำเช่นนี้ด้วยกัน ความสัมพันธ์จะเริ่มงอกงามจนรับรู้ได้ ทั้งคู่จะขึ้นอยู่กับกันและกันมากขึ้น มีพันธะในการคบหากันในลักษณะของการทำประโยชน์ให้แก่กันและกัน
แนวคิดทั้งหมดทำให้มองเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์แปรเปลี่ยนไปได้เป็นระยะ หากเป็นไปตามขั้นตอนความสัมพันธ์จะก้าวคืบหน้าไปจนกระชับแน่น ในทางตรงข้ามหากขั้นตอนหมุนย้อนหลังความสัมพันธ์จะเสื่อมคลายลงและอาจมาถึงขั้นตอนที่ 4 คือ การจบความสัมพันธ์

 4. การจบความสัมพันธ์

ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คือ มีการเริ่มต้นและมีการสิ้นสุดและ การสิ้นสุดความสัมพันธ์มักตามมาด้วยความรู้สึกทางลบหรือความขัดแย้ง ในการจบความสัมพันธ์มีขั้นตอนที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนี้ (Duck, 1982)

4.1 ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่ามีปัญหาเกิดขึ้นในความสัมพันธ์
4.2 อีกฝ่ายหนึ่งจะเริ่มต้นสื่อให้อีกฝ่ายทราบถึงความรู้สึกนั้น
4.3 คู่สัมพันธ์เผชิญหน้ากับปัญหาอันอาจนำไปสู่การปรับความเข้าใจกันหรือความขัดแย้ง
4.4 หากไม่สามารถปรับความเข้าใจกันได้จะมีการหันไปหาฝ่ายที่สาม ซึ่งตรงจุดนี้จะมีการเข้าข้างหรือแยกฝ่าย
4.5 ทั้งสองฝ่ายรู้ว่าความสัมพันธ์สิ้นสุดลงจึงอาจตัดสินใจยุติความสัมพันธ์หรือปรับ รูปแบบความสัมพันธ์ใหม่
อย่างไรก็ตามไม่ว่าความสัมพันธ์ของเราจะเป็นประเภทใด นักจิตวิทยาล้วนเตือนว่าเป็นเพียงความสัมพันธ์ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป ความสัมพันธ์จะแปรเปลี่ยนระดับหรืออาจ สิ้นสุดลง ซึ่งหมายความว่า เราเองได้เรียนรู้เรื่องของมนุษยสัมพันธ์ไปอีกขั้นตอนหนึ่งแล้ว

 

กระบวนการติดต่อสื่อสาร
ในตอนแรก ได้กล่าวไว้ว่า การติดต่อสื่อสารเป็นกระบวนการ นั่นหมายถึงว่า เป็นการกระทำที่มีขั้นตอนและมีลำดับของการแปรเปลี่ยน จากขั้นตอนหนึ่งไปสู่อีกขั้นตอนหนึ่ง ดังนั้นจุดเริ่มต้นที่สะดวกที่สุดในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี คือ การทำความเข้าใจกระบวนการสื่อสาร อันประกอบด้วยส่วนย่อย 2 ส่วน คือ องค์ประกอบของการสื่อสารและขั้นตอนที่การสื่อสารดำเนินไป

1. องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร

สำหรับในช่วงแรกนี้ เพนรอด (Penrod ,1983: 254) ได้เสนอความคิดว่า กระบวนการสื่อสารจะปรากฏเมื่อผู้สื่อสารตัดสินใจส่งสารไปยังผู้รับ โดยสารจะเริ่มในสมองของผู้ส่งซึ่งถือว่าเป็นแหล่งของข้อสนเทศแล้วจึงจะถูกส่งไปยังสมองของผู้รับ ซึ่งถือว่าเป็นปลายทางของการส่งสารด้วย วิธีการแบบใดแบบหนึ่ง และในขณะที่ส่งสารไปยังช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ นั้นอาจเกิดสิ่งรบกวนขึ้นได้ จากกระบวนการดังกล่าวจะเห็นว่า การสื่อสารจะปรากฏขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบสำคัญอย่างน้อย 4 ประการ และแสดงให้เห็นตามภาพ


แหล่งที่มา : ดัดแปลงจาก Penrod, 1983, 254

จากภาพจะเห็นว่าองค์ประกอบเบื้องต้นของการสื่อสาร ได้แก่

1.1 ผู้ส่งสารอันเป็นแหล่งของสารสนเทศที่ถูกส่งออกไป
1.2 สาร สิ่งที่เรียกว่าสารนั้นประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความรู้สึก เจตคติ การคาดการณ์ ข้อแนะนำ และความคิดเห็น เป็นต้น การส่งสารไปก็เพื่อให้ผู้รับเกิดความรู้ ความรู้สึก หรือเกิด พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
1.3 สื่อ อันหมายถึงสิ่งที่เลือก เพื่อใช้ส่งสารไปยังผู้รับ สื่อสารเป็นภาษาพูดหรือเขียน ท่าทาง หรือสัญลักษณ์เฉพาะอย่าง ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้รับเข้าใจสิ่งที่ส่งไปได้ตรง ถูกต้องและชัดเจนตามความตั้งใจของผู้ส่งสาร


 
1.4 ผู้รับสาร อันอาจเป็นได้ทั้งบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งจะเป็นผู้รับสารที่ส่งมา ซึ่งในส่วนของการรับสารนี้จะมีการตีความสารที่ได้รับ ปรากฏการณ์ที่แสดงว่าผู้รับสารได้รับสารและตีความแล้ว คือ ผู้รับสารจะมีการสนองตอบต่อสาร เช่น คล้อยตาม ขัดแย้ง ต่อต้านหรือแม้แต่เป็นกลาง เมื่อสารถึงปลายทางแล้วจึงถือว่ากระบวนการสื่อสารได้เกิดแล้วอย่างครบถ้วน

อย่างไรก็ตามในระหว่างกระบวนการสื่อสารนั้นอาจมีสิ่งที่เรียกว่า สิ่งรบกวน (noise) ปรากฏอยู่ด้วย ดังนั้นในการสื่อสารครั้งหนึ่ง ๆ ผู้รับอาจได้ไม่ตรงกับความตั้งใจที่ผู้ส่งตั้งใจส่งมา ทั้งนี้เนื่องจากสิ่งรบกวน สิ่งรบกวนของการสื่อสารจำแนกได้เป็น 2 ประการใหญ่ ๆ ประการแรก มาจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แสง สี เสียง เป็นต้น และประการที่สอง มาจากปัจจัยภายในตัวบุคคลเอง เช่น ความคิดและความรู้สึกอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นขณะที่รับสาร สิ่งรบกวนทั้งสองประการนี้ถือว่าทำให้เกิดความสื่อสาร เกิดการลัดวงจรขึ้น

2. ขั้นตอนการสื่อสาร
ในองค์ประกอบทั้งหมดของการสื่อสารจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเรียงตามลำดับอย่างน้อย 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ แรกทีเดียว ข่าวสารจะถูกเข้ารหัสเพื่อให้อยู่ในรูปที่ผู้รับจะเข้าใจได้ ต่อมาสารจะถูกนำไปโดยสื่อที่เหมาะสม หลังจากนั้น สารจะถูกถอดรหัสหรือตีความหมายโดยผู้รับ และขั้นสุดท้าย ผู้รับจะโต้ตอบเพื่อนำข้อมูลป้อนกลับมายังผู้ส่งอีกที่หนึ่ง รอบบินส์ (Robbins,1992) ได้ขยาย รายละเอียดดังนี้
 กระบวนการติดต่อสื่อสารจะเริ่มจากการเกิดความคิดของผู้ส่งสาร โดยผู้ส่งจะเริ่มจัดระบบความคิดของตนเองที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ก่อนที่สารจะถูกส่งออกไปจะต้องถูกนำมาเข้ารหัส เสียก่อน โดยเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของถ้อยคำหรือท่าทาง ทั้งนี้เพื่อให้สารที่ส่งออกไปตรงกับความคิดความรู้สึก เจตคติความตั้งใจของผู้ส่งสารขณะเดียวกันก็เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจได้ ซึ่งในบรรดา พฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อการติดต่อสื่อสารนั้น ที่สังเกตได้ พบว่า 7% เป็นภาษาถ้อยคำแต่อีก 93% เป็นภาษาท่าทาง
 สื่อที่ใช้ส่งสารอาจอยู่ในรูปอื่น ๆ ได้อีก เช่น รูปภาพหรือแผนภูมิ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ในการโฆษณาสินค้า มักใช้ภาพเป็นสื่อในการบอกความคิด ในการประชุม มักใช้แผนภาพ ตารางหรือกราฟในการแสดงข้อมูล เป็นต้น เมื่อสารมาถึงผู้รับก็จะมีกระบวนการรับสารเกิดขึ้น โดยผู้รับจะตีความสารที่ผู้ส่งส่งออกมาชึ่งเรียกว่าเป็นกระบวนการเข้ารหัส สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในกระบวนการนี้ ได้แก่ การรับรู้ ประสบการณ์และความรู้สึกของผู้รับ เมื่อตีความได้อย่างไรแล้วผู้รับก็อาจโต้ตอบกลับไปยังผู้ส่งตามความเข้าใจของตนเอง

 

ปัญหาและอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร
 อย่างไรก็ตามในการติดต่อสื่อสารแต่ละครั้ง จากประสบการณ์ของพวกเราทุกคนล้วนทราบดีว่าไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จเสมอไป หลายต่อหลายครั้ง ที่การติดต่อสื่อสารสร้างความเข้าใจผิดและลุกลามไปถึงการทำลายความสัมพันธ์ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องค้นหา คือ มีสิ่งใดบ้างที่ก่อให้เกิดปัญหาของ การติดต่อสื่อสาร และมีสิ่งใดบ้างที่เป็นอุปสรรคสำคัญ รอบบินส์ (1992 ) ได้รวบรวมสิ่งที่เป็นปัญหาของ การติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันและพบว่า ในการสื่อสารแต่ละครั้งนั้นคนเรามักจะ

ก.) ได้ยินในสิ่งที่คาดว่าจะได้ยิน
ข.) ประเมินความน่าเชื่อถือของสารจากแหล่งสารมากกว่าตัวสาร
ค.) รับรู้และตั้งใจสื่อสารต่างกัน
ง.) เพิกเฉยต่อภาษาท่าทาง
และ จ.) ถูกรบกวนด้วยสิ่งรบกวนทั้งจากภายนอกและภายใน
จากปัญหาดังกล่าวรอบบินส์ได้นำมาวิเคราะห์และจำแนกออกเป็นอุปสรรคในการติดต่อ สื่อสาร 3 ประการใหญ่ ๆ ดังนี้

1. ความแตกต่างระหว่างการรับรู้ของบุคคล

การรับรู้ เป็นกระบวนการที่บุคคลจัดสิ่งเร้าที่ปรากฏให้เป็นหมวดหมู่มีความหมายแล้วจึง ตีความ ต่อจากนั้นจัดเก็บสิ่งที่ตีความได้ไว้เป็นความจริง ในความคิดของตน ซึ่งบุคคลจะมีพฤติกรรมตอบสนองออกมาตามความจริงที่ตนรับรู้ จากความหมายจะเห็นได้ว่าการรับรู้โลกของบุคคลประกอบด้วยวิธีการที่เลือกรับสิ่งเร้า วิธีการจัดสิ่งเร้า และวิธีการตีความ ดังนั้นการที่จะเข้าใจความแตกต่างในการรับรู้ของบุคคลจึงต้องทำความเข้าใจกระบวนการทั้งสามนี้
 1.1 การเลือกรับสาร มนุษย์เราถูกแวดล้อมไปด้วยสารหลายชนิดและจำนวนมหาศาล แต่มนุษย์จะไม่รับรู้สารทั้งหมดที่ปรากฏ แต่จะเลือกรับรู้เพียงบางอย่างที่มีความสำคัญสำหรับตนเท่านั้น โดยสิ่งที่เลือกรับจะเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความคาดหวัง ความต้องการ ความสนใจ ค่านิยมหรืออารมณ์ของตนในขณะนั้น

