วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ทฤษฎียู

ทฤษฎี U
โดย : นพ. วิธาน ฐานะวุฑฒ์ เรียบเรียง : วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ

ใน วงจิตวิวัฒน์ที่ตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2546 พวกเราสนใจศึกษากันในเรื่องกระบวนการคิดและิวิธีคิด หนึ่งในสมาชิกของเรา คือ คุณ เดวิด สปินแลน ได้นำทฤษฎียูจากหนังสือ Presence : An Explorations of Profound Change in People , Organizations and Society มาพูดถึงตั้งแต่ประมาณ 3 - 4 ปีก่อน หนังสือเล่มนี้ มีคนเขียนด้วยกัน 4 คน Otto Shcharmer , Peter M. Senge , Joshep Jaworski , Betty Sue Flowers



ทฤษฎี ยู มีหลักการอยู่ว่า ในกระบวนการคิดของคนเรา ส่วนใหญ่คิดเร็ว ตัดสินเร็ว เพราะทุกคนต้องการความรวดเร็วในการคิด และมีปฎิกิริยาตอบสนองให้รวดเร็วที่สุด เปรียบเหมือนลาดเส้นจากจุด A ไปยัง จุด B ระยะทางที่เร็วที่สุดและสั้นที่สุดคือการลากเส้นตรงระหว่าง 2 จุด แต่ทฤษฎียูเสนอว่า ความคิดของเรา ควรเดินทางให้มากขึ้น จึงยึดเส้นตรงนี้ลงมา จนกลายเป็นเส้นโค้งตัวยูในที่สุด เพื่อให้เกิดทางเลือก คำตอบ และความเป็นไปได้อื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นกว่าการคิดแบบเดิม

เส้นตรงจาก A ไป B คือ นิสัย บุคลิกภาพ และพฤติกรรมส่นใหญ่ในชีวิตประจำวันของเรา ตามปกติแล้วมีประโยชน์ เพราะช่วยให้เราดำรงชีวิตประจำวันไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าเราต้องการคำตอบ ทางเลือก และความเป็นไปได้อื่น ๆ หรือทำความเข้าใจอะไรที่ลึกซึ้งขึ้น เราต้องเลือกเส้นทางใหม่ในการเดิน

ผม เชื่อว่า ทฤษฎี คือส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสิ่งที่ผมพยายามค้นหามาตลอด คือเรื่องสุขภาพแบบองค์รวมการพยายามเปลี่ยนแนวคิดเรื่องผู้รักษาไปสู่การ เป็นผู้เยียวยา หรือ From Curer to Healer ในทุกวันนี้ ผมนำทฤษฎีไปเป็นกรอบในการจัดสัมมนาให้กับแพทย์และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข เป็นประจำ
ทฤษฎียู สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ดีกับงานด้านสาธารณสุข จากเดิมแพทย์เพียงแค่รักษาโรค และคนไข้มาหาหมอเพราะต้องการให้หาย ซึ่งนั่นคือการคิดแบบลากเส้นตรงระหว่างจุด A และ B แต่เนื่องจากการรักษาโรคไม่หายขาด ระบบสาธารณสุขของไทย ทั้งหมอ คนไข้และเจ้าหน้าที่ทุกคน ต้องการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมที่ลึกซึ้งมากขึ้น

กรณี ตัวอย่างของทฤษฎียูที่ผมชอบนำมากล่าวถึงมากที่สุด คือ กรณีของยายโต้ง ที่จ.เชียงใหม่ พยาบาลท่านหนึ่งซึ่งมาเข้าร่วม Workshop กับผมได้นำมาเล่าให้ฟัง

"ยายโต้งท่านอายุมากแล้ว และเป็นสารพัดโรค เบาหวาน ความดัน อ้วน จิตใจซึมเศร้าเพราะสามีเสียไปแล้ว ชีวิตไม่มีความหมาย อยู่ไปวัน ๆ ผมเผ้ารุงรัง ไม่ดูแลตัวเอง เวลามาหาหมอ ตอนบอกอาการให้หมอฟัง ก็น้ำตาไหลเหมือนหัวใจจะฉีกออก แล้วท่านก็ชอบมาเข้ากลุ่มอบรมสุขภาพเป็นประจำ กลุ่มเบาหวาน กลุ่มความดัน กลุ่มโรคอ้วน ท่านบอกว่า มาเพราะเอ็นดูหมอ มาช่วยนั่งให้น้องประชุมดูเต็ม ๆ กลัวหมอไม่มีคนฟัง

เมื่อพยาบาลลองใช้ ทฤษฎียู โดยการฟังให้มากขึ้น จดอาการให้ตามที่คุณยายเล่า รับฟังเรื่องราวต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง และเริ่ม Sensing กับชีวิตของคุณยาย สักพักหนึ่งน้ำตาพยาบาลหยดแหมะลงมา

คุณรู้ไหมการรักษาครั้งนี้ ได้ช่วยทั้งคุณยายและทั้งคุณพยาบาล บังเอิญว่า พยาบาลท่านนี้กำลังจะเลิกกับสามี แต่เมื่อฟังชีวิตคุณยาย ก็เกิดมุมมองใหม่ต่อสามีตนเอง

วันรุ่งขึ้น ยายโต้งพบว่า ทำไมเช้าวันนี้ทุกอย่างดูสวยงาม ยายเกิดการปิ๊งเแวบขึ้นมา ว่าชีวิตยังมีความหมายกับหลานตัวเล็ก ๆ เกิดภาพหลานขึ้นมาในใจ "ยาย ..ยาย อย่าเพิ่งตายนะ" ยายโต้งเพิ่งรู้ว่า ชีวิตของตนเองมีค่า หลังจากวันนั้น ยายโต้งก็อาการดีขึ้น วิ่งออกกำลังกายเอง เปลี่ยนแปลงตัวเอง ใช้ยาน้อยลง มาหาหมอน้อยลง

นี่ไม่ใช่หรือ ? นี่สุขภาพองค์รวมที่เรากำลังสนใจกัน

คำ ถามหนึ่งซึ่งผมได้ยินจากทุกงานที่ไปบรรยาย คือ "ไม่มีเวลาหรอกครับ อาจารย์ วันหนึ่ง ๆ มีคนไข้เป็นร้อย แค่ตรวจตามปกติก็ไม่ทันแล้ว จะให้มานั่งฟังคนไข้นาน ๆ สัมผัสความรู้สึกของเขา แล้ว Heal เขา เราจะทำได้อย่างไร? "

ตามปกติแล้ว ผมจะไม่ตอบคำถามใด ๆ แต่จะให้ผู้เข้าร่วมฟังช่วยกันหาคำตอบ มีคุณหมอจากจังหวัดขอนแก่น ท่านหนึ่งเป็นผู้ให้คำตอบแก่คำถามนี้ ท่านบอกว่า มีคนไข้เป็นร้อย ๆ ต่อวัน เช่นกัน แต่มีคนไข้บางคนที่ท่านคิดว่า ถ้าเราให้เวลาฟังและคุยกับเขานานขึ้นแค่ 5 นาที เลือกเฉพาะบางรายก่อน แล้วคนไข้คนนั้นจะพึงพอใจมากขึ้นและความถี่ในการกลับมาหาหมอก็ค่อย ๆ ลดลง


ผม เชื่อว่า คนไข้ต้องการบอกอะไรบางอย่างในระดับที่ลึกซึ้ง แต่หมอไม่เคยรับฟัง ไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้สึกร่วมกับเรา ถ้ามีหมอสักคนรับฟังอย่างแท้จริง เขาจะรู้สึกว่าได้สิ่งที่เขาต้องการ และจะคิดว่า การเจ็บป่วยนั้นไม่มีความสำคัญ เพราะเขาได้รับการเยียวยาและได้รับการรักษาแล้ว

ถ้าเราลองเลือกคนไข้ สาม คน จากใน 100 คนนั้น และใช้เวลากับเขามากขึ้น การกลับมาหาลดลง ในวันรุ่งขึ้น คนไข้จะเหลือ 97 คน แล้วในระยะยาว คนไข้ก็จะลดลงเองไปเรื่อย ๆ คนไข้อยากจะช่วยหมอเอง จริง ๆ แล้ว คนไข้เกรงใจหมอจะตาย

การมอง เวลาของคนเราในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ตั้งแต่ในวิธีคิดของเรา ถ้าเราเปลี่ยนการมองเวลาเสียใหม่ กลับจะยิ่งทำให้เรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าเราบอกว่า เวลามีค่า เราเลยตรวจคนไข้เร็ว ๆ ปุ๊ ๆ ปัญหามันเลยสะสมพอกพูนกันมาแบบนี้ แต่ถ้าเราเสียเวลามานั่งดูแลใกล้ชิด เราเปลี่ยนชีิวิตเขา เขาหาย และเขาก็เปลี่ยนชีวิตเราด้วย

หลักสูตรแพทยศาสตร์ 6 ปี ก็แน่นมาก สิ่งเหล่านี้อาจจะยังไม่สามารถสอดแทรกเข้าไปได้มากนัก ทีมงานเราก็รู้ว่า เรื่องแบบนี้ไม่ต้องรีบร้อน แต่ขอให้เราทำไปเรื่อย ๆ และเชื่อมั่นว่า สิ่งนี้มีความหมาย จะมากหรือน้อยก็ช่าง มันจะค่อย ๆ เกิดกลุ่มพลังเล็ก ๆ ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประทเศในตอนนี้ก็มีโรงเรียนแพทย์หลายแห่งสนใจ และเชิญทีมงานของเราไปอบรม นักศึกษาที่กำลังจะจบ

Workshop 4 วัน 3 คืน มีทีมอีก 3 คน คือ คุณหมอวรวุฒิ โฆวัชรกุล ที่สันทราย คุณพัฒนา แสงเรียง ที่จ.แพร่ คุณหมอสกล สิงหะ ที่ จ.ปัตตานี

