วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

The Intelligent Investor :หนังสือที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของวอเร็น บัฟเฟตต์

The Intelligent Investor :หนังสือที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของวอเร็น บัฟเฟตต์

     วอเร็นสมัครและเข้าเรียนระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียแต่ต่อมาได้ย้ายไปเรียนและจบระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเบราสก้า ใน 1950 ในขณะที่เรียนในปีสุดท้าย เขาได้อ่านหนังสือ "The Intelligent Investor" ของเบนจามิน เกรแฮม หนังสือเล่มนี้ได้
จุดประกายหรือเป็นจุดเริ่มต้นของปรัชญาการลงทุนที่เรียกว่า
 "การลงทุนแบบเน้นคุณ" 

ที่มีแนวคิดที่สำคัญ คือ การลงทุนจะดีที่สุดเมื่อผู้ซื้อรู้จักธุรกิจมากที่สุด และลงทุนโดยปราศจากอารมณ์ ความกลัว หรือวิ่งตามแนวโน้มหรือความนิยมชั่วครั้งชั่วคราว

    ตอนอายุ 19 ปี วอเร็นมีความมั่งคั่งของตนเอง 9,800 ดอลลาร์ เขาสมัครเรียนปริญญาโทด้านศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ได้รับการปฏิเสธ แต่นั่นกลับเป็นสิ่งดี เพราะเขาได้ตามหาเบนจามิน เกรแฮม และพบว่าเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียเขาได้สมัครและได้รับการตอบรับ ที่นี่เขาได้ความรู้จากนักการเงินที่มีชื่อเสียง รวมทั้ง เดวิด ดอดจ์ ผู้เขียนหนังสือ"Security Analysis" ร่วมกับเบนจามิน เกรแฮม

     ระหว่างเรียน ในตอนที่เขาอายุ 21 ปี เขาทราบว่า เบนจามิน เกรแฮม เป็นประธานกรรมการบริษัทประกันภัยรถยนต์ "EICO" เขาอาสาเข้าไปช่วยงานในวันหยุด และได้เรียนรู้หลักการวิเคราะห์ธุรกิจประกันภัยรถยนต์ ซึ่งทำให้เขาได้พื้นฐานการหามูลค่าที่แท้จริงผ่านการวิเคราะห์ธุรกิจในแง่มุมต่างๆ ระหว่างนี้เขายังได้เขียนงานวิจัยซื่อ "The Security & Like Best" ลงใน The Commercial
and Financial Chronicle โดยใช้ข้อมูลหุ้น GEICO นั้นเอง

หลังจบการศึกษาใน 1951 เขาอยากทำงานที่ตลาดหุ้นในวอลล์สตรีทแต่บิดาและ
เบนจมิน เกรแฮม ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ เบนจามิน เกรแฮมยังปฏิเสธที่จะรับเขา
เข้าทำงานด้านวิเคราะห์หุ้นในบริษัทของเขา ทั้งที่วอเร็นเป็นลูกศิษย์ที่ได้เกรด A: ดนเดียวในวิชาวิเคราะห์หลักทรัพย์และเสนอตัวไม่รับเงินเดือนด้วย วอเร็นจึงต้องกลับบ้านที่รัฐโอมาฮา

ขอบคุณที่มา : 
หนังสือตามรอยวิถีเซียนลงทุน

10 กฏเหล็กสู่ความสำเร็จ


10 กฎเหล็กสู่ความสำเร็จ

 
หลายต่อหลายคนที่ต้องการและแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ หลายคนที่ล้ม หลายคนที่พลาด คนที่แข็งแรงคือคนที่สามารถยืนอยู่และแข่งขัน ในเกม ได้ต่อไป แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ล้มจะเป็นผู้แพ้ตลอดไป ยังสามารถที่จะกลับเข้ามาเป็นผู้ชนะได้ 10กฎเหล็กสู่ความสำเร็จ คือคำตอบของผู้ชนะ

 

กฎข้อที่1 จงเชื่อมั่นในธุรกิจของตัวเอง และเชื่อให้มากกว่าใครทั้งหมด ว่ามันต้องสำเร็จ อุปสรรค์ทุกอย่างสามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยความมุ่งมั่น
และพยายามให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