 
 1.2 การจัดระบบสาร เมื่อเราเลือกสารที่เราต้องการรับรู้แล้ว ขั้นต่อไปคือจัดสิ่งที่รับรู้นั้นให้เป็นระบบและมีความหมาย มีอยู่หลายวิธีที่คนเราใช้จัดระบบสาร ที่พบมากในการติดต่อสื่อสาร ได้แก่
 1.2.1 วิธีการของภาพและพื้น ในบรรดาสิ่งเร้าทั้งหลายนั้น สิ่งที่เราเอาใจใส่เป็นพิเศษและให้ความสำคัญจะเป็นภาพและสิ่งอื่น ๆ ที่เหลือจะกลายเป็นพื้นหรือฉากหลังซึ่งเราให้ ความสำคัญไม่มากนัก ดังนั้นเป็นไปได้ที่คนสองคนที่กำลังเจรจากันและต่างฝ่ายต่างนึกว่าตนกำลังพูดถึงเรื่องเดียวกันแต่แท้จริงแล้วกำลังพูดคนละเรื่องกัน ปรากฏการณ์เช่นนี้ เรียกกันว่า dual monologue และตรงนี้เองที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมากระหว่างที่มีการติดต่อสื่อสาร
 1.2.2 วิธีการของการเติมให้เต็มสมบูรณ์ วิธีการที่สองนี้อธิบายได้ว่า บุคคลมี แนวโน้มจะเติมสิ่งที่ขาดหายไปจากสิ่งเร้าลงไปในการรับรู้ของตนเพื่อให้สิ่งที่รับรู้นั้นสมบูรณ์ขึ้น และโดยทั่วไปในการติดต่อสื่อสารแล้วคนเรามีแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะเติมสิ่งที่เป็นลบลงไปมากกว่าสิ่งที่เป็นบวก ตัวอย่างเช่น ในหน่วยงานมีการประชุมแต่เราไม่มีรายชื่อเข้าประชุมทั้ง ๆ ที่เราคิดว่าเราควรจะมีคนส่วนใหญ่จะไม่คิดว่าผู้จัดประชุมลืมแต่จะคิดว่าจงใจที่จะไม่เชิญเราเข้าประชุม การกระทำที่ควรจะทำสำหรับขจัดอุปสรรคอันเนื่องมาจากการจัดระบบสารด้วยวิธีนี้ คือ ตรวจสอบกับข้อเท็จจริงหรือกับความตั้งใจของผู้ส่งสาร
 1.2.3 การตีความสาร ในการตีความสารของบุคคลนั้น มีปัจจัยหลักเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ปัจจัยซึ่งมีผลทำให้คนเราตีความสารอย่างเดียวกันต่างกันออกไป ได้แก่
ก. ความกำกวมของสาร สารบางอย่างเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกและยากที่จะแสดงทั้งด้วยถ้อยคำหรือท่าทาง จึงมีผลทำให้ผู้รับสารตีความตั้งใจของสารไม่ออกหรือไม่ตรงกับความจริง ตัวอย่างเช่น ผู้ส่งสารรู้สึกรำคาญคู่สนทนา สารที่แสดงออก นิ่ง ไม่พูดอะไร ซึ่งการนิ่งและการไม่พูดอะไรนั้นผู้รับสารอาจแปลความว่ากำลังสนใจฟังหรือเห็นด้วยกับสิ่งที่แสดงออกก็ได้
ข. อารมณ์และความรู้สึก อารมณ์และความรู้สึกของคนนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปมาทั้งวันขึ้นอยู่กับบุคคลหรือเหตุการณ์ที่เข้าไปติดต่อด้วย เจ้าตัวนั้นทราบดีว่าในเวลานี้ตนตกอยู่ในอารมณ์ใดหรือความรู้สึกใดแต่คู่สื่อสารอาจไม่รู้ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาในข้อนี้บางคนจึงบอกคู่สื่อสารก่อนว่าตนรู้สึกอย่างไรกับเรื่องที่จะนำมาสนทนากัน อย่างไรก็ตามในสังคมของเราจะไม่ค่อยมีผู้บอกถึงสภาวะทางอารมณ์ของตนออกมาตรง ๆ วิธีหนึ่งที่จะช่วยได้คือ การสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของคู่สนทนา
ค. ภูมิหลังและประสบการณ์สังคม คนเราทุกคนล้วนเติบโตมาจาก สภาพแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถิ่นที่อยู่ ศาสนา การศึกษา อาชีพ เชื้อชาติ ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ หรืออื่น ๆ อีกมากมาย สิ่งเหล่านี้ทำเรามีเอกลักษณ์และแตกต่างไปจากบุคคลอื่น และเป็นไปได้ที่สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นอุปสรรคของการสื่อสาร
ง. บริบททางจิต ในการรับรู้สารนั้นมีอิทธิพลอย่างหนึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย รู้จักกันในนามของ primacy effect นั่นหมายถึงว่า คนเราสามารถรับรู้สารตามสารแรกสุดที่ได้ยินมาแทนที่จะฟังสารที่ได้รับภายหลัง แม้จะได้รับสารใหม่ระหว่างการติดต่อกันบุคคลก็จะประเมินเรื่องใหม่ไปในทิศทางเดียวกันที่รับรู้มาก่อน กรณีเช่นนี้จะเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความหมายของสารที่ได้รับภายหลัง หรือความเอาใจใส่สารอาจลดลงหรือไม่ก็ตัดสารนั้นทิ้งไปเลย ในกรณีที่ไม่สอดคล้องกับสารเดิมที่เคยได้รับมาก่อน ซึ่งทั้งหมดนี้อาจแก้ไขได้โดยตรวจสอบความสอดคล้องของสารที่เราคิดว่าได้ยินกับสารที่ถูกส่งออกมาจริง ๆ

2. ความแตกต่างระหว่างแบบของพฤติกรรม

รียดอร์น (Reardon, 1987) นักจิตวิทยาการสื่อสาร ได้เสนอว่า ในการติดต่อสื่อสารนั้นการรู้จักบุคคลผู้เป็นคู่สื่อสารนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง นักสื่อสารทั้งหลายย้อนหลังไปได้จนถึง อริสโตเติลล้วนแล้วแต่พยายามศึกษาผู้ที่ตนติดต่อด้วย และพยายามปรับการสื่อสารของตนให้กับพฤติกรรมของคู่สื่อสารเพื่อให้เกิดผลดีที่สุด เมอริลและคณะ (Merill and others cited by Robbins, 1992: 21 – 27) ได้จำแนกแบบพฤติกรรมของบุคคลในการติดต่อสื่อสารออกเป็น 4 แบบใหญ่ด้วยกัน แต่ละแบบล้วนมีแนวโน้มในการสื่อสารที่ต่างกันออกไป และเมื่อบุคคลต่างแบบมาสื่อสารกันก็เป็นไปได้ที่อาจติดต่อกันลำบากมากกว่าปรกติ แบบของพฤติกรรมที่อ้างถึงนั้นจำแนกเป็น
 2.1 ช่างวิเคราะห์ คนในแบบนี้มีแนวโน้มในเรื่องสมบูรณ์นิยม มักสนใจเรื่องข้อเท็จจริง ข้อมูล ตรรกะ และรายละเอียด มักชะลอการตัดสินใจจนกว่าจะแน่ใจว่าตนต้องการอะไรเสียก่อน ผลที่ตามมา คือ ดูเหมือนว่าเป็นคนที่ระมัดระวังจนเกินไปและไม่กล้าเสี่ยง อย่างไรก็ตามการตัดสินใจและข้อมูลของคนประเภทนี้เที่ยงตรงและเชื่อถือได้ ยิ่งไปกว่านั้นคนช่างวิเคราะห์มักซ่อนอารมณ์และไม่ชอบเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้
 2.2 เป็นมิตร บุคคลที่มีแนวโน้มของพฤติกรรมแบบที่สองนี้มีลักษณะอบอุ่นและคิดว่ามิตรภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุด พวกนี้ชอบที่จะดึงเอาคนอื่น ๆ เข้าไปเกี่ยวข้องในกิจกรรมต่าง ๆ ถนัดในการเลือกสรรคนเข้าร่วมกิจกรรม ทำงานทีละหลาย ๆ อย่าง สนใจความรู้สึกของผู้อื่นแต่ไม่อยากบอกว่าตนคิดอย่างไร บุคคลที่มีพฤติกรรมประเภทนี้ชอบส่งบัตรให้ผู้คนในวาระต่าง ๆ และจะเสียใจหรือขัดเคืองหากผู้ที่ได้รับไม่สนใจการกระทำของเขา
 2.3 ผลักดัน บุคคลแบบนี้มีลักษณะแรง ตรงไปตรงมาและมุ่งผลในการกระทำ มักจะให้ คำแนะนำแก่ผู้อื่นทั้ง ๆ ที่บางคนต้องการและบางคนก็ไม่ต้องการคำแนะนำ บางครั้งจะดูเหมือน คนชอบเร่งเร้า บังคับตนเองและผู้อื่น ไม่ชอบแสดงอารมณ์ นอกจากนั้นยังพอใจกับการวิพากษ์ตนเอง และเห็นว่าการคุยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อความบันเทิง เป็นการกระทำที่เสียเวลาและไร้สาระ
 2.4 แสดงออก บุคคลประเภทที่สี่มีลักษณะเด่นคือชอบสมาคม ชอบการสังสรรค์มี ความกระตือรือร้นสูงและคิดสร้างสรรค์ที่จะทำสิ่งต่าง ๆ มักกระทำสิ่งใดก็ตามโดยอาศัยแรงบันดาลใจและสังหรณ์ มีความอดทนต่ำต่อคนที่มีลักษณะต่างออกไปจากตน เนื่องจากบุคคลที่ชอบแสดงออกมักเบื่อง่ายจึงมักเปลี่ยนงานไปเรื่อย ๆ และสนใจสิ่งต่าง ๆ เป็นพัก ๆ
 บุคคลที่มีแบบของพฤติกรรมต่างกันอย่างสุดขั้วมักจะประสบปัญหาในการสื่อสารกันให้เข้าใจ เนื่องจากต่างคนต่างคิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีเจตนาที่จะทำให้ตนโกรธ ตัวอย่างเช่น เมื่อคนช่างวิเคราะห์ ติดต่อกับคนชอบแสดงออก คนช่างวิเคราะห์จะต้องการข้อมูลและรายละเอียดซึ่งฝ่ายหลังจะไม่มีให้ ในขณะเดียวกันผู้ที่ชอบแสดงออกคุยถึงภาพในอนาคต ก็มักเกิดความขัดแย้งพวกที่ผลักดันซึ่งสนใจแต่ปัจจุบัน เป็นต้น นักจิตวิทยาได้จับคู่ของแบบพฤติกรรมซึ่งขัดแย้งกันในการสื่อสารไว้ ดังนี้ คือ วิเคราะห์กับแสดงออก ผลักดันกับเป็นมิตร และผลักดันกับแสดงออกแต่มิได้หมายความว่า คู่แย้งเหล่านี้จะสื่อสารกันไม่ได้เลย คู่แย้งเหล่านี้จะสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพหากปรับตัวโดยเรียนรู้แบบของตนเองและของคู่สนทนา ทำในสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ฝ่ายหนึ่ง ไม่ต้องการ

3. ความแตกต่างระหว่างการรับสาร

รูปแบบของการรับสารของแต่ละคนจะต่างกันออกไปเช่นกัน โดยปรกติแล้วจะจำแนกออกเป็น3 ประเภท คือ รับโดยการฟัง การดู และการสัมผัส แต่ละประเภทมีลักษณะเด่นดังนี้

 3.1 การฟัง มีแนวโน้มที่จะรับสารที่เป็นภาษาพูดได้ดี สนใจเหตุผล แนวคิด ยุทธวิธี และ การแก้ปัญหา คำที่มักใช้เสมอ ๆ และส่อแสดงให้เห็นถึงการรับสารด้วยการฟัง ได้แก่ คิด ความคิด แนวคิด วิเคราะห์ ได้ยิน และฟังดู ตัวอย่างประโยคที่ชอบพูด เช่น
ขอคิดดูก่อน ฟังดูแล้วเข้าท่า ลองบอกจำนวนให้ฟังหน่อย
คุณชอบความคิดนี้ไหม ดูสมเหตุผลดี นี่ไง ข้อมูล

 
 3.2 การดู มีแนวโน้มจะรับสารที่เป็นภาพได้ดี สนใจภาพ สัญลักษณ์ วิธีหรือการแก้ปัญหาที่เป็นองค์รวม คำที่มักใช้เสมอ ๆ และส่อแสดงให้เห็นถึงการรับสารโดยการดู ได้แก่ เห็น เกิดภาพ มอง วิสัยทัศน์ ค้นหา สมดุล เป็นต้น ตัวอย่างประโยคที่ชอบพูด เช่น
ลองมองวิธีนี้ดู เห็นไหมว่าหมายความอย่างไร
เราต้องการให้มันดูสมดุล ลองวาดภาพคร่าว ๆ ให้ดูก่อน
 3.3 การสัมผัส มีแนวโน้มจะรับสารโดยอาศัยประสบการณ์ สนใจเรื่องสังหรณ์ ความบันดาลใจ การรับรู้ถึงการตัดสินใจและการเปลี่ยนแปลงของบุคคล คำที่มักใช้เสมอ ๆ และ ส่อแสดงให้เห็นถึงการับสารโดยการดู ได้แก่ รู้สึก จับ สัมผัส รับรู้ เกิดอารมณ์ และรู้สึกร่วม เป็นต้น ตัวอย่างประโยคที่ชอบพูด เช่น
คุณรู้ใช่ไหมว่าฉันหมายความว่าอย่างไร
คุณรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้
ฉันรู้สึกไม่สบายใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น
นอกจากอุปสรรคที่มาจากสาเหตุหลักดังกล่าวแล้ว ยังมีที่น่าพิจารณาอยู่อีก 2 ประการประการแรก ได้แก่ การพยายามสร้างความประทับใจเพื่อจะดึงดูดให้ผู้อื่นชอบตน ซึ่งทำให้บรรยากาศในการสื่อสารคล้ายการแสดงบนเวที คนแต่ละคนจะกลายเป็นตัวละคร แสร้งแสดงท่าทางตามที่คิดว่าควรจะทำมากกว่าจะเป็นความจริงใจ ต่างคนต่างจึงไม่ไว้วางใจกัน ส่วนประการที่สอง ได้แก่ การสื่อความหมายเพื่อป้องกันตนเอง อันเกิดจากการที่บุคคลรู้สึกว่าตนกำลังถูกกดดัน ถูกข่มขู่หรือถูกคุกคาม จึงมีผลให้ต้องแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบในเชิงป้องกันตน ทั้งสองประการทำให้การรับรู้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ถูกบิดเบือนไป และการติดต่อสื่อสารล้มเหลว

 

การเพิ่มประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสาร
 ในขั้นตอนที่จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพได้อย่างไรนั้น มีทักษะอยู่หลายทักษะที่ เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ แต่ที่จะเลือกนำมา กล่าวในที่นี้ ได้แก่ การฟัง ภาษาท่าทาง เทคนิคการสื่อสารกับบุคคลที่มีแบบพฤติกรรมต่างกันและการให้และรับข้อติชม

1. การฟัง ในการฟังแต่ละครั้งนักวิจัยด้านการสื่อสาร พบว่า ปรกติแล้วเราจะเข้าใจสิ่งที่เราฟังประมาณ 50% และหลังจากเวลาผ่านไป 48 ชั่วโมงความเข้าใจจะลดลงเหลือประมาณ 25% หรือน้อยกว่านั้น ดังนั้นหากเราฟังไม่เป็นหรือขาดทักษะการฟัง สารที่ได้รับมาแต่ละครั้ง อาจถูกลืมไปจนหมดสิ้น ทั้ง ๆ ที่การฟังมีความสำคัญ แต่การฟังดูจะเป็นทักษะที่ถูกฝึกกันน้อยที่สุดในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งในชีวิตจริงแล้ว เราจะสื่อสารได้ดีเท่าใดขึ้นอยู่กับ คุณภาพในการฟังของเรา การฟังที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ การติดต่อชัดเจนขึ้น ช่วยให้เข้าใจความตั้งใจ ที่อยู่เบื้องหลัง การส่งสารและเข้าใจตัวสารเองได้ดีขึ้น
ตอนแรกนี้จะได้กล่าวถึง นิสัยการฟังที่ทำลายประสิทธิภาพการสื่อสารก่อน แล้วจึงจะกล่าวถึงเทคนิคการฟังที่เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร

 1.1 นิสัยการฟังที่ทำลายประสิทธิภาพการสื่อสาร นิสัยการฟังเชิงลบที่ควรลดลง 10 ข้อ ได้แก่