ตั้งแต่วันแรก เรามีสมุดแจกให้ทุกคนจดไม่ใช่จดสิ่งที่ผมบรรยาย แต่เป็นการจดความคิดของตนเอง เช่น ลองดูว่า ตอนนี้คุณเห็นอะไร บรรยายสิ่งที่คุณเห็นเหมือนกับคุณเป็นผู้สื่อข่าว นี่คือ ขั้นตอน Seeing การสังเกตแบบไม่ต้องบอกว่า มันคือ ทฤษฎียู หลายคนงงมากว่า ทำเพื่ออะไร

หลัง จากนั้น ก็มีการแทรกความรู้เรื่องสมอง 3 ชั้น เข้ามา คือการใช้ Head - Hart - Hand เรื่องความคิด - อารมณ์ความรู้สึก - การลงมือกระทำ และให้ผู้เข้าร่วม Workshop รู้ว่ากระบวนการเหล่านี้มีสื่อสัมพันธ์กันอย่างไร เพราะคนสมัยนี้ไม่ใช้ความรู้สึก เนื่องจากถูกฝึกให้คิดมากกว่าการใช้หัวใจ ซึ่งผมถือว่า นี่คือขั้นตอน Sensing

ในวันสุดท้ายเราจะจบด้วยการบ รรยาย ทฤษฎียู ว่า ทั้งหมดที่ผู้เข้าร่วมได้เดินมานี้ คืออะไร และพวกเขาอยากทำอะไรต่อไป ลองหา Prototyping ของตนเองและลงมือทำเลย

การ มีทฤษฎีที่ชัดเจน ทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น และชัดเจนขึ้น จาการทำงานจัด Workshop แบบนี้มาหลายปี และนำทฤษฎียู มาเป็นกรอบในการจัดหลักสูตร โดยการนำความรู้เรื่องอื่น ๆ มาบูรณาการร่วมกัน ทำให้ผมรู้สึกว่า ชีวิตมีพลังมากขึ้น เพราะชีวิตชัดเจนขึ้นกว่าเมื่อหลายปีก่อน เรารู้ว่า จะทำอะไร งานเราจึงชัดขึ้น ชีวิตส่วนตัวก็ชัดเจนขึ้น

ความชัดเจนว่า เรากำลังจะทำอะไร ดีกับการมีชีวิตอยู่ การที่เรารู้ตัวว่า กำลังทำอะไร และจะทำอะไร มันหล่อเลี้่ยงเรา


คัดลอกจาก นิตยสาร GM ฉบับเดือน เมษายน 2009

ที่มา : https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=officer-pam&month=02-2010&date=27&group=13&gblog=1

เทคนิคการจีบสาวของไอ้บักเขียบ


#เทคนิคการจีบผู้สาวเขียนครั้งที่1
1.ตัดความดิ้นรนของคุณออกให้หมดซ่ะ
      เทคนิคการจีบสาว  ของไอ้บักเขียบ ขึ้นอยู่กับ ความคิด ทัศนคติ ในสมอง ไม่ใช่อยู่ที่คําพูดหวานๆ ในการจีบสาว

นี่เป็นสิ่งที่คุณจะต้องรู้สึกได้ว่าคุณมีเทคนิคนี้ไว้ในใจทุกเวลา ทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที ทุกวินาที และนาทีทีทีของการหายใจหากคุณยังอยากจะจีบสาว

การที่จะเป็น   ไอ้บักเขียบ  ได้นั้นมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีคําพูดเท่ๆไว้จีบหญิงมากเท่าไหร่ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณหล่อแค่ไหน 
แต่มันขึ้นอยู่กับทัศนคติของคุณต่อผู้หญิง ชีวิตและสังคมโดยรวมต่างหาก ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนแปลง ความคิดตรงนี้ได้สาวๆจะมารายล้อมคุณอย่างไม่น่าเชื่อ รับประกันอย่างแรงงงงงนะครับผม  จากผมผู้ชำนาญการ  55555  ไม่เข้าใจเหรอครับ อ่านต่อไป
ผู้ชายส่วนมากต่างก็ดิ้นรนที่จะได้สาวๆสวยๆ มาควงกันแทบทั้งสิ้น ผม คุณหรือใครๆก็เคยรู้สึกกันมาแล้วทั้งนั้น แต่ว่าไอ้ตัวดิ้นรนนี่แหละที่มันเป็นด่านแรกที่ขวางไม่ให้เรากลายเป็นไอ้บักเขียบ มันทําให้เรากลายเป็นคนอ่อนแอไปโดยปริยายเข้าใจไหม  ปริยาย ไม่เกี่ยวกับตาคุณ  ต่อๆๆ

จะยกตัวอย่างให้ดู ผมเคยลองถามเพื่อนผู้หญิงที่สนิทกันดูว่าทําไมเธอถึงไม่ชอบผู้ชายที่เข้ามาจีบเธอเลย ผู้ชายพวกนั้นไม่ดีตรงไหน (เธอเป็นคนที่ค่อนข้างสวยมาก มีคนเข้ามาจีบตลอดเวลา) 

เธอตอบทันทีเลยว่า เธอไม่ชอบพวกผู้ชายที่ดิ้นรนอยากจะมีแฟนจนตัวสั่น 55555  
ไม่รู้จักควบคุมความต้องการของตัวเอง มันทําให้เธอคิดว่าพวกผู้ชายเหล่านั้นกําลังจนตรอก ไม่มีใครเอามาเป็นแฟน พวกเค้านั้นให้ความสนใจเธอทุกเวลาง่ายๆ   

พวกเค้าคิดถึงเธอตลอด โทรหาเธอทุกวัน พูดคําหวานๆ ซื้อดอกไม้ ของขวัญ พวกเค้าไม่เคยขัดใจเธอแม้แต่ครั้งเดียว พวกเค้าแคร์ความรู้สึกเธอตลอดเวลา ไม่กล้าที่จะเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงออกมา ผู้ชายเหล่านี้หวังว่า
การกระทําเช่นนี้จะทําให้เธอมาหลงรักได้

พวกเค้าเลยบูชาเธออย่างกับนางฟ้ามาเกิด5555  คิดสิคับ  อ้าว ต่อๆๆๆ

พวกเค้าทําให้เธอคิดว่า

 โอ้อ้อ้อ้อ้อ้     อย่าจากผมไปนะ นางฟ้าของผม  โอ้วววว   ผมรักคุณมาก ผมจะอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไรโดยที่ไม่มีคุณอยู่เคียงข้างกาย 
โอ้วววว   คุณคือทุกๆอย่างในชีวิตที่ผมต้องการ

โอ้วววว  ไม่ใช่เลย อย่าทำแบบนั้นครับ

ถ้าคุณทําอย่างนี้เวลาจีบสาวสวย คุณกําลังทําสิ่งที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงที่สุดในสามโลก  เรียกง่ายๆ   คุณ......
ผู้หญิงไม่ชอบผู้ชายที่ดิ้นรนเกินไป ง่ายๆ สั้นๆ ได้ใจความ คุณไม่สามารถทําแบบนี้แล้ว
หวังว่าเธอจะมาชอบคุณได้ คุณจะหวังว่าเธอจะมาชอบได้ยังไงไอ้เบือก ในเมื่อคุณกําลังบอกเธออยู่ว่าเธอดีกว่าคุณ เธอเหนือกว่าคุณ เธอเป็นนางฟ้า 

ในท้ายที่สุดพวกเธอนั้นก็จะทิ้งคุณไปหาคนอื่น คนใหม่ที่คู่ควรกับเทพธิดาอย่างเธอแทน อันนี้ไม่สามารถโทษผู้หญิงได้จริงๆ นะ

 โลกแห่งความเป็นจริงไม่ใช่นิยาย รู้เรื่องไหมที่ผมอธิบายมา  หากไม่เข้าใจ  กลับขึ้นไปอ่านใหม่100รอบ😡

โลกแห่งความจริงไม่ใช่ทุงทานตะวันที่ดอกฟ้าจะลงเอยกับหมาวัดเสมอไป ถ้าคุณจะเอานางฟ้าคุณก็ต้องเป็นเทพบุตรเข้าใจไหมครับ

คุณต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงความคิด ความดิ้นรนตรงนี้โดยด่วนที่สุด แต่ว่าโชคดีที่คุณสามารถจะขจัดไอ้ตัวดิ้นรนนี้ออกไปได้ ด้วยทัศนคติของคุณเอง   เป็นวิธีเดียวที่ได้ผลและจะเป็นแค่วิธีเดียวเท่านั้นจริงๆ  ไม่สามารถกําจัดออกด้วยวิธีอื่นครับ 

ขอพูดเพราะๆหน่อยนะครับ  อ้าว ต่อๆๆ 

 ไม่ว่าคุณจะใส่เสื้อผ้าราคาแพงแค่ไหน ทรงผมคุณจะเท่แค่อย่างกับดาราฮอดลี่วูดบ้าบอคอแตกอะไรของคุณ   ไม่ว่าหุ่นคุณจะบึกแค่ไหนก็ตาม   มันก็จะยังอยู่ในตัวคุณ 
ทางความคิดทางสมอง 

อย่าไปทําให้เธอคิดว่าเธอดีกว่าคุณเป็นอันขาด
อย่าไปบอกเธอว่า เธอเป็นรางวัลชีวิตที่คุณต้องการ
ตรงกันข้ามคุณนั่นแหละเป็นรางวัลชีวิตที่เธอต้องการ

พวกผู้ชายที่ดิ้นรนไม่ได้คิดอย่างนี้ และนั่นเป็นสาเหตุว่าทําไม พวกเค้าไม่สามารถจีบสาวได้อย่างที่ใจเค้าอยากจะให้เป็นจริงมั๊ยครับ

หลักสําคัญก็คือให้คิดว่าคุณนี่แหละที่เป็นไอ้บักเขียบ   นี่แหละที่จะทําให้เธอมีความสุข ทําให้เธอหัวเราะได้