กฎข้อที่2 แบ่งผลกำไรให้กับผู้มีส่วนร่วมในบริษัทฯของคุณทุกคน แล้วทั้ง 2 ฝ่ายจะกลายเป็นพันธมิตรกันโดยสัญชาติญาณรักษา ความเป็นองค์กรไว้ และรู้จักใช้อำนาจให้เป็น

 

กฎข้อที่3 วิธีจูงใจพนักงาน คิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ ที่น่าสนใจในทุกๆวัน เพื่อท้าทายพนักงาน ตั้งเป้าหมายของบริษัทฯให้สูงเข้าไว้ จูงใจให้เกิดการแข่งขัน แล้วรักษาระดับนั้นไว้ให้ได้ จากนั้นก็ต้องให้รางวัลตอนแทนที่สมน้ำสมเนื้อด้วย

 

กฎข้อที่4 สื่อสารทุกอย่างให้พนักงานรู้เท่าที่จะทำได้ เพราะยิ่งพวกเขารู้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะเข้าใจและห่วงใยองค์กรมากขึ้น และเป็นการสร้างความเคารพในตัวของเขาว่าคุณให้ความไว้วางใจ


 
 

กฎข้อที่5 ตอบแทนพนักงานเมื่อเขาทำดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามที่ เขาทำให้องค์กร การให้รางวัลเป็นตัวเงินหรือเป็นส่วนแบ่งจากบริษัทฯนั้น ช่วยเสริมให้เกิดความจงรักภักดีได้อย่างหนึ่ง แต่เราทุกคนล้วนต้องการได้รับคำชมจากสิ่งที่เราได้ทำลงไป บางครั้งการได้รับคำยกย่องชมเชยจากเจ้านายที่ถูกเวลานั้นคุ้มค่ากว่าเงินทองเสียอีก

 

กฎข้อที่6 ชื่นชมความสำเร็จของตนเอง มองความผิดพลาดให้เป็นเรื่องตลก อย่าให้ตัวเองเครียดจนเกินไป ให้ปล่อยวางแล้วทุกคนรอบข้างจะปล่อยวาง เช่นเดียวกับเรา ทำชีวิตให้สนุกและกระตือรือร้นอยู่เสมอ

 

กฎข้อที่7 รับฟังความคิดเห็นของทุกคน และหาวิธีให้ลูกน้องเปิดใจพูดในสิ่งที่คิด ยิ่งพนักงานที่ต้องพบปะรับมือกับลูกค้าเป็นกลุ่มที่รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น พยายามให้เขาเล่าส่งที่เกิดขึ้น เมื่อฟังแล้วต้องสนับสนุนให้เกิดความรับผิดชอบ ต่อองค์กรมากขึ้น และผลักดันให้เกิดความคิดดีๆเพิ่มขึ้นด้วย

 

กฎข้อที่8 จงทำให้เกินความคาดหวังของลูกค้า ถ้าทำได้พวกเขาจะกลับมาหาเราเรื่อยๆ แสดงให้ลูกค้ารู้ว่าใส่ใจเขาอยู่เสมอ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดจงอย่าแก้ตัว แต่ขอโทษและยอมรับในสิ่งที่ทำทุกอย่าง

 

กฎข้อที่9 ควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดีกว่าคู่แข่ง แต่ไม่ใช่ประหยัดในสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในองค์กร

 

กฎข้อที่10 จงว่ายทวนน้ำ เดินทวนกระแส ยึดกับสิ่งที่เป็นรูปแบบเดิมๆเป็นโอกาสที่ดีของคุณที่จะหาตลาดเฉพาะของตัวเอง โดยมุ่งไปในทางตรงกันข้ามกับคนอื่นอย่างสิ้นเชิง แต่ต้องเตรียมรับมือกับกับกระแสที่เข้ามาขวางให้ไขว่เขว

#ASAWINLHAOSRI
27-07-2020

ขอบคุณที่มา:
By : M.L.Chaivat Jayankura From : http://www.ce-radio.com/view.php?topic=60 >