ไม่สนใจในเรื่องที่ฟัง
สนใจส่วนประกอบอื่น ๆ ของผู้พูดมากกว่าเนื้อหา
ขัดจังหวะผู้พูด
สนใจรายละเอียดมากกว่าประเด็นที่ผู้พูดตั้งใจจะพูด
เลือกฟังในสิ่งที่ต้องการฟังและบิดเบือนหรือตัดทอนสิ่งที่ไม่ต้องการรับรู้
ใช้ภาษาท่าทางที่แสดงถึงความเฉื่อยและไม่สนใจการสื่อสาร
เสียสมาธิกับสิ่งเร้าอื่น ๆ ได้ง่าย
ข้ามหรือไม่ยอมฟังสิ่งที่ยากสำหรับความเข้าใจ
ควบคุมอารมณ์ซึ่งขัดขวางการรับรู้สารไม่ได้
ฝันกลางวันขณะฟัง
 1.2 เทคนิคการฟังที่เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร จากการประมวลความคิดเห็นของ นักจิตวิทยาการสื่อสารหลายคน ได้เสนอเทคนิคการฟังที่เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารไว้ดังนี้

การจัดสิ่งแวดล้อม ในข้อนี้หมายถึงว่า ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้ส่งเสริม ประสิทธิภาพการฟังโดย มีสิ่งรบกวนสมาธิน้อยที่สุด (การจัด แสง สี เสียง การไม่ทำกิจกรรมอื่น ๆ แทรกขณะฟัง) ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง (โต๊ะ เก้าอี้ แจกันหรือพุ่มดอกไม้ขนาดใหญ่) และให้มีการขัดจังหวะน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (โทรศัพท์หรือแขกมาขอพบ)
มีบทบาทเป็นผู้รับ โดยสนใจความคิดหลัก (ค้นหาความคิดหลักของผู้พูด ประเมินสารอื่น ๆ กับความคิดหลัก สนใจเฉพาะข้อมูลที่สอดคล้องกับความคิดหลัก หากอยากทราบว่าสิ่งที่เราคิดว่าเป็นความคิดหลักของผู้พูดนั้นถูกต้องหรือไม่ อาจซักถามผู้พูดได้) ควบคุมอารมณ์ขณะ รับฟัง (พยายามหยุดความคิดที่ขัดขวางการฟังหรือทำให้ฟังไม่รู้เรื่อง) ประเมินสาร (มีโอกาสมากที่จะใจลอยขณะฟัง ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาประเมินว่าสิ่งที่เราได้ฟังคืออะไร เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร และอาจบันทึกข้อมูลใหม่หรือแนวคิดใหม่ของผู้พูดที่เราได้รับจากการฟัง)
ใช้ภาษาท่าทางที่แสดงถึงความสนใจ เช่น สบตา นั่งเอนตัวไปข้างหน้า พยักหน้า ยิ้ม จดบันทึก ผ่อนคลายแขน ขา ไม่บิดมือ เคาะดินสอ หรือแทะเล็บ
ใช้ภาษาถ้อยคำที่แสดงถึงความสนใจ เช่น ถามคำถามในโอกาสที่ควรจะถามตอบสนองการพูด ( เช่น สรุป ถามเพื่อตรวจสอบความคิด ขอให้อธิบายเพิ่ม ชื่นชม) ตอบคำถามที่ ผู้พูดถาม แย้งความคิดของผู้พูดหรือให้ความเห็นเพิ่มเติม โดยทั้งหมดนี้กระทำด้วยท่าทีและถ้อยคำที่สุภาพ ไม่คุกคามหรือกดดัน
2. ภาษาท่าทาง
สื่อที่เราใช้เพื่อส่งสารไปยังผู้รับนั้น อย่างหนึ่งคือ ภาษาท่าทาง ซึ่งเป็นภาษาที่กำกวม ตีความยาก และอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย หากไม่ตระหนักถึง ภาษาท่าทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารนั้นนักจิตวิทยาสื่อสารได้จำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ การเปล่งเสียง การเคลื่อนไหว ร่างกาย และการใช้ระยะทาง จาก 3 ประเภทข้างต้นได้ถูกนำมาจำแนกออกเป็นประเภทย่อย ๆ ดังนี้
 2.1 การเปล่งเสียง
การสื่อสารประเภทนี้เป็นสารที่มากับการใช้ถ้อยคำหรืออาจไม่ใช่ถ้อยคำ สิ่งที่นำมาพิจารณาไม่ใช่เนื้อหาของสาร แต่เป็นลักษณะที่เปล่งเสียง ออกมา ประกอบด้วย ก) สำเนียง เช่น กระด้าง นุ่มนวล หรือแข็งกร้าว ข) จังหวะ เช่น เร็ว ช้า ตะกุกตะกัก ระล่ำระลัก ค) ระดับเสียง เช่น แหลม ทุ้ม ต่ำ หวาน ง) วิธีการพูด เช่น พูดเล่น พูดจริง พูดส่อเสียด หรือถากถาง เป็นต้น


 
 2.2 การเคลื่อนไหวของร่างกาย
การสื่อสารแบบนี้เป็นการสื่อสารโดยนำเอาการเคลื่อนไหวของร่างกายมาเป็นสื่อ เช่น การเคลื่อนไหวของศีรษะ หน้า เอว แขน และอวัยวะส่วนอื่น ๆ โดยทั่วไปคนเราจะเคลื่อนไหวเพื่อ การสื่อสารใน 3 แบบคือ
ก) การเคลื่อนไหวแทนคำพูดอย่างจงใจ เช่น พยักหน้า แปลว่า รับ เห็นด้วย หรือใช่ ข) ใช้การเคลื่อนไหวประกอบคำพูดแสดงการย้ำเน้น เช่น พูดว่า ไปก่อนนะ แล้วโบกมือลา ค) ใช้การเคลื่อนไหวแสดงความรู้สึกซึ่งจงใจควบคุมเพื่อสื่อสารให้ได้เนื้อหาด้วยความตั้งใจ เช่น เพื่อนเหยียบเท้า แล้วบอกว่าขอโทษ เรายิ้มแล้วตอบว่าไม่เป็นไร ทั้ง ๆ ที่ในใจโกรธมาก เป็นต้น นักจิตวิทยาสนใจการเคลื่อนไหวประเภทที่สามนี้มาก เพราะหลายครั้งที่พบว่า คนเราแสดงในสิ่งที่ตรงข้ามกับที่ รู้สึกเพราะต้องการปกปิดความจริง แต่หากสังเกตด้วยความรอบคอบก็จะเห็นสารที่ซ่อนไว้ได้
 2.3 ระยะทาง
ถึงแม้ว่าคนเราจะอยู่ในท่วงท่าที่สงบแต่ก็พบว่ามีการส่งสารออกมาได้ อย่างหนึ่งที่เห็น คือ ระยะทางที่บุคคลผู้นั้นห่างจากคู่ปฏิสัมพันธ์ของตน ปรกติแล้วระยะทางจำแนกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ ก) ระยะทางของคนสนิท อยู่ในระยะแตะต้องกันได้ –18 นิ้ว เช่น พ่อแม่-ลูก สามี-ภรรยา คนรัก และเพื่อนสนิท ข) ระยะทางส่วนบุคคล อยู่ระหว่าง 1.5-4 ฟุต ใกล้ชิดพอจะสัมผัสกันได้ เช่น สามี-ภรรยา คนรัก ค) ระยะทางทางสังคม ระหว่าง 4-12 ฟุต ปรกติแล้วการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะอยู่ในระยะนี้ เช่น ผู้ร่วมงาน คนรู้จัก ง) ระยะทางสาธารณะห่างประมาณ 12-15 ฟุต ซึ่งเป็นระยะทางระหว่างคนธรรมดากับคนแปลกหน้าหรือบุคคลสำคัญของประเทศ ในเรื่องของระยะทางนี้หากคน ไม่สนิทกันแต่มาอยู่ในระยะทางที่ใกล้กันมากจะรู้สึกอึดอัดดูว่าไม่มีมารยาท หรือบุกรุก แต่หากมี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันแต่อยู่ในระยะทางที่ห่าง จะเกิดความรู้สึกว่าห่างเหินและอาจเกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ได้
 2.4 การสบตา
การสบตาเป็นการสื่อสารที่บอกความหมายได้ชัดเจนอีกแบบหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วตาจะใช้เป็นช่องทางเปิดเผยความรู้สึกภายใน ใช้แสวงหาข้อมูล จากอีกฝ่ายหนึ่ง และยิ่งไปกว่านั้นยังมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของผู้อื่นอีกด้วย โดยปรกติแล้วการสบตากันนั้นถือว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสาร แต่การสบตาที่ทอดระยะนานจนกลายเป็นจ้องหรือเพ่งมองจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกอึดอัด
 2.5 การแสดงสีหน้า
สีหน้าของคนจะเป็นเครื่องบ่งชี้อารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนไปของสีหน้าจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ สีหน้าที่พบว่าคนแสดงออกมา คล้ายคลึงกันแทบทุกที่ในโลก ได้แก่ โกรธ สุข เศร้า กลัว รังเกียจ และประหลาดใจ แต่การแสดงสีหน้านี้จะว่าควบคุมไม่ได้เสียทีเดียวก็ไม่ใช่ เพราะคนเรามีความสามารถที่จะควบคุมการแสดงสีหน้าของตนเองได้ในบางโอกาส โดยเฉพาะเมื่อต้องแสดงมารยาทสังคมหรือปกปิดความรู้สึกบางอย่าง
 2.6 การสัมผัส
การสื่อสารด้วยการสัมผัสมักพบบ่อยในระหว่างบุคคลที่สนิทกัน แต่ในระหว่างคนไม่สนิท ไม่คุ้นเคย หรือคนแปลกหน้า การสัมผัสจะทำให้รู้สึกอึดอัด และไม่สบายใจ แต่โดยทั่วไปการสัมผัส เป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง โดยเฉพาะการสัมผัสระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก จะมีผลต่อพัฒนาการในทุกด้าน ระหว่างคนไข้โรคจิตกับแพทย์ พบว่า การสัมผัสมีความหมายมากกว่าถ้อยคำและช่วยให้คนไข้เปิดเผยความจริง และในระหว่างคนสนิทการสัมผัสจะทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย
นอกเหนือจากการสื่อสารประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว นักวิจัยยังพบอีกว่า การหายใจ กลิ่นตัว ความร้อนจากร่างกายก็สามารถสื่อสารได้เช่นกัน ในหลายกรณี คนเราอาจสื่อสารโดยใช้สัญลักษณ์อย่างอื่น เช่น การแต่งกาย การแต่งหน้า การใช้เครื่องประดับ และของใช้อื่น ๆ ซึ่งอาจทำไปทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวได้ และที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ ในการติดต่อสื่อสารนั้นภาษาถ้อยคำหรือภาษา ท่าทางจะต้องสอดคล้องหรือคล้อยตามกัน มิเช่นนั้นผู้รับสารจะเกิดความขัดแย้งไม่เข้าใจสาร และอาจตีความว่าผู้ที่ส่งสารแย้งกันระหว่างถ้อยคำและท่าทางนั้นเป็นผู้ที่ไม่น่าไว้วางใจ

3. เทคนิคการสื่อสารกับบุคคลที่มีแบบพฤติกรรมต่างกัน
ในการติดต่อสื่อสารนั้นการรู้จักแบบของพฤติกรรมของคู่สื่อสารนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน แต่การรู้จักอย่างเดียวยังไม่พอ จำเป็นต้องรู้เทคนิคในการสื่อสารกับบุคคลแบบต่าง ๆ ด้วย การติดต่อสื่อสารจึงจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้ ซึ่งตรงจุดนี้นักจิตวิทยาการสื่อสารได้มีข้อเสนอแนะและข้อควรระวังในการติดต่อกับบุคคลแบบต่าง ๆ ดังนี้ (Robbins, 1992:31-34)
 3.1 ช่างวิเคราะห์ สำหรับคนที่มีพฤติกรรมแบบนี้

ข้อเสนอ ควรจะ เตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเจรจาเรื่องใด ๆ พูดให้สั้นและตรงจุด มีหลักการและข้อมูลสนับสนุน แสดงข้อดีข้อเสียให้เห็นชัดเจน เฉพาะเจาะจงและพูดในสิ่งที่ทำได้ มีตารางเวลาในการทำงาน หากไม่เห็นด้วยต้องเสนอความคิดที่เป็นระบบ ตรงไปตรงมา มีหลักฐานที่เชื่อถือได้สำหรับการอ้างอิง เสนอทางเลือกอื่น ๆ ด้วย
ข้อควรระวัง ไม่ควรจะทำสิ่งต่อไปนี้ คือ พูดวกวน แสดงความเป็นกันเอง รีบตัดสินใจ ใช้เวลามาก เสนอสิ่งตอบแทนให้เป็นการส่วนตัว ขู่หรือคุกคาม ใช้หลักฐานการอ้างอิง ที่ไม่น่าเชื่อถือ เสนอในสิ่งที่ทำไม่ได้
 3.2 เป็นมิตร สำหรับคนที่มีพฤติกรรมแบบนี้

ข้อเสนอ ควรจะ เริ่มการสนทนาด้วยการไต่ถามทุกข์สุข แสดงความสนใจ อย่างจริงใจในสิ่งที่สนใจร่วมกัน ฟังและโต้ตอบ เป็นกันเองไม่มีพิธีรีตอง ถามคำถามที่ขึ้นต้นว่าอย่างไร เพื่อให้เขาแสดงความคิดเห็น ระมัดระวังการแสดงความไม่เห็นด้วย ให้การยืนยันว่าสิ่งที่เขาตัดสินใจจะไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อผู้อื่น ให้การสนับสนุนในสิ่งที่เขาแสดงออก
ข้อควรระวัง ไม่ควรจะทำสิ่งต่อไปนี้ เริ่มต้นด้วยเรื่องงาน บังคับให้ตอบสนองอย่างรวดเร็วและตรงเป้า เรียกร้องหรือคุกคาม อภิปรายข้อเท็จจริง เสนอทางเลือกและความน่าจะเป็นหลาย ๆ อย่าง รับประกันในสิ่งที่ทำไม่ได้ ตัดสินใจแทน
 3 .3 ผลักดัน สำหรับคนที่มีพฤติกรรมแบบนี้