วิธีคิด : วิธีคิดที่ถูกต้องก็คือ คุณต้องคิดว่าคุณเป็นคนที่รวย 5555555  ไม่ใช่รํ่ารวยเงินทอง 

 แต่คุณรวยเสน่ห์ เป็นคนที่ใครเห็นแล้วก้อต้องหลงในเสน่ห์ หัวปักหัวปำ  บ้าระห่ำอย่างกับสงครามโลก   ถ้าคุณสามารถคิดและบอกตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง  

 มื้อนึงเจ้า เจ้าจะรู้สึกอย่างที่คิดอีหลี แล้วก๊ะ เจ้าก็จะเป็นอย่างที่เจ้าคิดไว้   ลองเบิ่ง เชื่อผมนี้ห่วยยยยย   เดี๋ยวสิมาเว้าให้ฟังต่อ  เครรู้เรื่อง สองแปดสิบหก   
พ้อกันบทความหน้า
อ่านแล้วช่วยกดไลก์ให้กำลังใจในการเขียนต่อด้วยครับ

ขออภัยหากพูดคำหยาบหรือพิมพ์คำหยาบลงไปเนื่องจากให้เกิดอรรถรสในการอ่านครับ 5555

ขอบคุณครับ

ชื่อข่อย : ASAWINLHAOSRI
03 - 08 - 2020

บทความประจำวัน

สวัสดีครับ  สำหรับครั้งที่ 2   ในการเขียนบทความประจำวันจากประสบการณ์การจริง สำหรับวันนี้ผมได้รับความรู้เรื่องสมองจากที่ได้สนทนากับที่ท่านหนึ่งผมขออนุญาตไม่เอ่ยนามนะครับ     เนื่องจากผมไม่ได้ขออนุญาตพี่เขา  ถึงการที่ผมนำเรื่องนี้มาลงที่บล็อกส่วนตัว

หากพูดถึงเรื่องสมองมีสิ่งหนึ่งที่ผมสามารถควบคุมได้ไม่ดีและเป็นข้อเสียหลักของตัวผมก็คือการควบคุมอารมณ์ พี่เขาก็ได้สอนผมเกี่ยวกับสมองของมนุษย์ว่าสมมุติ
มนุษย์มีสมอง 3 ส่วน  

หากเปรียบเทียบส่วนแรกก็คือลูกมะนาว 

ส่วนที่สองจะใหญ่ขึ้นมาอีกระดับขึ้นมาและครอบลูกมะนาวลูกแอปเปิ้ล

ส่วนที่ 3 เป็นส่วนสุดท้ายคือส่วนที่ใหญ่ที่สุดคือเปรียบเสมือนลูกมะพร้าวที่ครอบลูกแอปเปิ้ลและลูกมะนาวนั้นไว้ครับ

การทำหน้าที่ของสมองแต่ละส่วน
ยกตัวอย่างลำดับที่ 1 สมองส่วนลูกมะนาว
เปรียบเสมือนสมองของสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งหากถ้าเปรียบเทียบสมองส่วนนี้ เป็นส่วนที่อยู่ลึกที่สุด   ยกตัวอย่างลักษณะการทำงานสมองส่วนนี้คุณนึกถึงสัตว์เลื้อยคลานคุณนึกถึงเรื่องอะไรครับ  คือไม่มีการคิดวิเคราะห์ ไม่มีการใช้เหตุผล  การมีชีวิตอยู่เพื่อเลื่อยคลานหาที่อยู่อาศัยได้เท่านั้น.....นั่นแหละครับคือสิ่งที่เป็นสมองของสัตว์เลื้อยคลาน

ต่อมาเป็นสมองของลูกแอปเปิ้ลสมองส่วนนี้เปรียบเทียบได้กับสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม    ยกตัวอย่างเช่น    หมู  หมา   วัวควาย   จิงโจ้   เสือ   และอื่นๆที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยกเว้นมนุษย์ นะครับ 
ลักษณะของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คุณลองคิดวิเคราะห์ดูว่ามีลักษณะพฤติกรรมอย่างไร เช่น  หมา   ก็จะไม่มีการควบคุมอารมณ์ได้   ไม่มีการใช้เหตุผลหรือหลักการวิเคราะห์   ตอบสนองต่อสิ่งเร้าไปตาม สัญชาตญาณ ของหมาหรือของสุนัข


 และลำดับสุดท้ายคือ สมองที่เปรียบเทียบได้กับลูกมะพร้าว  นั่นคือ สมองของมนุษย์หากอธิบายสมองมนุษย์คือเป็นสมองส่วนที่ใหญ่ที่สุดและเป็นสมองที่สูงที่สุดของสิ่งมีชีวิต   เมื่อเรียงลำดับตามสิ่งมีชีวิต   
ยกตัวอย่างลักษณะการทำงานออกมาเป็นพฤติกรรเช่น  เมื่อคุณพูด   คุณต้องใช้หลักการคิดวิเคราะห์ก่อนที่จะพูดหรือ หรือสนทนากับใครใช่ไหมครับ นั่นแหละครับเปรียบเทียบง่ายๆ  สมองมนุษย์เรา เป็นสมองที่ประเสริฐที่สุด สามารถที่จะ คิดวิเคราะห์ได้ สามารถสร้างโทรศัพท์ได้  สามารถสร้างเทคโนโลยีได้  สามารถสร้างที่อยู่อาศัย   ประยุกต์ทรัพยากรธรรชาติ
มาเป็นพลังงานในการใช้เพื่อความตอบสนองสะดวกสบายของมนุษย์เรา ต่างๆมากมายที่เห็นได้ในปัจจุบันนี้.

สำหรับการสนทนาครั้งนี้ถือว่า เป็นการสนทนาทางโทรศัพท์ที่ดีมากและได้ความรู้ กลับมาและ ขอขอบคุณพี่มากที่ ได้ เสียสละเวลามีค่ามาสอนผม เนื่องจากยังไม่รู้จักไม่ยังไม่เห็นหน้าค่าตากันด้วยซ้ำไป ขอบคุณครับ

ลำดับต่อไปผมจะมา เล่าเกี่ยวกับ เรื่องของ อุปนิสัย 7 ประการ ที่ได้จากการ อันหนังสือ เป็นลำดับหัวข้อ ง่ายๆนะครับ 

กรอบความคิดของนิสัยทั้ง 7 ประการนี้ The 7 habits อุปนิสัย 7 อย่าง 

การชนะใจตนเองประกอบด้วย
ลำดับที่1 เป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (โปรแอคทีฟ) 
ลำดับที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ ลำดับที่ 3 ทำตามลำดับความสำคัญ

การชนะใจผู้อื่น
ลำดับที่ 4 คิดแบบชนะชนะและก็ชนะ ลำดับที่ 5 เป็นเข้าใจคนอื่นก่อนที่จะ ให้คนอื่นเข้าใจเรา
ลำดับที่ 6 ประสานพลัง
และลำดับสุดท้ายคือ  ลับเลื่อยให้คม
(ความรู้คือเปรียบเสมือนใบเลื่อยที่คม)

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย  
     สำหรับวันนี้ผมขอจบการ เขียนบทความของผมไว้เพียงเท่านี้พบกันใหม่ในบทความหน้าครับ  ขอบคุณครับ

ผู้เขียน : ASAWINLHAOSRI
02-08-2020

อุปนิสัยแห่งความสำเร็จ

อุปนิสัย 7 ประการ The Seven Habit of Highly Effective People

Fundamental Principles (หลักการพื้นฐาน)

1.1 การพัฒนาอุปนิสัย (Developing Habits) : ประกอบด้วย 3 สิ่งคือ : Knowledge / Skill / Desire (ความอยาก) สิ่งที่ยากในการพัฒนาอุปนิสัย คือการสร้างความอยากที่จะทำ

1.2 คุณลักษณะ (Character) / บุคลิกภาพ (Personality)

Character : เป็นสิ่งที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งมองไม่เห็น เช่น ความเป็นคนมี Service mind , ความเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (ความเป็นคนดี)

Personality บุคลิกภาพ : เป็นสิ่งที่มองเห็นจากภายนอก เป็นภาพพจน์ ความรู้ความสามารถ (ความเป็นคนเก่ง) แม้ว่าภาพพจน์ เทคนิค และ ทักษะ สามารถส่งผลให้เกิดความสำเร็จภายนอกก็ตาม แต่น้ำหนักของความมีประสิทธิผลที่แท้จริงจะอยู่ใน คุณลักษณะที่ดี (ไม่ฝืนธรรมชาติ)

1.3 Four Levels of Leadership (4 ระดับแห่งภาวะผู้นำ)

Personal Trustworthiness
Interpersonal Trust การไว้วางใจระหว่างบุคคล
Managerial Empowerment
Organizational Alignment

การสร้าง Leadership ต้องเริ่มที่ การสร้างความไว้วางใจในตัวบุคคลเองก่อน ซึ่งการที่จะสร้างความไว้วางใจได้ ต้องประกอบด้วย Character และ Competence ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความสมดุล ก็จะมีภาพที่ทำให้ผู้อื่น เกิดความไว้วางใจ และ จะนำไปสู่ การไว้วางใจระหว่างบุคคล (Interpersonal Trust) และเมื่อเรามีความไว้วางใจกัน ระหว่างบุคคล ก็สามารถมอบหมายอำนาจ ในการบริหารให้ แก่บุคคลหรือกลุ่มคนนั้นได้ และ เมื่อมีการกกระจายอำนาจ และทุกคนมีเป้าหมายร่วมกัน ก็จะเกิดผลใน การบริหารงานขององค์กรที่มีประสิทธิผล ต่อไป