การคัทลอสแบบเซียนเต่า

ตอนที่ 1 การคัทลอสแบบเซียนเต่า

ถึงแม้ว่าอาจจะเป็นวิธีการเล่นหุ้นที่มีนาน
มาแล้วแต่คิดว่ายังมีอีกหลายคนที่ไม่เคยรู้ว่ามีไอเดียแบบนี้อยู่ โดยปกติแล้วเรา
มักจะรุ้จักแต่การกำหนด Cut loss โดยอิงกับราคาที่เราคิดว่าหุ้นมันไปผิดทางแล้ว 
แล้วน แล้วนำมาคำนวนsizeของจำนวนเงิน
และจำนวนหุ้นที่จะซื้อเช่น 

กำหนด Portfolio Risk ไว้ที่2% 
ถ้าพอร์ท 1ล้านบาทเท่ากับว่าคุณยอมเสียตังค์แต่ละเทรดเป็นเงิน2หมื่นบาท 

เอาล่ะทีนี้ราคาหุ้นที่คุณจะซื้อคือ10 บาท
จุดหักกลับที่คุณคิดว่าหุ้นไปผิดทาง
คือหรือcut loss 9 บาท

นั่นก็คือ ถ้าคุณนำเอาเงิน 20,000 บาท มาเทียบว่ามีค่าเท่ากับส่วนต่าง 1 บาท ของ
ราคาหุ้น เราซื้อหุ้นที่ราคา 10 บาทจะเป็น
เงิน200,000 นั่นเอง ( ไม่รวมคอมมิสชั่น )

ถ้ายัง งงๆ นะครับ
Portfolio Risk = 1,000,000 * 2% = 20,000 บาท

หา Size ของจำนวนเงินที่จะเทรดได้โดย

1. หาจุด Cut loss ก่อน เช่นซื้อ10 บาท ขาย 9 บาท ส่วนต่าง = 1 บาท

2. นำส่วนต่าง1บาทมาเทียบกับ
 Port risk = 20,000

3. เมื่อ20,000/1 บาท ถ้าหุ้นราคา 10 บาทต้องใช้เงิน = 200,000 บาท

4. พูดเป็นสมการง่ายๆคือ Port risk/ส่วนต่าง * ราคาหุ้น นั่นเองครับ ทีนี้เราก็หาจำนวนเงินที่จะซื้อได้ง่ายๆแล้วนะครับ

5. จริงๆ สูตรสมการนี้จะง่ายกว่าเดิมอีก เอาแบบลัดไปอีก เอาเป็นหาจำนวนหุ้นที่จะซื้อเลย ก็แค่นำ Port risk/ส่วนต่าง = จำนวนหุ้นที่จะซื้อแล้วครับ

นี่คือวิธีการคำนวนเงินในพอรท์ที่เราจะนำมาซื้อโดยทั่วไปแต่ เหล่า “เซียนเต่า
” Turtle trader มีวิธีการที่ต่างไป 

คือคิดตามค่า N หรือ Average True Range ของหุ้นเป็นยังไงลองอ่านดูครับ 

( สำาหรับคนที่หัวช้าในการคำนวนผมหา
โปรแกรมมาช่วยแล้วนะครับ 
ใช้ง่ายดีครับ “ฟันธง” !! )
ผมจะนำมานำเสนอในโพสต์ถัดไป  และจะเริ่มทำแบบนี้คือเอาเทคนิคสูตรต่างๆมาแชร์ตลอดครับ  


ตอนที่ 2
Position Sizing
“นักเล่นหุ้นแบบ Turtle trader ใช้ค่าความผันผวนของตลาดมาเป็นตรรกะในการหา Position size”

การกำหนดขนาดของ position นั้นเป็นสิ่งที่
สำคัญที่สุด แต่กลับกลายเป็นสิ่งที่มีคนเข้าใจน้อยที่สุดในการเล่นหุ้น Turtle trader นั้นใช้กระบวนการคิดหา Posiotion Size ที่ต่างไป
จากนักเล่นหุ้นในยุคนั้นเป็นอย่างมาก

 เนื่องจากพวกเขานำค่าความผันพวนมา
คำนวน นั่นหมายความว่า Positionของเราจะมีค่าตามความผันผวนของตลาดนั่นเอง