ข้อเสนอ ควรจะพูดสั้น ๆ ตรงประเด็น ใช้เวลาน้อย เตรียมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเจรจามาให้เรียบร้อย เสนอข้อมูลเป็นระบบและเป็นไปตามหลักตรรกะ ถามคำถามเฉพาะเจาะจง เสนอทางเลือกและปล่อยให้เขาตัดสินใจ หากไม่เห็นด้วย ต้องไม่เห็นด้วยกับข้อมูล ไม่ใช่ตัวบุคคล เกลี้ยกล่อมโดยชี้ให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายและผลที่ได้รับ หลังจากเจรจาเสร็จกลับทันทีโดยไม่อ้อยอิ่ง
ข้อควรระวัง ไม่ควรจะทำสิ่งต่อไปนี้ พูดวกวน ใช้เวลามาก สร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว ยกเว้นว่าเขาจะเป็นฝ่ายเริ่มต้น ถามในสิ่งที่ไม่มีคำตอบเตรียมไว้ ตัดสินใจมาแล้วล่วงหน้าและบีบให้คล้อยตาม แสดงความไม่เห็นด้วยกับตัวเขา บอกเขาว่าเราอยู่ฝ่ายเดียวกับเขา เพราะคนประเภทนี้จะไม่สนใจ นำหรือสั่งให้ทำตาม คนพวกนี้จะต่อต้านทันที
 3.4 แสดงออก สำหรับคนที่มีพฤติกรรมแบบนี้

ข้อเสนอ ควรจะสนับสนุนสิ่งที่เขาคิดฝันและตั้งใจ ใช้เวลาเพื่อความสนุกด้วย ไม่ใช่พูดแต่เรื่องการงานเท่านั้น คุยถึงเป้าหมายของเขาและสิ่งที่เขาสนใจ ถามความเห็นและความคิด สนใจภาพกว้าง ๆ มากกว่ารายละเอียด หาตัวอย่างของบุคคลอื่น ๆ มาสนับสนุนสิ่งที่เขาคิด เสนอ สิ่งตอบแทนพิเศษเป็นส่วนตัว
ข้อควรระวัง ไม่ควรจะทำสิ่งต่อไปนี้ เย็นชา เหินห่าง มุ่งไปที่ข้อเท็จจริงและ กดดันให้แก้ปัญหา ถามหารายละเอียดแล้วให้เขียนหรือลงมือทำ ทิ้งสิ่งต่าง ๆ ไว้โดยไม่จัดการให้ เรียบร้อย ฝันร่วมไปกับเขาตลอดเวลาเพราะจะไม่มีเวลาพอสำหรับทำงานอย่างอื่น ดูแคลนสิ่งที่เขาคิด
4. การให้และรับข้อติชม
ข้อติชมเป็นกระบวนการย้อนกลับในการติดต่อสื่อสาร โดยปรกติมักอยู่ในรูปของ การบรรยายความรู้สึกและพฤติกรรมเมื่อได้รับสารจากอีกฝ่ายหนึ่ง แบ่งเป็นการให้และการรับข้อติชม และถือเป็นการกระทำที่ต้องใช้ความระมัดระวังมาก เนื่องจากมักก่อให้เกิดผลในทางลบมากกว่าบวก โดยเฉพาะเมื่อผู้รับสารอยู่ในภาวะกังวลหรือไม่สบายใจ แต่เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรทำอย่างมี หลักการ ดังนี้

4.1 เมื่อเป็นฝ่ายให้ข้อติชม

4.1.1 พูดถึงพฤติกรรมที่เฉพาะเจาะจงที่สังเกตเห็นได้
4.1.2 บอกถึงผลกระทบจากพฤติกรรมนั้นที่มีต่อการทำงานหรือต่อบุคคลอื่นหรือต่อตนเอง
4.1.3 วิธีพูดต้องไม่ประชดประชันหรือดุว่า ไม่ใช้คำพูดคลุมเครือที่ต้องคิดและ แปลความเอาเอง ไม่ชมก่อนแล้วจึงว่าทีหลัง และไม่ถามคำถามที่เรารู้คำตอบดีอยู่แล้ว
4.1.4 หาข้อตกลงร่วมกันว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างไร
4.1.5 ผู้ถูกติชมต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมจะรับฟัง
4.2 เมื่อเป็นฝ่ายถูกติชม
สำหรับรูปแบบที่ใช้รับมือกับคำติชม โดยเฉพาะเมื่อถูกติหรือวิพากษ์วิจารณ์ แมคเคย์และ แฟนนิง (McKay & Fanning,1987) ได้เสนอไว้ดังนี้

ภาพแสดงรูปแบบการรับมือกับคำติชม
ที่มา: (McKay & Fanning, 1987)


เมื่อได้รับรู้คำติชม อย่างแรกที่ต้องทำ คือ พิจารณาว่าคำติชมนั้นเป็นเรื่องอะไร เป็นเชิง สร้างสรรค์หรือไม่ ถ้าหากคำติชมเป็นไปใน เชิงสร้าง สรรค์ ให้พิจารณาต่อว่าตรงหรือไม่ หากไม่ตรงก็ให้แก้ความเข้าใจให้ถูกต้อง แต่หากตรงก็ให้ยอมรับและแก้ไขปรับปรุง ในกรณีที่คำติชม ไม่สร้างสรรค์ แต่ตรงก็ควรจะยอมรับและปรับปรุงแก้ไขเช่นกัน แต่หากไม่ตรงก็ไม่มีประโยชน์ที่จะเสียเวลาไปใส่ใจ ส่วนในกรณีที่ฟังแล้ว ไม่แน่ใจ หากยังคิดว่าสำคัญก็สืบค้นต่อจนเข้าใจชัดเจน แล้วจึงทำเหมือนข้างต้น
นอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพ ของการสื่อสาร จะเป็นไปตามหลักที่เสนอมาแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การติดต่อสื่อสารกับบุคคลนั้น ต้องคำนึงถึงสถานภาพและสถานการณ์ควบคู่ ไปด้วย สถานภาพของบุคคลที่เราสื่อสารด้วยมีได้ตั้งแต่สถานภาพที่เหนือกว่า เช่น พ่อแม่ ครู พระ ผู้อาวุโส หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น สถานภาพที่เท่ากันเช่นเพื่อน และสถานภาพที่ต่ำกว่า เช่นผู้ด้อยอาวุโส หรือผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นต้น ส่วนสถานการณ์ก็เช่นกัน มีได้ตั้งแต่สถานการณ์ปรกติทั่วไปจนถึงสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือวิกฤต การสื่อสารต้องสอดคล้องกัน กับสถานภาพของคู่สื่อสาร และสถานการณ์เกิดการติดต่อสื่อสารนั้น จึงจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลดังต้องการ

สรุป
ในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลนั้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการสร้าง มนุษยสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล มนุษยสัมพันธ์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์มนุษย์ในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะนำความรู้นั้น มาควบคุม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ โดยทั่วไปความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์จำแนกออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับคนรู้จัก ระดับเพื่อน และระดับลึกซึ้ง แต่ไม่ว่าจะเป็นระดับใดสามารถอธิบายการเกิด ความสัมพันธ์ด้วย 5 ทฤษฎีหลัก คือ การแลกเปลี่ยนความดึงดูดใจ การมีเจตคติคล้ายกัน การเติมความแตกต่างให้สมบูรณ์ การเปรียบเทียบทางสังคมและการเสริมแรง นอกไปจากข้ออธิบายดังกล่าวแล้ว การเกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ยังมีขั้นตอน ประกอบด้วย การเริ่มความสัมพันธ์ การสร้างความสัมพันธ์ การรักษาความสัมพันธ์ และการจบความสัมพันธ์
ส่วนการติดต่อสื่อสารเป็นกระบวนการที่ผู้ส่งสารส่งสารไปยังผู้รับ โดยมุ่งที่จะให้เกิดผลต่อผู้รับ โดยใช้สัญลักษณ์เช่นกัน ทั้งนี้จุดประสงค์เบื้องต้นของการสื่อสารนั้นเป็นไปเพื่อการสร้างความเข้าใจร่วมกันและตรงกัน จากการวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารปรากฏว่า องค์ประกอบเบื้องต้นของ การติดต่อสื่อสารนั้น ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ และผู้รับสาร และในระหว่างการสื่อสารนั้นอาจมี สิ่งรบกวนปรากฏอยู่ด้วย สำหรับขั้นตอนของการสื่อสารนั้นจะเริ่มจาก การเข้ารหัสสารเพื่อการส่งสารถูกนำไปโดยสื่อ ผู้รับจะถอดรหัสสาร และจะโต้ตอบเพื่อป้อนข้อมูลกลับมายังผู้ส่งอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามในการสื่อสารนั้นบ่อยครั้งจะเกิดปัญหาและอุปสรรค ทั้งนี้สาเหตุหลักมาจาก การรับรู้ของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน แบบของพฤติกรรมของบุคคลแตกต่างกัน และแนวโน้มการรับสารของ แต่ละคนแตกต่างกัน และการแก้ไขปัญหาการสื่อสารกระทำได้โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของ การสื่อสาร ซึ่งทักษะสำคัญที่ควรตระหนัก และฝึกให้เกิด ได้แก่ การฟัง การใช้ภาษาท่าทาง การใช้ภาษาถ้อยคำให้สอดคล้องกับแบบของพฤติกรรมบุคคล การให้และรับข้อติชม
ที่มา https://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Interpersonal.htm


การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ
Business to business networking" 
     หมายถึงวิธีการร่วมมือระหว่างธุรกิจหลาย ๆ แห่ง ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการสร้างความสัมพันธ์ และการทำธุรกิจร่วมกัน ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจในเครือข่ายนั้น สามารถทำงานที่แต่ละคน ทำตามลำพังไม่ได้ โดยที่ธุรกิจเครือข่ายทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เสมือนเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะดำเนินการร่วมกัน เพื่อประโยชน์ร่วมกัน จึงมีความสามารถสูงกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่า ความคล่องตัวสูงกว่า และความคิดริเริ่มดีกว่า ที่ธุรกิจแต่ละแห่งจะทำตามลำพัง ธุรกิจเครือข่าย จะทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถอยู่รอด และ แข่งขันกับธุรกิจระดับโลกได้
การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เป็น "เทคโนโลยี" ทางการจัดองค์กร เพื่อให้ วิสาหกิจขนาดเล็กหลาย ๆ แห่ง รวมตัวเพื่อให้ได้ประโยชน์เท่ากับ วิสาหกิจขนาดใหญ่ ในด้านที่รวมตัวกัน ในขณะที่ยังคงรักษาจุดเด่นของธุรกิจขนาดเล็กไว้ ในด้านที่ได้ได้รวมตัวกันด้วย การจัดองค์กรเช่นนี้ จะต้องออกแบบให้เหมาะกับสภาพในท้องที่ คือสภาพของภาคอุตสาหกรรม economic sectors สภาพของนักธุรกิจ entrepreneurs และ วัฒนธรรมของกลุ่ม business cultures

ขั้นตอนและกระบวนการทางธุรกิจที่เหมาะสมในการสร้างเครือข่าย Value chain possibilities for networking
ขั้นตอนและกระบวนการทางธุรกิจที่เหมาะสมในการสร้างเครือข่าย มีทางเลือกมากมายแล้วแต่ความเหมาะสม เช่น

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วน (Procurement)
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการติดต่อกับแหล่งวัตถุดิบและชิ้นส่วน (Suppliers relations)
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านการวิจัย การออกแบบ และการพัฒนาสินค้าและเทคโนโลยี (Research, Design, and Development of Products and Technology)
การสร้างเครือข่ายกรวางระบบงานด้าน เทคโนโลยีทางการบริหาร (Management Technology)
การวางแผน Planning และ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) ร่วมกัน
การสร้างเครือข่ายการใช้เทคโนโลยีข่าวสารที่ทันสมัยระดับโลก (InFormation Technology) :
Processing Technology เทคโนโลยีการอบแห้ง (Drying Technology) หรือเทคโนโลยีการหีบห่อ (Packaging) ร่วมกัน
การสร้างเครือข่ายระบบงานด้านการบริหาร (Management Systems) ร่วมกัน เช่น ระบบ ISO9000, HACCP และ Energy Saving
การสร้างเครือข่ายการเตรียมบุคลากร และการฝึกอบรม ให้มีทักษะทางการบริหาร และมีเทคโนโลยี ที่เหมาะสม (Training)
การสร้างเครือข่ายข้อมูลการตลาด (Logistics) การคลังสินค้า (Warehousing) และการจำแนก แจกจ่าย (Distribution)
การสร้างเครือข่ายข้อมูลการตลาด (Marketing Intelligence)
การสร้างเครือข่ายการตลาดที่ทันสมัยเพื่อการแข่งขันกับธุรกิจระดับโลก (Marketing)
การสร้างเครือข่าย (Export)
การสร้างเครือข่ายการบริการหลังการขาย (After-sale Service) และการเรียกเก็บเงิน (Collections)
ประโยขน์ของการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

ประโยน์ที่สำคัญคือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่รวมตัวกันเป็นเครือข่าย ทั้งทางด้านอุปกรณ์ทางการผลิต และระบบทางการบริหาร จะสามารถแข่งขันได้เสมือนธุรกิจขนาดใหญ่ โดยยังรักษาความคล่องตัว และความเข้าถึงสภาพในท้องถิ่นได้ดีกว่าธุรกิจขนาดใหญ่

ธุรกิจเครือข่ายสามารถ

- ลดต้นทุน (Cost reduction) และแข่งเบาภาระค่าใช้จ่าย (Share Costs) ทางการบริหารร่วมกัน เช่น ISO 9000 certification
- เข้าถึงเทคโนโลยีที่มีราคาแพงโดยลงทุนร่วมกัน
- แบ่งหน้าที่กัน (Division of Competency) และร่วมกันผลิตสินค้าที่มีความซับซ้อนสูงได้
- แบ่งหน้าที่กัน ตามความชำนาญพิเศษ (Specialization) เจาะตลาดที่ต่างคนต่างถนัด (Niche Market) และเริ่มความคิดสร้างสรรค์ (Innovation) ที่ต่างคนถนัด
- ร่วมกันเจราต่อรอง (Negotiation) เพื่อให้ได้ข้อตกลง และเงื่อนไขที่ดีกว่า (improve&settle transactions)
- ร่วมกันผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบให้ลูกค้ารายใหญ่ และตลาดที่มีขนาดใหญ่ได้
- เรียนรู้เทคนิคการผลิต และการบริหารจากกันและกัน
- ร่วมกัน (Cooperation) เพิ่มส่วนแบ่งตลาด และผลกำไร