สำหรับหลักสูตร The 7 Habits เป็นการสอนให้เกิดในเรื่องของการสร้าง Level ที่ 1 และ 2 คือเป็นการสร้าง ให้เกิดความไว้วางใจ ในตัวบุคคล และนำไปสู่ความไว้วางใจ ต่อกันกับผู้อื่น ซึ่งประเด็นนี้ จะเห็นได้ว่า คำว่า Empowerment จะต้องมีการพัฒนา ผู้ความรู้ความสามารถ ของคนที่จะมา รับมอบอำนาจก่อน การกระจายอำนาจ จึงจะเกิดประโยชน์แก่องค์กร และเมื่อคนที่รับ มอบอำนาจ มีความสามารถและไว้วางใจได้ ก็จะเกิดการพัฒน ความคิดในการทำงาน ไม่ใช้ทำงานเฉพาะตาม Job ที่ได้รับมอบหมาย

1.4 วงจรวุฒิภาวะ (The Maturity Contunuum) : เป็นการแสดงความสัมพันธ์ ระหว่าง 7 อุปนิสัย โดยแบ่งเป็น
ชัยชนะส่วนตน (Private Victory) ชนะใจตน ประกอบด้วย 3 อุปนิสัย ;

Be Proactive
คนที่มีนิสัย "Proactive" คือคนที่เลือกที่จะเป็น เลือกที่จะทำ คือคนที่ "รู้ตัวว่าเลือกได้" คนที่มีนิสัยแบบนี้ จะมีความกระตือรือล้น เป็นคนที่ Active เป็นคนที่รู้ว่า ตัวเองต้องการอะไร คนที่ Proactive จะไม่รอให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นกับตัวเขา แต่เขาจะเป็น คนทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น ด้วยตัวเขาเอง เพราะเมื่อเขาเลือกที่จะเป็น เมื่อเขารู้ว่าตัวเองต้องการอะไร เขาก็จะมีความริเริ่มที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นในทันที
Begin with the end in Mind (เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ)
Put First Things First (ทำสิ่งทีสำคัญก่อน)
ถ้าเราสามารถฝึก 3 อุปนิสัยแรกทั้ง 3ได้ จะทำให้นำไปสู่ การที่เราสามารถพึงพาตนเองได้ (Independence) และหลุดพ้นจาก การพึ่งพาผู้อื่น (Dependence) เป็นคนที่มีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ ซึ่งทั้ง 3 นิสัยดังกล่าว เป็นการเรียนรู้การฝึกตนเอง เพื่อให้เกิดการสร้างวินัยให้ตนเอง 
ชัยชนะในสังคม (Public Victory) ชนะใจผู้อื่น ประกอบด้วย 3 อุปนิสัย :
Think Win-Win (คิดแบบ ชนะ-ชนะ)
Seek First to Understand Then to Be Understood (เข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา)
Synergie (ผนึกพลังประสานความต่าง)
เมื่อเรามีความน่าไว้วางใจและสามารถพึงพาตนเองได้ (dependence) และ มีการฝึกฝนอุปนิสัยที่ 4-6 จะนำไปสู่ ความไว้วางใจระหว่างบุคคล และเกิดการพึงพาซึ่งกันและกัน (Interdependence) และจะนำไปสู่การสร้าง ความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง ระหว่างบุคคลที่ยืนยาว การฝึกฝน โดยใช้อุปนิสัยสุดท้าย
Sharpen the Saw (ลับเลื่อยให้คม)
สำหรับอุปนิสัยที่ 7 เป็นการฝึกฝนในการปฏิบัติอุปนิสัยทั้ง 6 อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ไม่มีใครที่จะสามารถฝึกให้บรรลุ อุปนิสัยทั้ง 7 ได้ตลอดเวลา จะมีการกลับไปกลับมาของนิสัยเสมอ เมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอก แต่ถ้ามีการฝึกฝนอยู่เสมอ การเบี่ยงเบนของอุปนิสัย ต่อสิ่งเร้าก็จะเกิดขึ้นน้อย

1.5 Three-Person Teaching : เป็นหลักที่น่าสนใจและนำมาปฏิบัติในองค์กร กล่าวคือ การเรียนรู้สิ่งใดให้เกิดความเข้าใจ ในขณะเรียน จะต้องสมมุติเสมอว่า เมื่อเรียนจบแล้วจะต้องนำสิ่งที่เราเรียนรู้หรือเข้าใจไปสอนต่อให้ผู้อื่น / และในทางปฏิบัติ มีหลักในการปฏิบัติดังนี้ 

Capture : จับประเด็นแนวคิดพื้นฐาน
Expand : เพิ่มประสบการณ์ หรือความรู้ของตนเองเข้าไป เพื่อเพิ่มความเข้าใจ
Apply : การนำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวัน และถ่ายทอดตัวอย่างต่างๆ ที่นำไปประยุกต์ใช้ได้

1.6 Basic Change Model : (แบบจำลองพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง)

See : what we see drive what we do / การมองที่แตกต่างกัน ของแต่ละคน ทำให้เกิดการกระทำ (Do) ที่แตกต่างกัน
DO : เป็นการกระทำที่เกิดจากการมอง
GET : ผลที่ได้จากการกระทำ / ผลที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการมองและทัศนะคติใหม่ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยน พฤติกรรม

1.7 องค์ประกอบพื้นฐานของอุปนิสัยทั้ง 7

Principle (หลักการ) : กฎธรรมชาติ หรือความจริงขั้นพื้นฐานอยู่ภายนอกตัวเรา ซึ่งมาคู่กับคำว่า ค่านิยม (Value) ซึ่งเป็นความเชื่อ หรือ อุคมคติที่เราเลือกขึ้นเอง ซึ่งสิ่งสำคัญในการพัฒนาอุปนิสัยที่ดี ต้องเลือกปฏิบัติ ในสิ่งที่เป็นค่านิยม ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการ (Value บางอย่างเป็น Principle บางอย่างไม่เป็น )
Paradigms (กระบวนทัศน์หรือกรอบความคิด) : เป็นตัวที่ทำให้คนเรามองสิ่งเดียวกันแตกต่างกัน ถ้าเราเปลี่ยนกรอบความคิด จะนำไปสู่การมองที่แตกต่างไป ใน วงจร See / Do / Get และมีคำกล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกือบทุกครั้ง ทางวิทยาศาสตร์ ก่อนอื่นต้องเป็นการฉีกออกจากแนวเดิม วิธีการคิดแบบเดิมๆ หรือ กรอบความคิดแบบเก่านั่นเอง" นอกจากนี้ในเรื่องของกรอบความคิดจะมีอิทธิพลพลมาจาก กระจกเงาสังคม (The Social Mirror) ซึ่งเป็นภาพสะท้อนจาก ความทรงจำของการที่ผู้อื่นมองเห็นเราอย่างไร และ ความเชื่อที่กลายเป็นความจริง (Self-Fulfilling Prophecy) เช่น การทีเราคิดว่าคนๆหนึ่งไม่มีความสามารถ เราจะคอยช่วยเหลือเขา และคอยปกป้องเขามากเกินควร ด้วยความกลัวว่าเขาจะล้มเหลว ทำให้ขาดการให้โอกาสที่จะให้เขาทำอะไรด้วยตนเอง
Processes (กระบวนการ) ชุดของกิจกรรมทางความคิด หรือ กายภาพซึ่งเชื่อมโยงกัน

1.8 ความสมดุลของ Production (P) และ Production Capability (PC)
เราจะต้องรักษาสมดุลระหว่าง P/PC เช่น ดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มีสภาพดี จึงจะสามารถให้ ผลผลิตที่ดีได้ และคำว่า PC รวมไปถึงบุคลากรในองค์กรด้วยซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์กร

1.9 The Emotional Bank Account (บัญชีออมใจ) เป็นการเปรียบเทียบสำหรับปริมาณของความไว้วางใจที่คนอื่นมีต่อเรา ซึง การกระทำของเรา มีผลกับ การฝาก หรือ ถอน ความมั่นใจในตัวเรา ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เราควรจะต้องทำเสอม คือ การเติมบัญชีออมใจของเรากับ เพื่อนๆ หรือบุคคลรอบข้างของเรา

กรอบความคิดของอุปนิสัยทั้ง 7 ประการ The 7 Habits (อุปนิสัย 7 อย่าง)

เริ่มจากการพึ่งพาผู้อื่น นำไปสู่การพึ่งพาตนเอง และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

ชนะใจตน

1. เป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (โปรแอกทีฟ)
2. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ
3. ทำตามลำดับความสำคัญ

ชนะใจผู้อื่น

4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ
5. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา
6. ประสานพลัง
7. ลับเลื่อยให้คม

อุปนิสัยที่ 1 Be Proactive ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน ( Individuals are responsible for their own choices and have the freedom to choose.)