อีกนัยหนึ่งก็คือหากตลาดมีค่าของความผันพวนสูงจะทำให้Position Sizeของเรามีขนาดเล็กลงกว่าการเล่นหุ้นในตลาดที่มีความผันผวนน้อยกว่า

ค่าความผันผวนนี้มีความสำคัญมากที่จะนำมาใช้เนื่องจากมันจะทำให้เรา มีโอกาศได้เงินและเสียเงินจำนวนพอๆกัน 

แม้ว่าหุ้นเหล่านั้นจะเคลื่อนใหวแรงหรือช้าต่างกัน นั่นทำให้เราสามารถควบคุมความเสี่ยงจากการเล่นหุ้นที่ต่างตัวกันไป หรือต่างตลาดกันไป

ถึงแม้ว่าความผันผวนของการเคลื่อนไหวของหุ้นที่เรามีนั้นจะน้อยกว่าหุ้นตัวอื่นที่เรามี แต่ผลที่ได้รับออกมาจะไม่แตกต่างกัน

เนื่องจากเราจะมีหุ้นที่มีค่าความผันผวนต่างอยู่มากกว่าหุ้นที่มีความผันผวนสูงนั่นเอง

Volatility and Meaning of N
ค่าความผันผวนและความหมายของ N
Turtle trader นำคอนเซปท์ที่ได้รับจาก Richard Dennisและ Bill Eckhardt มาใช้ 

คอนเซปท์นี่ถูกเรียกง่ายๆว่า 
N ซึ่งหมายถึงค่าความผันผวนของตลาด
( พูดง่ายๆคือการนำค่า N มาใช้ในการ cut loss นั่นเองครับ )

N คือค่า 20 days Moving average คำนวนแบบ Simple ของค่า True range ( ค่าสมบูรณ์ของการเคลื่อนไหว) ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า ATR( Average true range )
 
ค่า N นั้นแสดงถึงค่า ATR ในตลาดหรือหุ้นต่างๆในช่วงเวลานั้นๆ

ตอนที่3
สูตรการหา ATR คือ
True range = Maximum(H-L,H-PDC,PDC-L)

โดย
H = Highจุดสูงสุดของวัน
L = Low จุดต ่าสุดของวัน
PDC = Previous day’s closeราคาปิ ดเมื่อวันก่อน
_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ 
การหาค่าของ N คือ
N = (19 * PDN + TR)/20
โดย
PDN = Previous day’s N ค่าN ของวันก่อน
TR = True range ค่าระยะความผันผวนสมบูรณ์( ค่าจะเป็นค่าเลขจำนวนซ้ำสมบูรณ์ ไม่มีค่าติดลบ )

สังเกตุว่าการหาค่า N นั้นต้องนำค่า N ของวันก่อนมาใช้ด้วย ค่าที่นำมาใช้ของ N ในการหา Position Size คือ 20 days 
Moving average แบบsimple ของ 
True range ( ใครอยากลองทำไม่ต้องคิดให้ปวดหัวนะครับในโปรแกรม Metastock มี indicator : ATR ให้อยู่แล้วลองไปหาดูแล้วกำหนดเป็น 20วัน )
แนวคิดพื้นฐานในการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค ของ Turtle trader นั้นอยู่บนหลักการ Peak and Through Dollar Volatility adjust (การปรับแต่งค่าความผันผวนเป็น
จำนวนเงิน)

ขั้นแรกเราในการหา Position Size นั้นเราต้องปรับแต่งให้ค่า N นี้กลายเป็นจำนวนของเงินขึ้นมาก่อน

( ในกรณีที่เล่น คอมโมดิตี้  หรือ ฟิวเจอร์ต่างๆ นะครับเนื่องจาก 1 จุดจะไม่เท่ากับ 1 บาทเหมือนการเล่นหุ้น ) หาได้โดยการ
คำนวน Dollar Volatility = N * Dollar Per Unit

เช่น ง่ายๆนะครับ1จุดมีค่า1000เหรียญ ถ้า N ที่ได้จากค่าความผันผวนคือ10จุด นั่นคือค่าความผันผวนทั้งหมด
คิดเป็น10000เหรียญครับ 