ประโยชน์ที่มีต่อธุรกิจเครือข่าย สามารถแข่งเป็นแง่คิด ๓ ประการ คือ การเกิด economies of scope, economies of scale, และ economies of management


 
"economies of scope" หมายถึงการที่ธุรกิจในเครือข่ายจัดระบบขั้นตอน และกระบวนการทำธุรกิจ value chainsใหม่ จนสามารถผลิตสินค้าใหม่ ๆ new product lines ได้ เช่น ธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูป ใน เดนมาร์ค ร่วมเครือข่ายกัน ผลิต สูท เสื้อเชิ้ต เสื้อผ้าถัก และอุปกรณ์ที่มีราคาสูง หรือ ผลิตเครื่องแบบให้กับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ในยุโรป หรือธุรกิจการต่อเรือ ๗ แห่ง ในเดนมาร์ค ที่ต่างมีความชำนาญต่างกัน บางรายสามารถ อิเล็กทรอนิค ร่วมเครือข่ายกัน ติดต่อธนาคาร และ หน่วยงานวิจัย เพื่อผลิตเรือหาปลาที่มีอุปกรณ์ล้ำยุค สำหรับขายในตลาดต่างประเทศ
"economies of scale" หมายถึงกรที่ ธุรกิจในเครือข่าย แบ่งหน้าที่กัน ใช้ความชำนาญพิเศษทำให้ต่างคน สามารถผลิตสินค้าในปริมาณสูง เช่นธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรใน อาเจนติน่า ร่วมเครือข่ายกัน ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร สำหรับใช้ในสภาพดินที่ยากลำบาก ต้องมีการออกแบบทางวิศวกรรมพิเศษ หากต่างคน ทำให้ลดต้นทุนลงได้ และยังส่งออกไปขายที่ประเทศใหญ่ใกล้เคียง คือ บราซิล ได้
"economies of management" หมายถึงการร่วมเครือข่าย เพื่อลดต้นทุน หรือร่วมกันจ่าย ต้นทุนทางการบริหาร ได้แก่ การจ้างหรือซื้อ ระบบการบริหาร ระบบการเงิน และ ระบบการตลาดร่วมกัน เช่น ชมรมธุรกิจเสื้อผ้าแห่งหนึ่งใน อิตาลี มีสมาชิก ๖๐๐ ราย ตั้งอยู่ในพื้นที่การเกษตร ห่างไกลจากเมืองใหญ่ แต่สามารถร่วมกัน ว่าจ้างธุรกิจวิจัยการตลาดระดับโลก เพื่อติดตามวงการแฟชั่นของโลก และร่วมกันเจรจาซื้อผ้า และเครื่องจักรที่ทันสมัยได้

การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ จะสร้างความเปลี่ยนแปลง ทำให้ธุรกิจก้าวไปสู่การบริหารสมัยใหม่

- จากการเป็นธุรกิจลอกเลียนแบบ ไปสู่ธุรกิจที่มีความชำนาญพิเศษ และมีความคิดริเริ่ม
- จากการเป็นธุรกิจที่จ่ายค่าจ้างแรงงานต่ำ ไปสู่ธุรกิจที่มีประสิทธิภาพสูง และคุณภาพสูง
- จากการเป็นธุรกิจที่เน้นเฉพาะการผลิต ไปสู่ธุรกิจที่เน้นการบริการ
- จากการเป็นธุรกิจในครอบครัว ไปสู่ธุรกิจที่บริหารอย่างมืออาชีพ
- จากการเป็นธุรกิจที่ห่างแต่เรื่องรักษาความลับของตน ไปสู่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ที่กว้างขวาง
- จากการเป็นธุรกิจที่อยู่โดดเดี่ยว ไปสู่การร่วมเครือข่ายธุรกิจในเชิงกลยุทธ์ strategic business alliances

กระบวนการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

การสร้างเครือข่ายอาจจะเกิดขึ้นเอง ในสมาคม หรือชมรมทางธุรกิจ ในกรณีของประเทศเดนมาร์ค เกิดจากนโยบายของรัฐบาลที่เข้าแทรกแซงให้เกิดขึ้น ก่อนอื่น มีสิ่งที่ต้องศึกษาและเรียนรู้ เช่น

* Patern of networking/Clustering สภาพการเกิดเครือข่ายตามธรรมชาติ
* Evolution Patterns การวิวัฒนาการของเครือข่าย เหตุผลทางธุรกิจ ที่ทำให้นักธุรกิจเห็นประโยชน์ในการสร้างความชำนาญพิเศษ specialize และเส้นความสามารถพิเศษเฉพาะตัว "core competencies" และการเรียนรู้ที่จะอาศัยธุรกิจอื่นในเครือข่าย เพื่อพึ่งพากันและกัน learn to rely on partners และสามารถทำหน้าที่สร้างเครือข่าย เป็นงานในอาชีพ ในการให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจ
* Nucleus การริเริ่มสร้างเครือข่ายจาก ธุรกิจกลุ่มเล็ก ๆ ที่เป็นแกนกลาง
* Overcoming Distrust การลบล้างความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการมีวิธีที่แยบยลในการขจัดอุปสรรคระหว่าง obstacles
* Motivation การสร้างแรงจูงใจที่ถูกต้อง

ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

* ศึกษาวิจัย รูปแบบการสร้างเครือข่าย และปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ Design & planning
* การจัดแผนแม่บท องค์กร การประชาสัมพันธ์ และโครงการตัวอย่าง Tools for encouraging and assisting networking
* ฝึกอบรมตัวแทนที่จะสร้างเครือข่าย "network brokers"
* จัดองค์กรเครือข่าย ที่มีความเป็นกลาง Organization for neutrality เน้นผลประโยชน์ร่วมกัน mutual benefits เน้นรักษาความลับส่วนตัวหรือ ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ของกิจการ firewall to maintain individual competitive advantages
* เข้าใจจิตวิทยาของนักธุรกิจที่เกี่ยวข้อง know Who's Who; Need; Interest, Limitations
* จัดการประชุม ให้ความรู้ความเข้าใจให้ถ่องแท้ Platform workshop of networking
* จัดอบรมนักธุรกิจในกลุ่ม Training system for clustering

ศ.สุรศักดิ์ นานานุกูล การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ (Business to Business Networking) ทางอยู่รอดของธุรกิจขนาดย่อม
การสร้างความสัมพันธ์ในการทำธุรกิจนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ในการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ ซึ่งการหาเครือข่ายที่ว่านี้ก็ไม่จำเป็นว่า จะต้องเกิดกับลูกค้าของเราเท่านั้น แต่ยังหมายถึงบรรดาเวนเดอร์ ธุรกิจคู่ค้า หรือแม้กระทั่งธุรกิจที่เข้ามาขอความช่วยเหลือกับเรานั้น เราก็สามารถสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับพวกเขาได้ เพราะธุรกิจที่เราได้ทำการผูกมิตรไว้แล้ว ก็สามารถที่จะคอยให้ความช่วยเหลือกับเราได้ในบางโอกาสที่เราต้องการ อีกทั้งยังทำให้เรามีโอกาสได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลายๆ แหล่งที่เราอาจไม่เคยได้รู้มาก่อน ไปจนถึงโอกาสในการร่วมมือกันทางธุรกิจในอนาคตได้อีกด้วย ในเมื่อเรารู้ว่าความสัมพันธ์ทางธุรกิจมีดีอย่างนี้แล้ว คำถามต่อไปคือแล้วเราจะสร้างความสัมพันธ์ที่ว่าได้อย่างไรกันบ้าง?

1. อย่าพลาดโอกาสที่จะขยายวงเครือข่ายทางธุรกิจ

การออกไปพบปะผู้คนจากวงการอื่นๆ ที่หลากหลาย อาจช่วยสร้างแรงบันดาลใจในสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อต่อยอดพัฒนาธุรกิจให้กับเรามากขึ้นก็ได้

แน่นอนว่าเมื่อเราเริ่มต้นทำสักอย่างขึ้นมานั้นเราก็คงอยากที่จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราทำเพียงอย่างเดียวเพื่อให้งานออกมาอย่างสมบูรณ์ แต่บางครั้งนั่นก็เป็นการจำกัดตัวเองให้สนใจแค่สิ่งที่กำลังทำอยู่ ทำให้แทนที่เราจะมีโอกาสได้ทำสิ่งต่างๆ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น กลับต้องจมปลักอยู่กับเพียงสิ่งเดียวที่เราสนใจ ซึ่งเมื่อเปรียบพฤติกรรมนี้กับการหาเครือข่ายทางธุรกิจแล้วก็ถือว่ามีลักษณะที่คล้ายกันมาก เพราะเรามักที่จะสนใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรา หรือเลือกที่จะทำความรู้จักกับผู้คนที่มีความเกี่ยวข้องกับเราเพียงเท่านั้น ทำให้เครือข่ายทางธุรกิจของเรานั้นจะมีแต่คนกลุ่มเดิมๆ และรูปแบบเดิมๆ เพียงเท่านั้น


 
การพยายามฉีกกรอบเดิมๆ ออกไป และลองทำความรู้จักกับผู้คนในวงการอื่นๆ ให้มากขึ้น ทำความเข้าใจว่าพวกเขาทำอะไรบ้าง และรูปแบบธุรกิจนี้สามารถเอื้อประโยชน์ต่อกันและกันได้มากน้อยเพียงใด เพราะในบางครั้งคำตอบของคำถามเหล่านี้ อาจช่วยสร้างแรงบันดาลใจในสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อต่อยอดพัฒนาธุรกิจให้กับเรามากขึ้นก็ได้ เช่น ถึงเราจะเป็นเพียงเจ้าของธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรม แต่การผูกสัมพันธ์กับธุรกิจทางด้านอื่นๆ อย่างสำนักงานทนายความ ก็จะสามารถทำให้เรารู้ข้อกฎหมายบางอย่างที่เราไม่เคยรู้ได้ อีกทั้งด้วยรูปแบบของสำนักงานเหล่านี้จะต้องพบเจอกับธุรกิจหลากหลายประเภท ที่เราสามารถขยายเครือข่ายธุรกิจของเราให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างผ่านทางเครือข่ายเหล่านี้ได้อีกด้วย

ซึ่งในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้น เราอาจยังไม่รู้จักใครมากมาย แต่จำไว้ว่าโอกาสในการทำความรู้จักนั้นมีอยู่ทุกเมื่อ ความพยายามที่จะเข้าหาผู้คนหลายๆ ประเภทเหล่านี้ จะนำพาเราไปรู้จักกับผู้คนอื่นๆ ที่มีความสนใจในด้านต่างๆ มากขึ้น และสิ่งนี้ล่ะที่ทำให้เราได้รับแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการทำธุรกิจอยู่เสมอ

2. อย่าลืมให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์

โอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจนั้นอาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ แม้ว่าในทุกๆ ความสัมพันธ์เหล่านั้นเราอาจมองว่าไม่จำเป็นกับเราเลยก็ตาม แต่ความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถรู้ได้แน่นอนหรอกว่าใครที่จะเป็นมิตรที่คอยให้ความช่วยเหลือกันและกันในอนาคตข้างหน้า ถ้าหากเราไม่เลือกที่จะเริ่มต้นความสัมพันธ์นั้นๆ
ความสัมพันธ์ทางธุรกิจเพียงเพื่อหาผลประโยชน์ หรือคาดหวังผลตอบแทนจากความสัมพันธ์นั้นก็คงไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนนัก

ซึ่งหลายคนนั้นมองว่าหัวใจสำคัญของความสัมพันธ์นั้นคือ การได้รับผลตอบแทนจากความสัมพันธ์ได้คุ้มค่ากับที่เราเป็นฝ่ายให้ไป เพราะนั่นหมายถึงการมีผลประโยชน์ร่วมกันโดยไม่มีใครเป็นฝ่ายได้เปรียบหรือเสียเปรียบ แต่ถึงอย่างนั้นเราต้องยอมรับว่าการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจเพียงเพื่อหาผลประโยชน์ หรือคาดหวังผลตอบแทนจากความสัมพันธ์นั้นก็คงไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนนัก

ดังนั้นการเลือกที่จะเริ่มต้นเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ และให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรายเล็ก หรือรายใหญ่โดยที่ไม่หวังผลประโยชน์เป็นอันดับแรกนั้นถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากในการทำธุรกิจ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนเหล่านี้จะส่งผลมากน้อยเพียงใดในอนาคต ธุรกิจเล็กๆ ที่เราอาจมองข้ามไปนั้นอาจเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเราในยามคับขัน หรืออาจผันตัวมาเป็นหุ้นส่วนกับเราในอนาคตก็เป็นได้

3. สร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับคนหลากหลายประเภท

อย่างที่ได้บอกไว้ในหัวข้อแรกเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจนั้น ควรมีการขยายวงกว้างและสร้างความหลากหลายในเครือข่ายให้ได้มากๆ เพราะการสร้างความสัมพันธ์กับคนหลายๆ ประเภท จะช่วยให้เรามีมุมมองที่กว้างขึ้นจากสิ่งต่างๆ ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการพัฒนาธุรกิจของเราต่อไปได้ในอนาคต และในบางครั้งเรายังสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในธุรกิจของเราได้อีกด้วย

สิ่งที่สำคัญก็คือเมื่อมีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เหล่านี้แล้วนั้น ควรเรียนรู้ให้เร็ว และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เหล่านี้ให้ได้มากที่สุด เพราะความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้ทำธุรกิจเหล่านี้นั้น ถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีที่ไม่อาจหาได้จากที่ไหนได้อีกแล้ว รวมไปถึงข้อมูลข่าวสารจากวงในของแต่ละรูปแบบธุรกิจที่จะช่วยประกอบการตัดสินใจในการลงมือพัฒนาสินค้าได้อีกด้วย

4. ความสัมพันธ์ที่มีเส้นแบ่ง

ระดับความสัมพันธ์เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์ที่เราไม่ควรมองข้าม ในบางครั้งความสัมพันธ์ทางธุรกิจก็นำพาเรื่องยุ่งยากมาให้เสมอ เช่น ในการร่วมมือกันก็อาจมีการผิดใจกัน เนื่องจากความไม่เข้าใจกัน หรือผลประโยชน์ไม่ลงตัว หรือด้วยเหตุใดก็ตาม