“ไม่มีใครทำร้ายเราได้ นอกจากตัวเอง” “เราเป็นอย่างที่เราเป็น หรือเป็นอย่างที่เขาพูด”การรุก คือ การทำให้ดีที่สุด ตั้งแต่ครั้งแรก (อย่าคิดว่าจะสามารถแก้ไขครั้งที่ 2 ได้อีก “ฉันทำได้”สิ่งที่จำเป็นต้องทำ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ชอบ แต่จำเป็นต้องทำ ให้พยายามทำจิตใจให้ชอบ ทำซ้ำ ๆ จนเข้าไปอยู่ในจิตใจของตนเอง
Be Proactive คือ อะไรไม่เคยทำ ต้องเรียนรู้ ทำให้ได้ ทำให้เกิดความชำนาญ
การคิดแนวรุก คือ การตัดสินปัญหาแก้ไขได้ อย่าให้สิ่งภายนอกตัดสินเรา ฉันเลือกที่จะไป ฉันควบคุมความรู้สึกของฉันได้
แก่นสารของความอยู่รอด

อย่าไปสนใจว่าใครทำอะไร ให้สนใจเฉพาะว่า ตนเองทำอะไร ทำดีหรือยัง เพื่อที่จะเปิดเกมส์รุกได้ เช่น หัวหน้าว่า คือ เรื่องของหัวหน้า เรื่องของเรา คือ งานที่เราต้องทำ ทำไป อย่าสนใจสิ่งที่หัวหน้าว่า จนทำให้เราไม่สามารถทำงานในส่วนที่เรารับผิดชอบ

ความมีอิสระในการเลือก เช่น Self Awareness (เตือนตนเอง ให้รู้ว่าเรารู้สึกอย่างไร) Imagination
(ใช้สมองคิดว่าตอบโต้ให้เป็นการออมบัญชีความรู้สึก) Conscience (สติ) Independent Will (อิสระในความคิด)
อย่าสนใจสิ่งที่มากระทบระหว่างทางก่อนถึงความสำเร็จหรือเป้าหมาย ปล่อยวางมันไป มุ่งไปสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมาย

- ตอบสนองตามค่านิยม โดยไม่ยอมให้ อิทธิพลภายนอก (อารมณ์ ความรู้สึก หรือ สภาวการณ์) มาควบคุมการตอบสนองของตน
- รับผิดชอบต่อ พฤติกรรมของตนเอง (ทุกคนมีอิสระในการเลือกที่จะทำอะไร แต่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตามมาจากสิ่งที่เราเลือก)
- มุ่งเน้นที่ Circle of Influence (หาทางแก้ไขปัญหาเพื่อกำจัดความกังวล หรือ ไม่มองหรือคิดกังวลแต่เรื่องปัญหา) และถ้าฝึกไปเรื่อยๆ จะนำไปสู่ระดับ ให้อภัยต่อผู้อื่น (Transition Figure)

ผู้บริหารที่ดี จะต้องมีหลักการบริหาร 5 ข้อ คือ
Personal Mastery มุ่งสู่ความเป็นเลิศ – สมอง (ความคิดสร้างสรรค์) – innovation
Mental Models วิธีคิดมุมมอง – channel (ช่องทาง) เช่น ตัวอย่างสินค้า เช่น แชมพู เป็นต้น
Shared Vision ประสานวิสัยทัศน์ – แบ่งปันความคิด – เรียนรู้นิสัยใจคอกัน
Team Learning เรียนรู้การทำงานเป็นทีม (Top – Down/ Down – Top)
Systems Thinking (คิดเป็นระบบ)

อุปนิสัยที่ 2 Begin with the End in Mind เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Mental creation precedes physical creation)

จิต คือผู้เดินทางอยู่เหนือมิติแห่งกาลเวลา ทุกอย่างเริ่มต้นที่จิต
เจตนา เป็นเครื่องชี้กรรม ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม
ความสำเร็จ เริ่มต้นจากก้าวแรก เริ่มสะสมความสำเร็จด้วยระยะเวลาที่ท่านไปอย่างสม่ำเสมอ
You are what you think.
การเรียน คือ ฟังด้วยหู การอบรม การพัฒนา
ความร่วมมือเป็นทีม/ ความคิดที่ช่วยกันแก้ปัญหา/ ความรับผิดชอบหน้าที่ตนเองให้ดี
การที่มนุษย์จะประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ ได้จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่าติดกับกรอบความคิด (สิ่งที่เราเห็นแล้วคิด เกิดความเข้าใจไปเอง ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้)
มนุษย์ควรหาความสามารถ เพื่อทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เราจะทำงานให้เหมือนว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต
Think smart – ชี้เฉพาะ วัดได้ เป็นไปได้ เชื่อถือได้ มีตัวตน

จินตภาพ = Mind Map

วันใดที่คิดอยากจะทำอะไรที่ดี ให้เขียนไว้เพื่อให้จำได้ และต้องทำให้สำเร็จ ระวังทัศนคติที่ทำลายตัวเอง เช่น ขี้เกียจ ท้อแท้ พลัดวันประกันพรุ่ง วิตกกังวล ฯลฯ เ พราะจะทำให้เราไม่สามารถไปถึงความสำเร็จได้ การปรับเปลี่ยนกรอบความคิด โดยมีหลักการ คือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เข้าใจถึง ความไม่เที่ยงแท้ ฯลฯ
สมองมี 2 ซีก คือ ซีกซ้าย (ปัญญา) ซีกขวา (อารมณ์) การฝึกสมองด้านขวาโดยจินตนาการให้แข็งแกร่ง ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน
อย่ายึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นคนหลงและผิดพลาด ยึดกับกรอบของตนเอง
ยุทธศาสตร์ - วางแผน – ตัดสินใจทำ- คาดการณ์ว่าจะเพิ่มกี่ % - คิดว่าจะทำอย่างไร-ลงมือทำ
- การเริ่มต้นที่จุดมุ่งหมายในใจ คือ การสร้างหรือวางแผน การออกแบบ และ วางโครงร่างสำหรับสิ่งที่เราต้องการจะเป็น ก่อน โดยคิดหลายๆ ทางเลือก และ เลือกสิ่งที่ดีที่สุดในใจก่อน แล้วค่อยนำความคิดนั้นมาปฏิบัติ ให้เกิดผล ตามความคิดหรือสิ่งที่เราคาดหวังไว้
- การฝึกฝน อุปนิสัยที่ 2 นี้ ต้องเริ่มต้นที่ ต้องตั้ง Personal Mission ก่อน แล้ว จาก Personal Mission ค่อยๆ แตกมาเป็น Activity ย่อยๆ ในการทำอะไรในแต่ละช่วงของชีวิต และ ทบทวนสิ่งที่เรากระทำว่า support หรือ เป็นไปตาม Mission ที่เราอยากได้ หรือ อยากเป็น หรือไม่ 
- นิสัยข้อนี้เป็นการสร้าง ความปรารถนา และแรงจูงใจ ให้ทำในสิ่งที่เราควรจะทำ แต่เรามัก ผลัดวันกับตัวเองเสมอ

อุปนิสัยที่ 3 Put First Things First ลำดับความสำคัญก่อนหลัง (Effectiveness requires balancing important relationships, roles, and activities.)

- อุปนิสัยนี้เป็นการฝึก การบริหารเวลา โดยต้องจัดลำดับความสำคัญของงาน โดยจะโยงมาจาก Personal Mission คือทำในสิ่งที่ support mission ชีวิตที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง คือ คิดว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร เริ่มจากอะไรก่อน โดยตอบรับในสิ่งที่ดีและปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ดี ทุกคนมีต้นทุน คือ เวลาที่เท่ากัน 24 ช.ม. แต่ต่างกันในการใช้เวลาให้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างไร

การสั่งสม (คุณลักษณะที่ดีที่ควรสะสมไว้)การลบล้าง (สิ่งที่ควรเลิก)ความเมตตากรุณาและสุภาพรักษาสัญญาทำตามความคาดหวังซื่อสัตย์ต่อผู้ที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์กล่าวขอโทษ คำทักทาย คำขอบคุณเอาใจใส่คนในครอบครัว พูดคุยรับประทานอาหารร่วมกันนอนให้ได้วันละ 6 ช.ม. เต็มออกกำลังกายทุกวัน ๆ ละ 15 นาทีสงบจิตใจทุกวัน ๆ ละ 15 นาทีอ่านหนังสือทุกวัน ๆ ละ 30 นาทีความโหดร้าย ความหยาบคาย และอบายมุขต่าง ๆไม่รักษาสัญญาทำลายความคาดหวังไม่ซื่อสัตย์และตีสองหน้ายโส หลอกลวงทะะเย่อหยิ่งดูละครโทรทัศน์จนดึกผลัดวันประกันพรุ่งทะเลาะกันในครอบครัวเอาความเครียดจากงานมาระบายกับคนในบ้าน

- ใช้หลักในการแบ่ง สิ่งที่ต้องทำออกเป็น 4 ส่วนคือ 
I. สำคัญ และ เร่งด่วน (Emergency Job)
II. สำคัญ แต่ ไม่เร่งด่วน (Planing Job) ถ้า Plan ไม่ดี จะกลายไปเป็น ข้อ I
III. ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน (Yes Man คือ ใครชวนทำอะไร ทำหมด)
IV. ไม่สำคัญ และ ไม่เร่งด่วน (สิ่งบันเทิง ที่เกินความจำเป็นในชีวิต ) ต้องเลิกทำ

1. Urgent (เร่งด่วน) Important (สำคัญ)
เช่น วิกฤตการณ์ การแก้ปัญหางานเฉพาะหน้า2. Unurgent (ไม่เร่งด่วน) Important (สำคัญ)
เช่น การวางแผน การพักผ่อนหย่อนใจ การวางแผน

3.Urgent (เร่งด่วน) Unimportant (ไม่สำคัญ)
เช่น การรับโทรศัพท์ รายงาน ปิดประชุม

4. Unurgent (ไม่เร่งด่วน) Unimportant(ไม่สำคัญ)
เช่น การดูละครโทรทัศน์ กิจกรรมเสียเวลาต่าง ๆ

- สรุป คือต้องเลือกทำในข้อ I & II และ พยายามอย่าปล่อยให้ ข้อ II กลายมาเป็นข้อ I (Try to Keep Schedule)
Permanent change – Result/Action/Think/Idea/Conditioning
Strategy – Change Condition/New Idea/Positive Thinking/Focus Action/Better Result
Put First Think First คือ หน้าที่เราทำอะไร ให้ทำตามนั้นเป็นอันดับแรก ให้ได้ Productivity

อุปนิสัยที่ 4 Think Win-Win (Effective long-term relationships require mutual benefit)

- แสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน
- ให้ความร่วมมือ ไม่ใช่แข่งขันชิงดีกัน
- เน้นการฟัง ใช้เวลาในการสื่อสารกันให้ยาวนานขึ้น และ พูดคุยกันด้วยความกล้าแสดงออก
- จุดประสงค์ ของ การฝึกนิสัยที่ 4 คือ การสร้าง ความเชื่อซึ่งกันและกัน (Interpersonal Thrust ) หากเราคิดชนะ วันหนึ่งเราก็ต้องแพ้ หากเราปรองดองกันมีแต่ ชนะ-ชนะ เราควรฝึกให้คนคิดและต้องการสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง

วุฒิภาวะ คือ การแสดงความคิดและความรู้สึกของตนเองด้วยความกล้าแสดงออก และด้วยความเอาใจใส่ต่อความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น
Character (คุณลักษณะ) + Competence (ความรู้ความสามารถ) นำไปสู่ Trustworthiness (ความน่าไว้วางใจ) นำไปสู่ Trust (ความไว้วางใจ) รวมกันเป็น ความสัมพันธ์ (Relationship)

นิสัยที่มีประสิทธิภาพ (Effective Habits Internalized Principles and Patterns of Behavior) ประกอบไปด้วย
Knowledge & Skill (What to, Why to)
Skills (How to) ทำซ้ำ ๆ กลายเป็น Habit (นิสัย)
Desire = I want to (ความต้องการ)

กรอบความคิด คือ สิ่งที่เห็นเข้ากระบวนการความคิด ประสบการณ์เฉพาะบุคคล ค่านิยมเฉพาะคน สิ่งที่เป็นความใฝ่ฝันของตน ออกมาเป็น กรอบความคิดเฉพาะของตนเอง
กรอบความคิด หรือ กระบวนทัศน์ (Paradigm) เป็นวิธีการที่บุคคลรับรู้ มองเห็นเข้าใจ และตีความโลกที่อยู่รอบตัว เปรียบเสมือนแผนที่ในใจ บุคคล เป็นผลผลิต ของ การเรียนรู้ และ ประสบการณ์ และไม่มีบุคคลที่สองที่จะมีความรู้แบบเดียวกัน ดังนั้น จึง ไม่มีบุคคลสองคน ที่จะตึกรอบความคิดลักษณะเดียวกัน
กรอบความคิด เป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดการการกระทำ ส่งผลต่ออนาคตของตนเองและผู้อื่น คนจะต้องคิดและควบคุมความคิดให้ได้
การกระทำอย่างเดียวกัน บางคนมีความสามารถในการทำงานให้เสร็จเร็วหรือช้าต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการตัดสินใจของแต่ละคน คนที่อยู่ข้างหน้า มีผลต่างจากคนที่อยู่ข้างหลัง รางวัลที่ได้ มีผลต่างกันมหาศาล แม้ว่าจะทุ่มสุดตัว เช่น การวิ่งแข่ง ที่ 1 มีความแตกต่างจากที่ 2 ดังนั้น เราจะต้องคิดให้ทันกับการการเปลี่ยนแปลงของโลก
ความผิดที่ไม่ก่อความเสียหายในทางศีลธรรมไม่ถือว่า เป็นสิ่งเลวร้าย ความผิด คือ สิ่งที่ทำให้คนก้าวหน้าจาก การพัฒนาสิ่งที่ผิด ให้ทำถูกและดีขึ้น
ปัจจุบัน สิ่งที่เราต้องคำนึง คือ เป้าหมายสูงสุดที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด ดังนั้น สิ่งที่ต้องเปลี่ยน คือ วิธีการ อย่ายึดวิธีการเดิม ๆ ที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้

ความสำเร็จ คือ มีชีวิตเป็นอิสระ ที่เกิดจาก ความมุ่งมั่นให้ได้เป้าหมาย (Mission) + สิ่งที่ต้องการจะไป (Vision) + พลังผลักดัน (Passion)
การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงการกระทำ เกิดเป็นพฤติกรรมแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง คือ ความรู้ ดึงความคิดที่เป็นนามธรรมมาเป็นการกระทำ ซึ่งเป็นรูปธรรม
กรอบความคิดใหม่ คือ ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส
การว่าใคร ให้คิดเสมอว่า เราเอากรอบความคิดเราว่าเขา = เราว่าตัวเราเอง
กรอบความคิด สร้างจากอารมณ์ + ความคิด
ทุกสิ่งไม่เที่ยงแท้ ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา
Principle = หลักการที่เป็นจริงไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ขึ้นกับเวลาและสถานที่
ถ้าไม่มีการสูญเสีย จะไม่มีการได้มา ต้องเสียสละ อดทน จึงจะได้มา นี่คือหลักการ
Independence = การพึ่งพาตนเองได้ Interdependence นำไปสู่ Globalization การผูกพันพึ่งพาคนหนึ่งคน มีผลกระทบต่อตนเอง และผู้อื่น ให้ระลึกไว้เสมอว่า “เราจะร่วมกันทำอย่างไรดี”
สงบจิตใจวันละ 15-30 นาที ทบทวนสิ่งที่ทำในแต่ละวันทุก ๆ วัน สร้างภาพความสำเร็จของตนเองให้ชัดขึ้นทุก ๆ วัน – กล้าพูด กล้าทำ
คนพยายามมองโลกอย่างที่ต้องการเห็น ไม่มองอย่างโลกที่เป็นอยู่

คุณลักษณะ (Character) + ความรู้ความสามารถ (Competence) นำไปสู่ ความน่าไว้วางใจ (Trustworthiness) และนำไปสู่ความไว้วางใจ (Trust)
การทำงานร่วมกันอยู่ตรงที่ว่า รู้จักเอาวัตถุประสงค์ของงานเป็นหลัก ไม่ใช่เอาเรื่องใจชอบหรือไม่ชอบเป็นเกณฑ์
ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งใดอยู่กับที่ไม่ว่าบุคคลหรือวัตถุ ปัญหาอยู่ที่ว่า จะคิดและทำให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงอย่างไร นักต่อสู้ที่แท้ ย่อมไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง

รากฐานความก้าวหน้า 5 ประการ (5 Pillars) คือ

Productive – ผลผลิตขององค์กร เป็นตัวชี้วัดความสามารถของผู้บริหารและบุคคลในองค์กร
Participate – การร่วมมือการยอมรับ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน การให้ความร่วมมือที่ดีต่อกัน
Positive – ความคิดบวก การมีมุมมองที่กว้างไกล มองโอกาสที่ซ่อนตัวอยู่ในปัญหาทุกปัญหาได้ออก รู้จักคิด ความคิดเป็นตัวเริ่มต้นที่จะจุดประกายไฟทุกอย่าง ความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ให้คนทำอะไรที่เป็นประโยชน์
Patriotic – ความผูกพันความรัก ความเสียสละให้กับองค์กร เพื่อให้บริษัทอยู่ได้ เราก็อยู่ได้
Professionals – การเป็นมืออาชีพ จะต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ ตาถึง - ต้องมองอะไรกว้าง มองไกล มองลึกซึ้ง มองให้เห็นที่มาที่ไป มองเห็นภาพรวมภาพย่อย มองเห็นความชัดเจนของข้อมูล การมองกว้าง – ความลึกซึ้งเป็นเรื่องของประสบการณ์และทักษะจะต้องมีควบคู่กันไป มองเห็นรายละเอียด เห็นที่มาที่ไปโปร่งใส

ใจถึง – กล้าตัดสินใจ แต่จะต้องตัดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด
มือถึง – ทำอะไรต้องเก่ง หากเราไม่เก่ง ก็ขอความร่วมมือจากบุคคลอื่น ๆ ได้ เพียงใช้ศิลปะการเข้าไปนั่งในใจคนให้เป็น
เงินถึง – เงินในที่นี้ หมายถึง สมองมนุษย์ คนมีสมองก็เหมือนมีเงิน เศรษฐีของโลกร่ำรวยมาจากการใช้สมองมากกว่าขนเงินมาลงทุน
บุญถึง – เป็นคนมีความสุข จิตใจสงบ ทำดี ผลมาย่อมดี

คนที่เข้มแข็ง อดทน และเชื่อมั่นเท่านั้นที่จะยืนอยู่บนฝั่งแห่งความสำเร็จได้
ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ (Responsive Listening Skills)
โดยไม่ใช้คำพูด โดยใช้คำพูด
- ฟังอย่างสนใจ
- มีสีหน้าที่เอาใจใส
- สบตา
- พยักหน้า
- เอนตัวมาข้างหน้า
- เล่าต่ออีกซิครับ/ค่ะ
- อ้อ/ งั้นหรือ/ จริงหรือ
- ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ…กรุณาเล่า อีกครั้งได้ไหมครับ

เทคนิคการใช้สูตร Taking the heat ในการรับฟัง

H - Hear them out (ตั้งใจรับฟัง)
E - Empathize (แสดงความเห็นอกเห็นใจ)
A - Apologize (ให้อภัย)
T - Take responsibility for action (รับผิดชอบในการแก้ไข)

อุปนิสัยที่ 5 Seek First to Understand , Then to Be Understood (การวินิจฉัยโรคต้องมาก่อนการจ่ายยา ความเข้าใจได้มาจากการฟัง)

ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นกุญแจสำคัญของหลักการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีประสิทธิผลการติดต่อสื่อสารถือเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในชีวิต
- อุปนิสัยนี้ เป็นการฝึก การฟัง โดยพยายามให้เป็นการฟังแบบ เข้าอกเข้าใจกัน หลักการสำคัญที่สุดก็คือ การฟัง แต่ต้องเป็นการฟังอย่างเข้าใจผู้อื่นเลยว่า เขาคิดอย่างไร ไม่ใช่แค่ฟังอย่างตั้งใจเท่านั้น เรียกว่าต้องเข้าใจคนอื่นกันเลย เหมือนกับเราเข้าไปอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นเลย

การฟังจึงเป็นทักษะสำคัญที่จำเป็นต้องเรียนรู้ ทักษะการฟังที่ดีนำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิต เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญของทักษะการเข้าสังคม สามารถลดความเข้าใจผิด ความขัดแย้งในการปฏิสัมพันธ์กับคน นอกจากนี้การพัฒนาทักษะการฟังยังส่งผลต่อการพัฒนาในด้านสติปัญญา ในแง่ของการฝึกใช้ความคิด การจับประเด็น ฝึกความจำ และฝึกฝนการจดจ่อแน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือมีสมาธิที่ต้องการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มักจะพบว่าในองค์กร มีคนที่มักจะ ตัดสินใจ หรือ ออกคำสั่ง โดยยังไม่ได้ ทำความเข้าใจกับ สิ่ง ที่ผู้สื่อสาร ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ เพื่อนร่วมงาน ต้องการให้เราเข้าใจ