นี่คือราคาที่เราต้องจ่ายต่อ10จุดหรือ1N นั่นเองแต่หากเราเล่นหุ้นก็ไม่ยุ่งยากอะไรครับ ง่ายๆก็คือ

เช่น ราคาหุ้น 10 บาท เถ้าราได้ค่า N 
ที่ 1 บาทเราก็ไม่ต้องแปลงเพิ่มเติมอะไรครับ มันก็คือการหาจุด cut loss จาก
Volatility นั่นเองและนั่นคือ ค่าความผันผวนสูงสุดที่ยอมได้และหากหุ้นเคลื่อนไหวผิดจากที่คิดถึงจุดนี้ต้องขายทิ้งครับ


ตอนที่ 4

Volatility adjust position unit ( การนำมูลค่าที่ได้จากการผันผวนมาหาขนาดของ Position )

ง่ายๆอีกเช่นเคย 
สูตรคือ Unit Size (= 2% * Portfolio Value) / N * Dollar per point

ในกรณีนี้ถ้าเล่นหุ้นก็ เอาค่า N มาคิดได้เลยนะครับ เช่น portfolio เรามีเงิน 1,000,000 บาท 2% คือ20,000 นี่คือเงินที่เรายอมเสียในแต่ละครั้งเอามาหารด้วย
 N ( นำN มาเป็นจุด Stop loss ) เช่นหุ้นที่เราต้องการซื้อคือ10 บาทและ N คือ1 บาทเราจะ Cut loss ที่9 บาทนั่นเองครับ
 ทีนี้ เอา20,000 มาหารด้วย N=1
จะได้จำนวนหุ้นครับ กี่ unit ก็ว่า
ไปในที่นี้  ได้20,000 หุ้น จะต้องใช้เงินทั้งหมด 10บาท 
*20,000หุ้น = 200,000 บาท
มึนกันรึปล่าวครับ สรุปง่ายสำหรับวันนี้
ให้ก่อนนะครับ พวกเซียนหุ้น Turtle trader เนี่ยเค้ามีวิธีการหา Position size
      จากจุด Cut loss ที่ต่างไปกับเราๆครับ เช่นเราอาจจะกำหนดจุดขาย cut lossตามการหลุด trend line แล้วนำมาหา Position 
Size ในการเทรด

     แต่พวก “เซียนเต่า” Turtle trader จะใช้ ค่าเบี่ยงเบน Volatility มาใช้แทนครับ ซึ่งวิธีการเล่นหุ้นแบบนี้จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจาก “อุบัติเหตุ”ที่ไม่คาดคิด 

หรือที่เรียกว่า Price shock ได้ดีกว่าครับ
The importance of Position Sizing ( ความสำคัญของการหาPosition Size )
การกระจายความเสี่ยงนั้นมีความสำคัญเพื่อที่จะกระจายการลงทุนไปยังหุ้นต่างๆ เพื่อจำกัดความเสี่ยงของ Port และเพิ่ม
โอกาศที่จะเล่นหุ้นถูกตัวให้มากขึ้นด้วยครับ 

โดยในการนี้เมื่อเราใช้วิธีนี้แล้วจะทำให้เราสามารถจัดการRisk/Rewardในหุ้นแต่ละตัวได้อย่างเท่าๆกันด้วย

ระบบTurtle Trading System จะใช้ค่า “ความผันผวน หรือ Volatility” ในการประเมิณความเสี่ยงในการลงทุนแทนที่วิธี
ธรรมดา 

(อ่านบทที่ 2 ต่อ) เพื่อที่จะทำให้ความเสี่ยงในแต่ละการลงทุนที่ถืออยู่สามารถประเมินได้อย่างเท่าๆกันๆ และการทำเช่นนี้สามารถช่วยให้เกดิความน่าจะเป็นี่จะเพิ่มปริมาณการเทรด ที่ถูกต้องได้มากกว่ากว่าเทรดที่
ผิดพลาดครับ

#THAIBUSINESS 
27-07-2020

พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour)

พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour ) พฤติกรรม หมายถึง กิริยาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์หรือที่มนุษย์ได้แสดง หรือปฏิกิริยาที่เกิ...