ทำให้การกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ไม่ให้มากเกินไปเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งเราสามารถทำได้โดยการที่ ตอนการเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์นั้นเราควรมีข้อกำหนดที่ชัดเจนว่าเรื่องใดที่เราร่วมมือกันได้ และเรื่องใดที่ทั้งสองฝ่ายไม่ควรก้าวก่ายซึ่งกันและกัน ซึ่งระดับของความสัมพันธ์เหล่านี้จะต้องมีความชัดเจนสำหรับทั้งสองฝ่ายเพื่อป้องกันปัญหาจากความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต

• • •

หมดยุคที่เราจะทำธุรกิจแบบต่างคนต่างทำแล้ว การมีเครือข่ายทางธุรกิจยิ่งทำให้ธุรกิจของเรามั่นคง และมีโอกาสในการพัฒนาไปได้ไกลขึ้น โดยหลักการทั้ง 4 ข้อนี้เป็นเพียงพื้นฐานของการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่เราก็สามารถทำได้ง่ายๆ ซึ่งหัวใจสำคัญนั้นก็คืออย่าสร้างความสัมพันธ์เพียงเพื่อหวังผลประโยชน์เท่านั้น การเสียสละถือเป็นหนทางในการสร้างเครือข่ายธุรกิจชั้นดีที่จะทำให้เรามีเครือข่ายธุรกิจที่กว้างขวางมากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องอย่าลืมที่จะกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์อย่างชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียกับธุรกิจในอนาคตอีกด้วย

ที่มาhttps://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Business_Networking.htm

มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ

มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ
ดร. สวัสดิ์ บรรเทิงสุข
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

1. ความหมายขององค์การ(Organizations):

กล่าวโดยทั่วไป องค์การคือกลุ่มของบุคคลที่มีความเกี่ยวพันธ์กันอย่างมีระบบ มีหน้าที่ที่แน่นอน มีจุดหมายที่แน่นอน และตลอดจนมี การกระทำร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้ Hicks กล่าวว่า "องค์การคือโครงสร้างที่จัดทำขึ้นอย่างมีกระบวนการ ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลร่วมกัน ปฏิบัติหรือ กระทำร่วมกัน อันจะนำไปสู่ความสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้" 1 แม้แนวความคิด และความก้าวหน้าทางเทคโนโลย ีจะมีมากขึ้น เป็นลำดับ ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการณ์ต่าง ๆ แต่ลักษณะของ "องค์การ" ก็ยังคงความหมายที่ชัดเจนมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากการที่ Mooney และ Reiley 2 ให้คำจำกัดความของ องค์การไว้ว่า องค์การหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างกันของมนุษย์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้มี การทำงาน จนนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายร่วมกันได้ องค์การจะประกอบไปด้วยหน้าที่ หรือภาระกิจที่สัมพันธ์ และ สอดประสานกัน อย่างแนบแน่น จนมีความเกี่ยวพันธ์กันระหว่างหน้าที่กลุ่มต่าง ๆ ภายในองค์การนั้น ๆ ด้วย
เมื่อองค์การมีความหมายเป็นดังที่กล่าวมาแล้ว จึงมีประเด็นที่สมควรพิจารณาให้ละเอียดไปอีกระดับหนึ่ง คือ

1) องค์การประกอบด้วยบุคคล (Persons)
2) บุคคลในองค์การจะต้องมีความเกี่ยวข้อง และปฎิสัมพันธ์ (Interaction) ต่อกันอย่างมีระเบียบ หรืออย่างมีโครงสร้าง (Organizational Objectives)
3) บุคคลในองค์การต่างก็มีจุดมุ่งหมายทั้งที่เป็นระดับส่วนบุคคล และ ส่วนรวมอยู่ตลอดเวลา (Personal Objectives และ Organizational Objectives)

2. ธรรมชาติขององค์การ:

ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกกำหนดขึ้นตามความหมายขององค์การ ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ย่อมทำให้เกิดสภาวะการณ์ภายในองค์การที่คล้าย ๆ กันประการหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นองค์การใดก็ตาม นั่นคือ ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลภายในองค์การหาได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นจนบรรลุวัตถุประสงค์ง่ายดาย แต่องค์การแทบทุกองค์การจะมีอุปสรรค ความไม่สะดวก ความไม่ราบรื่นอยู่บ้างไม่มากก็น้อย จนแทบจะกลายเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งขององค์การไปเสียแล้ว แต่ ตราบใดที่อุปสรรค และความไม่ราบรื่นเกิดขึ้นเพียงระดับหนึ่งที่พอจะทำให้องค์การสามารถดำเนินไปสู่ จุดหมายปลายทางได้เป็นส่วนใหญ่ได้แล้ว ก็สมควรที่จะกล่าวว่า องค์การนั้น ๆ ยังอยู่ในภาวะปกติวิสัย ในทางตรงกันข้าม หากองค์การใดองค์การหนึ่งเต็มไปด้วยความไม่ราบรื่นนานัปการ จนตกกระทบถึงจุดหมายปลายทางขององค์การเป็นต้นว่า ผลเสียมากกว่าผลดี ในทางคุณภาพ และได้ผลน้อยกว่าที่คาดในทางปริมาณเช่นนี้แล้ว ก็สมควรกล่าวว่า องค์การควรได้รับการปรับปรุงดัดแปลงหรือแก้ไขไม่อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะองค์การเช่นนี้อยู่ในสภาวะปกติ ความนัยที่กล่าวถึง
สาเหตุที่จะทำให้องค์การใดองค์การหนึ่งอยู่ในสภาวะที่ปกติได้อย่างไรหรือไม่นั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการแล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับ บุคลากรในองค์การ กล่าวคือหากปฏิสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์การเป็นไปในรูปแบบหนึ่ง ก็จะเกิดสภาวะหรือผล (Out Put) แบบหนึ่งขึ้นในองค์การนั้น ซึ่งย่อมแตกต่างไป จากสภาวะการณ์ ของในอีกองค์การหนึ่ง ที่ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลกรเป็นไปในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หากปฏิสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การเปลี่ยนแปรก็จะทำให้ผลงานหรือสภาวะการณ์ในองค์การนั้นเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
กล่าวโดยสรุป ปฏิสัมพันธ์ต่อกันของบุคคลในองค์การใด ๆ ย่อมมีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับความสำเร็จขององค์การนั้น ๆ อย่างไม่ต้องสงสัยทีเดียว
ดังนั้น ในขณะที่มีแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการวางแผน และการจัดองค์การให้มีสิทธิภาพ โดยเน้นการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องพิจารณาโดยประณีตนั้น ก็จะต้องพิจารณาถึงประเด็นของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ควบคู่กันไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกประการหนึ่งเป็นสำคัญด้วย ทั้งนี้เพราะทั้งสองสิ่งนี้เป็นเรื่องของบุคคล เป็นเรื่องของความเป็นมนุษย์

3. ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations):

กล่าวโดยทั่วไป มนุษยสัมพันธ์อาจพิจารณาได้ 2 ระดับ คือ
1) ระดับบุคคล : มนุษยสัมพันธ์ หมายถึงความสามารถของบุคคลในอันที่ จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และผู้อื่นก็ไม่มีความทุกข์
2) ระดับบริหาร : มนุษยสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการทำให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาทำงานอย่างเต็มความสามารถ
อย่างไรก็ตาม ถ้านิยามความหมายของมนุษยสัมพันธ์ให้แน่ชัดลงไปก็จะพบว่าผู้ให้นิยามไว้แตกต่างกันอยู่บ้าง
Birtha ได้ให้ทรรศนะของมนุษยสัมพันธ์ว่า " เป็นเรื่องพฤติกรรม ของแต่ละบุคคลกับการปฏิบัต ิของสถาบันที่ก่อให้เกิดผลต่อขอบเขต และความสามารถของ บุคคล ในการที่จะเข้าใจ และได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับตัวเขา และความสามารถของบุคคล ในการที่จะเข้าใจ และได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับตัวเขา และผู้อื่น อีกทั้งสามารถที่จะใช้ความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นไปปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น" 1
พนัส หันนาคินทร์ ให้คำอธิบายว่า "มนุษยสัมพันธ์คือความสามารถที่บุคคลจะถ่ายทอดความรู้สึก หรือความคิดไปยังผู้อื่น และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะเข้าใจความคิด และความรู้สึกของผู้อื่นได้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจในกิจการที่บุคคลทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน" 1 สมควรกล่าวย้ำไว้อีกด้วยว่า ปฏิสัมพันธ์ (Interactions) และมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) นั้นแตกต่างกัน แต่ต่างก็เป็นเรื่องของบุคคล โดยตรง
หากจะมีคำถามว่า ปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่นั้น อาจจะมิใช่ประเด็นหลักหรือคำถามที่สำคัญ แต่เพื่อให้เห็น และเข้าใจความแตกต่างกับป้องกันมิให้มีความเข้าใจว่า ทั้วสองสิ่งนี้คือสิ่งเดียวกัน จึงสมควรที่จะพิจารณาเฉพาะในที่นี้เพื่อสะดวกแก่การอธิบายบางประการโดยอาศัยข้อเปรียบเทียบเพียง 3 ประการ ดังแผนภูมิ

ปฏิสัมพันธ์ ( Interactions ) มนุษยสัมพันธ์ ( Human Relations )
1.เป็นความสัมพันธ์ของบุคคลในวงงาน หรือในองค์การ

2.เป็นการกระทำที่เน้นเอาบทบาท หรือ หน้าที่เป็นแนวทาง

3. มีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และ ชัดเจนเมื่อบทบาทหน้าที่ เปลี่ยนแปลง

1.เป็นความสัมพันธ์ของบุคคลโดยทั่วๆ ไปมิใช่เฉพาะองค์การ
2.เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแห่ง ความเป็น มนุษย์ เป็นพื้นฐาน

3.เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงนิสัย ใจคอ และน้ำใจไมตรี

แผนภูมิ เปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์


1) เงื่อนไขเฉพาะขององค์การ
2) เงื่อนไขทั่วไปขององค์การ
3) ลักษณะการจัดองค์การ (Organizings) การสั่งการ (Directings) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffings) และการควบคุมงาน (Controllings) เป็นต้น
4) ทฤษฎี และแนวความคิดทางการบริหาร (Management Thought) เป็นต้น

4. ความสัมพันธ์ของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ :

เมื่อพิจารณาจากความหมาย และความแตกต่างของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ (Interactions and Human Relations) แล้ว สิ่งที่น่าสนใจที่สุดก็คือ การพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ กล่าวโดยสรุป ทั้งปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ จะมีความใกล้ชิดเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ และเอื้ออำนวยต่อกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพิจารณาปรากฏการณ์ของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย ทั้งสองสิ่งนี้จะต้องประสาน และสอดคล้องกันดุจเหรียญ ซึ่งต้องมีทั้งสองด้าน จะขาดด้านใดด้านหนึ่งเสียมิได้ ฉันใดก็ฉันนั้น กล่าวคือ หากมนุษยสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การเป็นไปด้วยดี ก็จะเป็นสิ่งกระตุ้น และชักนำให้ปฏิสัมพันธ์ในองค์การนั้นดำเนินไปด้วยดี และถ้าหากปฏิสัมพันในองค์การเป็นไปอย่างราบรื่นก็จะเป็นผลให้เกิดมนุษยสัมพันธ์โดยทั่วไปของบุคคลในองค์การนั้น ๆ เป็นไปอย่างแนบแน่นองค์การบรรลุจุดมุ่งหมายได้โดยอัตโนมัติอีกด้วย หรืออีกนัยหนึ่ง หากใช้แผนภูมที่ I เป็นสื่อนำความคิดในที่นี้ก็จะสามารถกล่าวได้ว่า ลักษณะ และรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ในองค์การใด ๆ ย่อมส่งผลต่อลักษณะ และรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ขององค์การนั้น ๆ จนก่อให้เกิดความสำเร็จ หรือความล้มเหลวขององค์การได้ในที่สุด

5. การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ

นับตั้งแต่หน่วยงานเล็ก จนถึงหน่วยงานใหญ่ องค์การระดับเล็กจนถึงระดับใหญ่ ย่อมจะให้ ความสำคัญต่อ มนุษยสัมพันธ์ ในองค์การของตนอยู่เสมอ ปัญหามีอยู่ประการเดียวก็คือ การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ นั้นจะเริ่มต้นขึ้น ได้อย่างไร เพราะเป็นสิ่ง ที่ไม่ง่ายนัก แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ยาก จนไม่อาจกระทำได้
การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ ควรเป็นเรื่องของทางวิชาการแทนการปล่อย ปะละเลยให้เป็นไปโดยธรรมชาติ เป็นเรื่องที่มีแต่ได้กับได้เท่านั้น แต่เนื่องจากผลเสียของการละเลยเรื่องมนุษยสัมพันธ์นี้ไม่ส่งผลชัดเจนขึ้นทันทีทันใด แต่จะค่อย ๆ เสื่อมโทรม และร่วงโรยลงทีละน้อย ๆ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ความเจริญก้าวหน้าทางมนุษยสัมพันธ์ในองค์การเป็นไปอย่างเชื่องช้า เช่นเดียวกับโรคฟัน มักจะปล่อยทิ้งไว้จนถึงระดับหนึ่ง เท่านั้นจึงจะไปรับการรักษาเยียวยาจาก ทันตแพทย์
แท้ที่จริงแล้วการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และสามารถกระทำหรือก่อให้เกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก ทั้งนี้โดยการให้ความรู้ความเข้าใจตลอดจนพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ เช่น

1) การพัฒนาทางด้านความรู้ความเข้าใจในวิชาจิตวิทยา
2) การพัฒนาทางด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
3) การเสริมสร้างลักษณะนิสัย และการฝึกปฏิบัติต่าง ๆ เช่น กระบวนการกลุ่ม และพฤติกรรมสัมพันธ์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามมนุษยสัมพันธ์ในองค์การใด ๆ จะเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างไรหรือไม่นั้น ยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อีกด้วย