อุปนิสัยที่ 6 Synergize (ผลรวมที่ได้รับทั้งหมดมีค่ามากกว่าการเอา แต่ละส่วนมาร่วมกัน)

การผนึกพลังผสานความต่าง โดยการร่วมมือกันกับคนอื่นอย่างสร้างสรรค์ เป็นการนำข้อดีของอุปนิสัยทั้งหมดมารวมเข้าด้วยกันเพื่อทำงานใหญ่ให้สำเร็จ
- ถ้าเราสามารถ ฝึก อุปนิสัยที่ 4 และ 5 ผ่านแล้ว จะทำให้เราสามารถ ผนึกพลังแนวความคิด ที่แตกต่างของแต่ละคน มาช่วยกันเป็นจุดเสริม เป็นทางเลือกใหม่ ทีมีประสิทธิผลมากขึ้น
- ผลรวมทั้งปวงจะมากกว่าการเอาแต่ละส่วนประกอบมาบวกกัน เช่น การเกิด Synergize ไม่ใช้การหารือร่วมกันเพื่อเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่ง ของแต่ละคน แต่เป็นการนำ ข้อดีของแนวทางของแต่ละคน มารวมกันเป็นทางเลือกใหม่ ให้มีประสิทธิผลการขึ้น กว่าการนำแนวทางของแต่ละคนมารวมกัน

คนที่จะสามารถสร้าง Synergy ได้จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

Communication คือ การสื่อสาร จะต้องเป็นคนที่คุยกับคนอื่นรู้เรื่อง สามารถที่จะสื่อภาษายากๆ ให้เป็นภาษาเข้าใจง่ายๆ ได้ เพื่อที่จะทำให้คนอื่นเห็นภาพเป้าหมาย เพื่อที่จะได้ช่วยกันสรรหาวิธีการไปสู่เป้าหมายแบบใหม่ๆ ได้นั่นเอง หลายๆ คนที่ไม่สามารถสร้าง Synergy ได้สาเหตุก็มาจากการที่เขาพูดไม่รู้เรื่อง พูดโดยใช้แต่คำศัพท์ที่เลิศหรู ภาษาเทพ ซึ่งทำให้ทีมงานงงเป็นไก่ตาแตก แล้วแบบนี้ใครจะมาช่วยคิดอะไรใหม่ๆ ได้ เพราะแค่เป้าหมายยังมองไม่เห็นเลย แล้วจะไปหาวิธีการไปสู่เป้าหมายได้อย่างไรCooperation คือ การประสานและร่วมมือกัน การที่จะสร้าง Synergy ได้ คนที่เป็นผู้นำ หรือหัวหน้าทีม จะต้องมองเห็นจุดเด่นของทุกคนในทีม และสามารถที่จะดึงเอาจุดเด่นของแต่ละคนเข้ามาประสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ผิดกับหัวหน้างานบางคนที่พอเห็นลูกน้องบางคนบริหารยาก เป็นคนที่นิสัยไม่ค่อยดี ก็จะพยายามไม่ให้ลูกน้องคนนี้เข้ามามีส่วนร่วมกับงาน ทั้งๆที่เขาอาจจะมีอะไรดีๆ ก็ได้ ดังนั้นคนที่จะสร้าง Synergy ได้ก็คือ จะต้องไม่มองคนแบบฉาบฉวย แต่ต้องมองให้ลึกลงไป หาต้องหาจุดดีของแต่ละคนให้เจอ หรือบางคนคิดแค่เพียงว่า ถ้าใครคิดไม่เหมือนกับเรา ก็ไม่ต้องมาทำงานร่วมกัน แบบนี้ไม่ใช่คนที่จะสร้าง Synergy ได้เลยอุปนิสัยที่ 7 Sharpen the Saw (Production (results) requires development of Production Capability (resources) )

“ผมไม่มีเวลามาลับคมหรอก เพราะผมกำลังยุ่งกับการเลื่อยอยู่” ชีวิตของคุณเป็นแบบชายตัดไม้คนนี้หรือเปล่า ก็คือ มัวแต่ยุ่งกับการทำงานจนไม่มีเวลาที่จะพัฒนาตนเอง เราจะต้องหมั่นลับคมเลื่อยเพื่อให้เราเป็นคนที่มีประสิทธิผลมากที่สุด โดยแบ่งเป็น 

การฝึกฝนด้านกายภาพ (ทำร่างกายให้สมบูรณ์)ด้านแรกที่คนเราทุกคนควรจะหมั่นลับคมเลื่อยอยู่เสมอ ก็คือ ความสมบูรณ์ทางด้านร่างกายนั่นเอง การที่เราจะทำงานได้ดี มีผลงานชั้นเยี่ยมได้นั้น เราต้องอาศัยร่างกายที่แข็งแรงด้วย ดังนั้นถ้าเราปล่อยให้ร่างกายทรุดโทรม ทำงานหามรุ่งหามค่ำ โดยไม่สนใจตัวเองเลย เราจะทำงานได้ไม่นานครับ สักพักเราอาจจะต้องเอาเงินที่หามาได้ทุกบาททุกสตางค์มาเป็นค่ารักษาพยาบาลตัวเราเองนี่และ ดังนั้น อย่าลืมหมั่นลับคมเลื่อยทางด้านร่างกาย โดยการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ และหาวิธีขจัดความเครียดที่เกิดขึ้น เพราะความเครียดไม่มีผลดีต่อร่างกายของเราเลยการฝึกฝนด้านสติปัญญา (อ่าน หนังสือ หาความรู้ใหม่อยู่เสมอ) ด้านที่สองที่เราต้องหมั่นลับคมเลื่อยก็คือ ด้านสติปัญญาของเรานั่นเอง ซึ่งหมายถึงความรู้และทักษะต่างๆ ที่ทำให้เราเป็นคนที่เก่งขึ้น ดีขึ้นนั่นเอง วิธีการพัฒนาความรู้และทักษะมีอยู่หลายวิธีครับ ลองเลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเองน่าจะดีที่สุดครับ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือเพื่อพัฒนาความรู้ต่างๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ การเข้าหลักสูตรฝึกอบรมด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะในการทำงานและการใช้ชีวิต การพิจารณากรณีศึกษาของคนอื่น ทั้งที่เป็นคนเก่ง และไม่เก่ง เพื่อที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากกรณีเหล่านี้

การฝึกฝน ด้านจิตวิญญาณ ( ทำสมาธิ หรือ การใช้เวลากับธรรมชาติ) ด้านที่สามที่เราต้องหมั่นลับคมเลื่อยก็คือ ด้านจิตใจ ก็คือการพัฒนาจิตใจของเราให้มีทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่ดี เข้าใจผู้อื่น และสร้างความสงบให้กับจิตใจของเราบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือเพื่อสร้างพลังใจ และการนั่งสมาธิเพื่อทำให้จิตใจสงบ และสร้างพลังของจิตใจให้พร้อมที่จะต่อสู้ต่อไป

เสียอะไรเสียได้อย่าเสียใจ เพราะมันหมายถึงการสูญสิ้นทุก ๆ อย่าง
อดีตจบไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง ทำปัจจุบัน ขณะจิตให้ดีที่สุด
ความคิดมีตัวตน คนจะเป็นอย่างที่คิด จงพูดอย่างที่คิดและทำอย่างที่พูดการฝึกฝนด้านความสัมพันธ์ ด้านที่สี่ที่เราต้องหมั่นลับคมเลื่อยก็คือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นที่เรารู้จัก การที่เรารู้จักใครแล้ว เราไม่สานความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยการพูดคุยกัน หรือติดต่อสื่อสารกัน นานๆ เข้า ความสัมพันธ์ที่ดีก็จะค่อยๆ หายไป จนอาจจะกลายเป็นคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลยก็ได้




ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง


จิตใต้สำนึก Subconscious

ในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อวิชาจิตวิทยาแรกเริ่มมีฐานะเป็นศาสตร์ แยกตัวเป็นเอกเทศจากเป็นส่วนแทรกอยู่ในศาสตร์อื่น ๆ นั้น ในช่วงนั้นนักศึกษาค้นคว้ามุ่งหาความเข้าใจ จิตสำนึก เท่านั้น ฟรอยด์ เป็นผู้ริเริ่มให้ความสนใจกับ จิตไต้สำนึก เขาเปรียบ เทียบว่า จิตใจมนุษย์ มีสภาพคล้าย ภูเขาน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร มีส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ำ เป็นส่วนน้อย ยังมีส่วนอยู่ใต้ผิวน้ำ เป็นส่วนใหญ่ ภาวะจิต ระดับที่มี ความสำนึก ควบคุมอยู่เช่นเดียวกับ ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่เหนือผิวน้ำ ภาวะจิตระดับใต้สำนึก เหมือน ส่วนที่อยู่ใต้ผิวน้ำ เป็นที่สะสมองค์ประกอบของจิตไว้มากมาย ฟรอยด์อธิบายว่า จิตระดับใต้สำนึก นี้มีกลไกทางจิต หลายประเภท ด้วยกัน เช่น แรงจูงใจ, อารมณ์ที่ถูกเก็บกด, ความรู้สึกนึกคิด,ความฝัน, ความทรงจำ ฯลฯ พลังจิตใต้สำนึก มีอิทธิพลบ เหนือจิตสำนึกกระตุ้น ให้ปฏิบัติพฤติกรรม ประจำวันทั่ว ๆ ไป, เป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมไร้เหตุผล และผิดปกติในลักษณะต่าง ๆ ฟรอยด์ได้ใช้เวลาศึกษา เรื่องจิตใต้สำนึก อยู่ถึง ๔๐ ปี ได้เขียนหนังสืออธิบายเรื่องนี้ไว้ยืดยาว ภาวะจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก แสดงประกอบด้วยภาพดังนี้
ภาวะสำนึกและจิตใต้สำนึก