6. สรุป
1) บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะกระตุ้น และชี้ให้เห็นความสำคัญของมนุษสัมพันธ์ในองค์การ โดยการยกประเด็น ปฏิสัมพันธ์ (Interactions) ในองค์การมาเป็นเครื่องชี้นำ, เปรียบเทียบ และแสดงความสัมพันธ์ ของปฏิสัมพันธ์กับมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)
2) กรณีการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การนั้น มิได้แสดงเป็นรายละเอียดไว้ เพราะเห็นว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องเฉพาะเจาะจงลงไป จึงแสดงไว้เป็นหัวข้อเท่านั้น
3) ผู้เสนอบทความนี้ มีความเชื่อว่า มนุษย์สัมพันธ์นั้นมีความจำเป็นอย่างมากในทุกองค์การ และประสิทธิภาพของมนุษยสัมพันธ์ จะมีมากเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ อีกด้วย เช่น เงื่อนไขขององค์การ รูปแบบ และทฤษฎีหรือแนวความคิดในการบริหารองค์การ เป็นต้น
ที่มา : https://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Office-Reletionship-1.htm

เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

ดร.เอมอร กฤษณะรังสรรค์
การมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ พัฒนาการทางสังคมและความคิดความเข้าใจของบุคคล พัฒนาขึ้นจากการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ความสำเร็จในอาชีพ การค้นพบความหมายของชีวิตและสุขภาพจิต ล้วนได้รับผลกระทบจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

มนุษย์แต่ละคนถูกหล่อหลอมจากประสบการณ์ให้มีความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยม ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเชื่อม ความสัมพันธ์ระหว่างคน 2 คน จึงต้องอาศัยความเข้าใจถึงปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อสัมพันธภาพที่มีระหว่างกัน เพื่อบุคคลทั้งสองฝ่าย จะได้ประสบความสำเร็จในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

คุณค่าของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

บุคคลเรียนรู้จักตนเองได้จากการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น จากสัมพันธภาพนี้ บุคคลจะได้รู้จุดเด่น และจุดด้อยของตนเอง รู้และเข้าใจถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งเรียนรู้ความเป็นจริงของโลก โดยสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคล จะช่วยให้การเรียนรู้ เป็นไปโดยไม่บิดเบือน มีการยอมรับและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างที่เป็นจริง ดังนั้นสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคล จึงเป็น กุญแจสำคัญที่จะนำบุคคลไปสู่ การพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเอง การมีความรู้สึกว่าชีวิตมีความหมายและมีคุณค่า และการมีสุขภาพจิตที่ดีและสามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ แต่บุคคลที่ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย และนำไปสู่ความรู้สึกซึมเศร้า และท้อแท้ในชีวิต และการมีพฤติกรรม ที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น

การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยคุณลักษณะที่สำคัญของบุคคล ในการยอมรับ และส่งเสริมซึ่งกันและกัน และนอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น อันได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจ

คุณลักษณะสำคัญของบุคคลในการสร้างสัมพันธภาพ (Relationship or Rapport)


 
ความสัมพันธ์ระหว่าง คน 2คน จะเป็นสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ต้องอาศัยคุณลักษณะภายในหรือทัศนคติของบุคคลที่สำคัญบางประการ ได้แก่

1. การยอมรับและให้เกียรติ หมายถึง การยอมรับลักษณะส่วนตัวหรือลักษณะเฉพาะของบุคคลตามที่เขาเป็น ให้เกียรติและเคารพ ในคุณค่าของบุคคล มีความเป็นมิตร และความอบอุ่นใจแก่ผู้อื่น
2. การเข้าใจสาระและความรู้สึก หมายถึง การเข้าใจในเนื้อหาสาระของสิ่งที่สื่อสารระหว่างกัน และเข้าใจใน ความรู้สึกของผู้อื่นเสมือนเรา เป็นตัวเขา ซึ่งในสัมพันธภาพที่ขาดความเข้าใจความรู้สึกซึ่งกันและกัน สัมพันธภาพนั้น ไม่สามารถดำเนินไป ถึงขั้นที่ลึกซึ้งได้
3. การจริงใจ หมายถึง การไม่เสแสร้งในการแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก และทัศนคติของตนเอง

คุณลักษณะของบุคคล 3 ประการนี้ จะส่งผลต่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้มากน้อยเพียงใดนั้น ไม่ใช่เพียงแต่มีคุณลักษณะเช่นนี้ อยู่ภายในเท่านั้น สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความสามารถในการสื่อ หรือแสดงออกถึงคุณลักษณะเหล่านี้ออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ด้วย ซึ่งความสามารถในการแสดงออก หรือการสื่อสารให้ผู้อื่นทราบถึงคุณลักษณะสำคัญเหล่านี้ เรียกว่า ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็น

สัมพันธภาพระหว่างบุคคลเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ บางคู่เกิดขึ้นเป็นแค่เพียงความรู้จัก บางคู่เป็นความสนิทสนม กลายเป็นเพื่อนรัก คู่รัก หรือคู่สมรส บางคู่สัมพันธภาพมีอันต้องสิ้นสุดลง ด้วยความเบื่อหน่ายหรือทุกข์ใจ ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างบุคคล จะเริ่มต้นและดำเนิน ไปอย่างลึกซึ้ง หรือมีอันต้องสิ้นสุดลงนั้น ขึ้นกับทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างกัน

การเริ่มต้นของสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน จนสัมพันธภาพนั้นได้พัฒนาต่อไปเป็นความแน่นแฟ้นลึกซึ้ง และรักษาให้สัมพันธภาพ อันดีนี้ยั่งยืนตลอดไป ไม่ใช่เรื่องง่าย หากแต่จะต้องอาศัยทักษะที่สำคัญหลายประการด้วยกัน ซึ่งทักษะแห่งการสร้าง สัมพันธภาพ ที่ดีต่อกันนี้ มิใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้เอง แต่จะต้องอาศัยการฝึกฝนหรือฝึกหัด ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ทักษะการสร้าง สัมพันธภาพระหว่างบุคคล เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์

มิตรภาพจะก่อเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยเวลา ความพยายาม และทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน


 
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น อาจเป็นไปได้ใน 3 รูปแบบ คือ

รูปแบบที่ 1 เป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุด คือ การรอคอยให้ผู้อื่นก้าวเข้ามาผูกมิตรด้วย
รูปแบบที่ 2 เป็นรูปแบบที่ยากขึ้น คือการขอให้ใครสักคนเป็นเพื่อนด้วย ซึ่งเรามักจะรู้สึกเสี่ยงต่อการถูกปฏิเสธ
รูปแบบที่ 3 เป็นรูปแบบในการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ด้วยการให้มิตรภาพแก่ผู้อื่น ซึ่งความสัมพันธ์ของบุคคลในระยะยาว การสร้างสัมพันธภาพรูปแบบนี้ให้ผลที่แน่นอนที่สุด

ดังที่ David W. Johnson (1997) กล่าวว่า

ถ้าท่านต้องการเพื่อน จงเป็นเพื่อนของผู้อื่น
ถ้าท่านต้องการความห่วงใย จงให้ความห่วงใยแก่ผู้อื่น
ถ้าท่านต้องการคำปลอบโยน จงให้คำปลอบโยนแก่ผู้อื่น

นอกจากนี้เมื่อโอกาสแห่งการสร้างมิตรภาพมาถึง สิ่งที่จะต้องมีอีกประการหนึ่ง คือ ทักษะที่ใช้ในการสร้างและคงไว้ซึ่งมิตรภาพที่ยั่งยืนต่อไป

ทักษะในสร้างสัมพันธภาพ ที่จะกล่าวในที่นี้ ได้แก่ การเปิดเผยตนเองและไว้วางใจซึ่งกัน และการสื่อสารที่เข้าใจตรงกัน ซึ่งประกอบด้วย ทักษะการฟัง ทักษะการทวนเนื้อหา ทักษะการสะท้อนความรู้สึก และทักษะการถาม

การเปิดเผยตนเอง (Self Disclosure)

การเปิดเผยตนเอง หมายถึง การเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ถึงความรู้สึก หรือปฏิกริยาที่ตนเองมีต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การเปิดเผยตนเอง ไม่ได้หมายถึง การบอกถึงประวัติหรือเรื่องราวในอดีตของตนเอง แต่เรื่องราวในอดีตก็อาจจะช่วย ให้บุคคลอื่นเข้าใจ สาเหตุหรือที่มาของความรู้สึกที่เรามีต่อเหตุการณ์นั้นๆ

ประโยชน์ของการเปิดเผยตนเอง
การเปิดเผยตนเองมีผลดีต่อการสร้างและคงไว้ ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างบุคคลหลายประการ คือ

1. ทำให้ผู้อื่นรู้จักเรามากขึ้น เพิ่มโอกาสที่ผู้อื่นจะชอบและเกิดความคุ้นเคยสนิทสนมมากขึ้น
2. ทำให้สามารถทำกิจกรรมที่เป็นเป้าหมายร่วมกัน สนใจร่วมกัน
3. เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของการรับรู้ของตนเองกับผู้อื่น
4. ช่วยในการจัดการกับความเครียดและความทุกข์
5. การเล่าหรือบอกความไม่สบายใจของตนเองกับผู้อื่น จะช่วยให้เจ้าตัวมองเห็นปัญหาของตนเองชัดขึ้นละนอกจากนี้ ความห่วงใย ปลอบโยน ช่วยหาทางออกของเพื่อนจะเป็นกำลังใจ ความอบอุ่นใจ ทำให้สัมพันธภาพของบุคคลทั้งสองเพิ่มความสนิมสนม และลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ความเหมาะสมของการเปิดเผยตนเอง

การเปิดเผยตนเองมากเกินไปหรือน้อยเกินไป มีผลทำให้สูญเสียสัมพันธภาพไปได้เช่นกัน การเปิดเผยตนเองที่มีผล ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี และยั่งยืนนั้น ต้องมีความเหมาะสมของการเปิดเผย ในโอกาสดังนี้

1. เมื่อมีการเปิดเผยตนเองของซึ่งกันและกัน เมื่อบุคคลหนึ่งเปิดเผยตนเอง ก็มีความคาหวังว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะเปิดเผยตนเองด้วย แต่ถ้าการเปิดเผยตนเองเกิดขึ้นฝ่ายเดียว ก็ควรจำกัดการเปิดเผยตนเองไว้ในขอบเขตหนึ่งเท่านั้น
2. การเปิดเผยตนเองควรเป็นเกี่ยวข้องกับเรื่องราวระหว่างบุคคลที่เป็นปัจจุบัน
3. ผลของการเปิดเผยตนเองขึ้นกับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งด้วย การเปิดเผยความรู้สึกของตนเองของฝ่ายหนึ่ง อาจกระทบกระเทือนอีกฝ่ายหนึ่งได้ ดังนั้นจึงควรพิจารณาทัศนคติในมุมมองของอีกฝ่ายหนึ่งที่มีต่อการเปิดเผยตนเองด้วย
4. การเปิดเผยตนเองควรเริ่มต้นจากระดับทั่วๆไปแล้วค่อยๆไปสู่การเปิดเผยตนเองในระดับที่ลึกหรือเป็นส่วนตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น อาจจะเริ่มต้นจากการพูดถึง งานอดิเรก กีฬาที่ชอบ เหตุการณ์ปัจจุบันที่สนใจ แล้วเมื่อมิตรภาพดำเนินไป มีความคุ้นเคยมากขึ้นแล้ว การเปิดเผยตนเองจะค่อยๆไปสู่เรื่องใกล้ตัวและเกี่ยวกับความรู้สึกที่ลึกซึ้งมากขึ้น เช่น การเปิดเผยตนเองเกี่ยวกับความกลัว ความรัก ซึ่งการเปิดเผยในสิ่งเหล่านี้เมื่อสัมพันธภาพมีความใกล้ชิดกันแล้ว ก็จะยิ่งเพิ่มความลึกซึ้งในสัมพันธภาพยิ่งขึ้น

ความไว้วางใจ (Trust) และความน่าไว้วางใจ (Trustworthy)


 
ความไว้วางใจ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลให้งอกงาม วิกฤตการณ์สำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นในสัมพันธภาพ คือ ความไม่สามารถในการไว้วางใจซึ่งกันและกัน ระดับความไว้วางใจเป็น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับ การกระทำของ บุคคลทั้งสองฝ่าย และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ทำลายได้ง่าย

ในสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ความไว้วางใจซึ่งกันและกันมีระดับ ที่เหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์ การไม่ไว้วางใจเลย และไว้วางใจในทุกโอกาส เป็นการไว้วางใจที่ไม่เหมาะสมความไว้วางใจเกิดขึ้น เมื่อบุคคลเต็มใจที่จะเสี่ยงต่อผลที่จะเกิดขึ้น จากการเปิดเผยตนเองเกี่ยวกับ ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติ และปฏิกิริยาที่เขามีต่อเหตุการณ์ต่างๆ

ความน่าไว้วางใจ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อบุคคล ทำให้ผู้อื่นมั่นใจว่าเขาได้รับประโยชน์จากการเสี่ยงเปิดเผยตนเอง บุคคลที่จะได้รับความไว้วางใจ คือ บุคคลที่แสดงออกถึง การยอมรับ การช่วยเหลือสนับสนุน และให้ความร่วมมือกับผู้อื่น

การแสดงออกถึงการยอมรับ จะช่วยให้อีกผู้อื่นลดความรู้สึกกลัวและความกังวลต่อความอ่อนแอของเขาเอง และทำให้กล้าเปิดเผยตนเองมากขึ้น

การสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

ความไว้วางใจ เป็นสิ่งที่ก่อเกิดขึ้นจากลำดับขั้นตอนของการกระทำของทั้งสองฝ่าย ดังนี้

1. เมื่อบุคคลหนึ่งเสี่ยงที่จะเปิดเผยความคิด ความรู้สึก และปฏิกริยาต่ออีกบุคคลหนึ่ง
2. อีกฝ่ายหนึ่งตอบสนองด้วยการยอมรับ การช่วยเหลือสนับสนุน และให้ความร่วมมือต่อผู้ที่เปิดเผย และมีการเปิดเผยตนเองตอบ(ซึ่งกันและกัน )

การทำลายความไว้วางใจ

ความไม่ไว้วางใจ เกิดขึ้นได้ง่าย เพียงแต่บุคคลรู้สึกว่าอีกฝ่ายหนึ่งหลอกลวงแม้แต่เพียงครั้งเดียว ความไว้วางใจต่อกัน ก็จะเปลี่ยนเป็น ความไม่ไว้วางใจ ซึ่งความรู้สึกไม่ไว้วางใจนี้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก เพราะบุคคลจะเกิดการรับรู้ว่า การหลอกลวง อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

พฤติกรรมที่ทำให้ความรู้สึกไว้วางใจลดลง ได้แก่

1. การปฏิเสธ เยาะเย้ย เห็นเป็นเรื่องน่าขำ หรือตลก และไม่ให้เกียรติ เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเปิดเผยตนเอง
2. การไม่เปิดเผยตนเองตอบ เมื่อฝ่ายหนึ่งเปิดเผยตนเอง การที่ฝ่ายหนึ่งเปิดเผยตนเองแต่อีกฝ่ายหนึ่งปิดตนเอง จะทำให้ฝ่ายที่เปิดเผยตนเองเกิดความไม่ไว้วางใจและรู้สึกว่าตนเองเปิดเผยมากเกินไปและไม่มั่นใจที่จะเปิดเผยต่อไป
3. การปฏิเสธที่จะเปิดเผยเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก ของตนเอง เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งแสดงการยอมรับ เต็มใจที่จะช่วยเหลือและร่วมมือ การตอบสนองการยอมรับ ความเต็มใจที่จะช่วยเหลือและร่วมมือของอีกฝ่ายหนึ่งด้วยการปกปิดและระมัดระวังตัวที่จะเปิดเผย จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเชื่อถือและถูกปฏิเสธ

ความเหมาะสมของความไว้วางใจผู้อื่น

คำถามที่มักเกิดขึ้นในสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเสมอ คือ เราสามารถไว้วางใจทุกคนและในทุกสถานการณ์หรือไม่

ความไว้วางใจในผู้อื่นเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมตามบุคคลและสถานการณ์ การไว้วางใจที่ไม่เหมาะสมอาจจะทำให้เกิดผลเสียขึ้นได้ แต่การไม่ไว้วางใจใครเลยก็เป็นความไม่เหมาะสมเช่นกัน

การพิจารณาความเหมาะสมของความไว้วางใจ สามารถพิจารณาได้จาก การเปรียบเทียบความมั่นใจในการเสี่ยงระหว่างการได้รับประโยชน์หรือผลดีจากการไว้วางใจและผลเสียที่อาจเกิดขึ้น

ทักษะการสื่อสารความเข้าใจ

ทักษะการสื่อสารความเข้าใจ หมายถึง ความสามารถในการแสดงออกที่สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องชัดเจน ทำให้เกิดความเข้าใจ ต่อกัน และสานต่อเรื่องราวที่สื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ได้แก่ ทักษะการฟัง การทวนเนื้อความ การสะท้อนความรู้สึก และการถามคำถาม ในขณะเดียวกันผู้รับสารจะรับสารได้ถูกต้องตรงกับที่ผู้ส่งสารเจตนาจะสื่อ ผู้รับสารก็จะต้องคำนึงถึ งปัจจัยบางประการด้วยเช่นกัน

สิ่งที่ผู้รับสารควรพิจารณาในการรับสาร
1. มุมมองของผู้ส่งสาร
2. ความหมายของสารในมุมมองหรือเจตนาของผู้ส่งสาร

ทักษะการฟัง (Listening skill)

การฟังเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างสัมพันะภาพระหว่างบุคคล การที่จะโต้ตอบกับคู่สนทนา หรือผู้ส่งสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงใดนั้น ต้องเริ่มจากการฟังที่มีประสิทธิภาพก่อน

การฟังที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง การฟังที่สามารถเข้าใจถึงสาระสำคัญที่ผู้ส่งสารสื่อออกมาได้


 
สาระสำคัญที่ผู้ส่งสารสื่อออกมา สามารถสื่อได้ 2 ช่องทาง คือ

1. สื่อสารโดยการใช้วาจาหรือถ้อยคำ สารที่สื่อโดยผ่านถ้อยคำส่วนใหญ่จะเป็นสาระที่เป็นเนื้อหา ผู้ฟังจึงควรจับใจความของเนื้อหา ให้ได้ 5 ประเด็นหลัก คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร
2. สื่อสารโดยการผ่านทางน้ำเสียง สีหน้าและท่าทาง สารที่สื่อผ่านน้ำเสียง สีหน้าและท่าทางมักจะเป็น สารที่บ่งบอกถึงความรู้สึกของผู้ส่งสาร เช่น ความจริงจัง ความสนุกสนาน ดีใจ เสียใจ เป็นต้น

การที่จะจับสาระสำคัญจากผู้ส่งสารให้ได้ถูกต้อง จะต้องอาศัยสารที่ได้จากการฟังเนื้อหา และสารที่ได้จากการสังเกตน้ำเสียง สีหน้า และท่าทางประกอบกัน เพื่อจะได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของสารที่ผู้ส่งสารเจตนาจะสื่อ หรือหรือพยายามที่จะหลบซ่อน กลบเลื่อนด้วยการใช้ถ้อยคำที่ไม่ตรงกับใจ แต่มักปิดบังไม่ได้จากสีหน้าและท่าทาง

ดังนั้นทักษะการฟังที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยการใส่ใจ และการสังเกตในขณะเดียวกัน

การใส่ใจ (Attending)

การใส่ใจ หมายถึง การแสดงถึงความสนใจ การให้ความสำคัญ และให้เกียรติต่อคู่สนทนาหรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน

อุปสรรคของการสื่อสารความเข้าใจ

สิ่งที่เป็นอุปสรรคของการสื่อสารความเข้าใจ ที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน หรือเกิดความเข้าใจผิดต่อกันในการสื่อสารที่สำคัญ คือ การมีอคติหรือใช้ทัศนคติ ความเชื่อส่วนตัวเข้าไปตีความสาระสำคัญที่รับรู้จากการฟังหรือการเห็น เพราะอคติและทัศนคติส่วนตัว จะทำให้เกิดการเลือกรับรู้สารเพียงบางส่วน แทนที่จะรับรู้สารทั้งหมด แล้วตีความตามการรับรู้ที่เลือกแล้วของตน

การเลือกรับรู้เป็นอุปสรรคของการฟังและการตอบสนอง

ในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่นั้น มีความซับซ้อนของสารที่สื่อต่อกัน ทั้งที่เป็นสารที่สื่อในรูปของวาจาหรือการใช้ท่าทาง ผู้รับสารจึงมักเลือกรับรู้สารเพียงบางส่วน ของสารทั้งหมดที่ผู้ส่งสารสื่ออกมา ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับรู้ของบุคคล ได้แก่ ความคาดหวัง ความต้องการ ทัศนคติ และความเชื่อของผู้รับสาร ทำให้เกิดการเห็นหรือการได้ยินเป็นไปตามสิ่งที่ผู้รับสารคิดหรือคาดหวัง แทนที่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

การแก้ไขเพื่อลดการเกิดการเลือกรับรู้ในการสื่อสาร สามารถทำได้โดยการเข้าใจมุมมองของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องในการสื่อสารนั้นๆ

การเข้าใจมุมมองของผู้อื่น

ข่าวสารหรือข้อความการสื่อสารเดียวกันอาจจะถูกตีความและเข้าใจแตกต่างกันไปตามมุมมองของผู้รับสาร การเข้าใจผิดต่อกัน ในการสื่อสารจึงมักจะเกิดขึ้น จากการที่ผู้ส่งสารก็มักจะคิดว่า ทุกคนจะมีมุมมองและคิดเข้าใจเช่นเดียวกันกับตน ทั้งที่ในสภาพการณ์ที่เป็นจริงแล้ว สารที่บุคคลแต่ละคนรับไปจะถูกตีความและให้ความหมายแตกต่างกัน ไปตามมุมมองของบุคคลนั้นๆ

ดังนั้นในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึง ผู้สื่อและผู้รับสามารถสื่อและรับสารตรงกันผู้สื่อสารและผู้รับสาร จะต้องคำนึงถึงปัจจัยบางประการ

สิ่งที่ผู้สื่อจึงควรพิจารณาถึงในการส่งสาร

1. มุมมองของผู้รับสาร
2. ข้อมูลพื้นฐานหรือข้อมูลเก่า เกี่ยวกับสิ่งที่จะสื่อที่ผู้รับสารมีอยู่ก่อนแล้ว
3. สิ่งที่ผู้รับสารสนใจและต้องการทราบเกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อ

บุคคลจะรับรู้ความใส่ใจของอีกฝ่ายหนึ่งได้ 2 ทาง คือ

1. ภาษาท่าทาง ได้แก่ การสบตา การพยักหน้า และการโน้มตัวเข้าหาผู้พูดในระยะห่างที่พอเหมาะ
2. ภาษาพูด ได้แก่ การตอบรับ (ค่ะ ครับ) การทวนเนื้อความ การสะท้อนความรู้สึก และการถามคำถาม

การทวนเนื้อความ (Restatement)

การทวนเนื้อความ เป็นการพูดทบทวนในเนื้อหาที่เราฟังจากคู่สนทนา ซึ่งต้องอาศัยความรอบคอบในการพูดทวนเนื้อความให้ถูกต้อง เพื่อเป็นการแสดงให้คู่สนทนารู้ว่า เราสนใจและเข้าใจในสิ่งที่คู่สนทนาพูด และยังเป็นการตรวจสอบความเข้าใจในสิ่งที่สนทนากัน ซึ่งหากมีการเข้าใจผิด การพูดทวนเนื้อความยังเป็นโอกาสของการอธิบายเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง: "เพื่อนๆ ชอบพูดล้อเล่นเรื่องรูปร่างของฉัน ฉันไม่ชอบเลยนะ ที่เอาเรื่องอ้วนๆ ของฉันมาเป็นเรื่องตลก"

การทวนเนื้อความ: "เธอไม่ชอบที่เพื่อนเอาเรื่องรูปร่างของเธอมาล้อเล่น"

การสะท้อนความรู้สึก

การสะท้อนความรู้สึก เป็นการจับความรู้สึกของคู่สนทนาจากการสนทนา ซึ่งอาจเข้าใจได้จากเนื้อหาที่สนทนา และการสังเกตสีหน้า กริยาท่าทาง และน้ำเสียงของคู่สนทนา

การสะท้อนความรู้สึก เป็นการแสดงให้คู่สนทนารู้ว่า เราเข้าใจเขาในความรู้สึกของเขา ซึ่งเป็นความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้งกว่า เนื้อความที่เขาสนทนาโดยตรง

ตัวอย่าง: "ถ้าเพียงแต่แม่บอกตรงๆ ว่า ไม่อยากให้ฉันซื้อของชิ้นนี้ตั้งแต่แรก ฉันก็คงไม่ต้องสู้อุตส่าห์เก็บเงินและตั้งความหวังไว้มากอย่างนี้"

การสะท้อนความรู้สึก: "เธอผิดหวังมาก เมื่อแม่บอกไม่ให้ซื้อ"

การถามคำถาม

การถามคำถาม เป็นทักษะสำคัญที่ช่วยให้คู่สนทนาได้บอกถึงเรื่องราว ความคิด และความรู้สึกต่างๆ

คำถาม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. คำถามปิด เป็นคำถามที่ถามเพื่อให้ผู้ตอบเลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ตอบว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ ตอบว่า ถูก หรือ ผิด มีลักษณะเป็นการซักถามที่ได้คำตอบเพียงสั้นๆ
2. คำถามเปิด เป็นคำถามที่ไม่ได้กำหนดขอบเขตของการตอบ ผู้ตอบมีโอกาสพูดถึงความคิด ความรู้สึกและสิ่งต่างๆตามความต้องการของตน ซึ่งผู้พูดจะพูดได้เต็มที่และสะดวกใจ เช่นคำถามอะไร และอย่างไร

ในการสนทนาที่เปิดโอกาสให้ผู้พูดได้เปิดเผยในสิ่งที่เต็มใจและต้องการจะเปิดเผย และไม่เปิดเผยในสิ่งที่ไม่พร้อมที่จะเปิดเผยนั้น การใช้คำถามเปิดจึงเหมาะสมกว่าการใช้คำถามปิด ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้ผู้ตอบรู้สึกเหมือนถูกซักไซ้ และบังคับให้ตอบ ในสิ่งที่ไม่อยากพูดถึงได้

ตัวอย่าง: คำถามปิด- คุณคิดว่า สมพลเป็นคนไม่จริงใจใช่ไหม
คำถามเปิด- คุณคิดอย่างไรกับการกระทำของสมพล

สรุป

การมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ พัฒนาทางการสังคมและความคิดความเข้าใจของบุคคล พัฒนาขึ้นจาก การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ความสำเร็จในอาชีพ การค้นพบความหมายของชีวิต สุขภาพทางกาย และ สุขภาพจิต ล้วนได้รับผลกระทบจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล บุคคลที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะรู้สึกว่าชีวิตมีค่า มีความหมาย และสามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ แต่บุคคลที่ไม่สามารถมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกว่า ชีวิตอ้างว้างโดดเดี่ยว ไร้ความหมาย และนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น

การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารความเข้าใจ การยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน

การเปิดเผบตนเอง และการไว้วางใจซี่งกันและกันที่เหมาะสม เป็นทักษะที่ทำให้การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ได้เริ่มต้นขึ้นและ มีการดำเนินต่อไป การเปิดเผยตนเองและการไว้วางใจซึ่งกันและกันที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสัมพันธภาพได้

การสื่อสารความเข้าใจ เป็นทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจต่อกันของบุคคล ได้แก่ การฟัง การถาม การทวนเนื้อความ และการสะท้อนความรู้สึก

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล จะช่วยให้สัมพันธภาพได้มีโอกาสเริ่มต้นขึ้นและดำเนินต่อไป เป็น สัมพันธภาพ ที่แน่นแฟ้นลึกซึ้งยิ่งขึ้น และคงไว้ซึ่งสัมพันะภาพที่ดีต่อกันได้ ด้วยบรรยากาศของความเชื่อใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจต่อกัน

Thaibusiness ขอบคุณข้อมูล:
จีน แบรี่. คู่มือการฝึกทักษะให้การปรึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2538.

Carkhuff, Robert r., et al. The Art of Helping. Second ed. Massachusetts :Human Resource 
Development Press, 1978.

Dillon, J.T. The Practice of Questioning. London: Routledge,1990.

Gamble, Teri Kwal and Gamble, Michael. Communication Work. Third ed.
New York: McGraw-Hill, Inc.,1990.

Johnson, David W. Reaching Out : Interpersonal Effectiveness and Self-Actualization.
Sixth ed. Boston: Allyn and Bacon, 1997.
 ดร.เอมอร กฤษณะรังสรรค์

พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour)

พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour ) พฤติกรรม หมายถึง กิริยาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์หรือที่มนุษย์ได้แสดง หรือปฏิกิริยาที่เกิ...