รูป เปรียบเทียบจิตทั้งส่วนสำนึก และส่วนใต้สำนึก เหมือน ภูเขาน้ำแข็ง ลอยในมหาสมุทร ส่วนลอยเหนือน้ำต้อง แสงสว่างและอากาศ ปรากฏแก่ สายตาโลก คือ จิต หรือ พฤติกรรม ที่อยู่ในความควบคุมของ ความสำนึกตัว ส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ (ซึ่งปริมาณมากกว่า) อยู่ใน ความมืดกว่า ไม่ปรากฏแก่สายตาโลก คือ จิตใต้สำนึก อันเป็นภาคสะสม ประสบการณ์ในอดีตมากมาย ถูกบีบอัด เก็บกด หรือคอย เพื่อให้สม ปรารถนา เพื่อให้ได้ จังหวะเหมาะ สำหรับตอบสนองสิ่งเร้า อันยังไม่ได้ทำ หรือทำ ไม่ได้ในภาวะปกติ (เช่น กฎหมายห้าม, ประเพณีไม่ยอมรับ ว่าถูก, สังคมไม่นิยม ฯลฯ)
รูปซ้ายมือ เปรียบเหมือนเวลาอันเป็นปัจจุบันเท่านั้น และมีความเป็นปกติบุคคลย่อมรู้สึกสงบ สบาย มีสติ พลังจิตสำนึก ควบคุมพฤติกรรม ทั้งหลาย ให้เป็นไปตามที่เขาเห็นว่า ถูกต้อง,สมควร, ทำโดยเคารพกฎหมายและระเบียบของสังคม, รูปขวามือแสดงว่าเวลาลมฟ้าอากาศ แปรปรวน มหาสมุทรมีคลื่นจัด ภูเขาน้ำแข็งโครงเครง ส่วนที่เคยจมใต้น้ำ โผล่ขึ้นเหนือน้ำ ให้มองเห็นได้ เทียบได้กับยามบุคคล มีอารมณ์ขุ่นมัว เคร่งครัด ด้วยความโกรธ เกลียด อิจฉา พยาบาท กลัว ตื่นเต้น วิตก เจ็บป่วย ฯลฯ พลังจิตใต้สำนึกที่ไม่มีโอกาสได้แสดง พฤติกรรมออกมานั้น มักแปรรูปเป็นพฤติกรรมผิดปกติ รูปใดรูปหนึ่งก็ได้ เช่น รู้สึกกลัวตลอดเวลา กามวิปริตซึมเศร้าตลอดเวลาฯลฯ การช่วยเหลือบุคคล ที่มีพฤติกรรมผิดปกติประเภทนี้ จำเป็นจะต้องเข้าใจหยั่งรู้ถึง พลังจิตใต้สำนึก ที่เป็นต้นเหตุ จิตแพทย์สกุลฟรอยด์ อาจใช้วิธีการสะกดจิต หรือทำการบำบัดแบบ Free Association เพื่อให้คนไข้เปิดเผยพลังจิตใต้สำนึก ซึ่งเขาไม่เคยเล่า, ไม่เคยเปิดเผย, ไม่เคยแสดงออก หรือซึ่งเจ้าตัวเองก็อาจไม่ตระหนักรู้มาก่อน

อนึ่ง พลังจิตใต้สำนึกมีหลายระดับ บางอย่างอยู่ในระดับตื้น บางอย่างอยู่ในระดับลึก และยังแตกต่างกันในแง่พลังแรงเข้ม หรืออ่อน ของการขับดัน ด้วยจากข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้อธิบายหรือทำความเข้าใจได้ว่า คนแต่ละคนแตกต่างกัน ในรูปของ พลังจิตสำนึก และใต้สำนึก ฉะนั้น คนแต่ละคนจึงมีบุคลิกภาพไม่เหมือนกัน


รูปที่ ๓ พลังจิตสำนึกและใต้สำนึก กระตุ้นให้มนุษย์ประกอบพฤติกรรมต่าง ๆ นานา พฤติกรรมบางประเภทถูกกระตุ้นโดยจิตสำนึกอย่างเดียว (เครื่องหมาย ๑) และจิตใต้สำนึกปะปนกัน (เครื่องหมาย ๒) เช่น บางคราวเผลอพูด คิด ทำ แล้วมีสติระลึกได้ทันทีว่าควรหรือไม่ควร จึงเปลี่ยนคำพูด วิธีคิด การกระทำพฤติกรรมบางประเภทถูกกระตุ้นโดยจิตใต้สำนึกอย่างเดียว (เครื่องหมาย ๓) เช่น ความฝัน การพลั้งปาก การทำอะไรอย่างเผลอไผล ไม่รู้ตัว

โครงสร้างบุคลิกภาพ

ฟรอยด์อธิบายว่า โครงสร้างบุคลิกภาพ ประกอบด้วยพลัง ๓ ประการ ได้แก่ Id, Ego และ Super Ego (ยังไม่พบศัพท์ภาษาไทย ที่แปลตรงความหมายอย่างแม่นยำ จึงขอให้ทับศัพท์ด้วยภาษาอังกฤษไปพลางก่อน – ผู้เขียน ) พลังทั้ง ๓ มีลักษณะเฉพาะตัว แต่ก็มีอิทธิพลต่อกันและทำงานร่วมกัน บุคลิกภาพของผู้ใดมีลักษณะใดขึ้นอยู่กับพลัง Id, Ego และ Super Ego ทำงานประสานร่วมกันในลักษณะอย่างไร

(๑) Id เป็นพลังงานติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด จึงหมายรวมทั้งสัญชาตญาณด้วย มักเกี่ยวพันกับการสนองความปรารถนาทางกาย เป็นพลังเพื่อให้ได้มาซึ่งความพอใจโดยไม่คิดคำนึงถึงเหตุผลตามความเป็นจริง หรือความถูกต้องดีงามแล้วพลัง Id จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พลังแสวงหาความสุข (Pleasure Seeking Principle) พฤติกรรมที่เกิดจากการกระตุ้นของพลัง Id มีหลายรูปแบบซึ่งไม่พึงประสงค์จะพรรณนา ณ ที่นี้ ในช่วงวัยเด็กพลัง Id มีหลายรูปแบบ ซึ่งไม่พึงประสงค์จะพรรณนา ณที่นี้ ในช่วงวันเด็กพลัง Ego และ Super Ego หากเก็บถูกกักกันมากเกินไปไม่ให้ได้รับความพึงพอใจ ตอบสนอง Id ดังนี้จะเป็นผลร้ายต่อพัฒนาการบุคลิกภาพที่สมดุล ในภายหน้า เช่น เป็นคนอ่อนไหวง่ายต่อคำสรรเสริญ นินทา เป็นต้น

(๒) Ego เป็นพลังแหงการรู้และเข้าใจ, การรับรู้ข้อเท็จจริง, การใช้เหตุผล, การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย, การแสวงหาวิธีการเพื่อตอบสนองพลัง Id เช่น เมื่อหิว (Id)พลัง Ego ก็จะใช้เหตุผลตรึกตรองว่าจะบำบัดความหิวโดยวิธีใด ตามสถานภาพแวดล้อม เช่น ไปสำรวจตู้เย็น ทำอาหารเอง? ไปรับประทานอาหารนอกบ้าน?ฯลฯ จึงมีชื่อเรียก Ego อีกอย่างพลัง 'รู้ความจริง' (Reality principle)

(๓) Super Ego เป็นพลังที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่นเดียวกับ Ego แต่แตกต่างจาก Ego โดยลักษณะคือเป็นส่วนหนึ่งเกี่ยวกับค่านิยมต่าง ๆ เช่น ความดี ชั่วถูก ผิดมโนธรรม ความยุติธรรม ฯลฯ Super Ego หักห้ามความรุนแรงของพลัง Id โดยเฉพาะพลังจากสัญชาตญาณแรงขับทางเพศและความก้าวร้าว

(๔) การทำงานร่วมกันของพลังทั้ง ๓ : ลักษณะบุคลิกภาพของคนเกิดจาก การทำงานร่วมกันของพลังทั้ง ๓ นี้ พลังใดมีอิทธิพล เหนือพลังอื่น ย่อมเป็นตัวชี้ลักษณะบุคลิกภาพของคนนั้น เช่น ถ้าพลัง Id มีอำนาจสูง บุคลิกของคนผู้นั้นก็เป็นแบบเด็กไม่รู้จักโต, เอาแต่ใจตนเอง ถ้า Ego มีอำนาจสูง คนนั้นจะเป็นคนมีเหตุผล เป็นนักปฏิบัติ ถ้า Super Ego มีอำนาจสูง ก็เป็นนักอุดมคตินักทฤษฎี ดร. ประมวญ คิดคินสัน ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างน่าฟังว่า
"สำหรับบุคลิกภาพอันพึงประสงค์ คือ ความมี Ego เข้มแข็ง สามารถจัดการกับ Id ได้อย่างมีสมรรถภาพ โดยอาศัยหลักแห่งความจริงเป็นที่ตั้ง และสามารถโน้มน้อม Super Ego ให้เข้าสู่หลักแห่งความจริง เพื่อให้เกิดการประสมประสานอย่างสนิทสนมในการดำเนินชีวิต" (๒๕๑๙, หน้า ๒๗๔)
รูปภาพที่ ๔ แสดงการปะทะสังสรรค์ของพลัง id, ego, super-ego ซึ่งเป็นโครงสร้างบุคลิกภาพ บุคลิกภาพสับสนตั้งแต่เบาจนถึงรุนแรงเกิดจากพลัง egoสามารถควบคุมพลัง id และ super-ego ได้ดีเพียงใด
ขั้นตอนการพัฒนาบุคลิกภาพ

Hall และ Lindzey (๑๙๗๘) กล่าวว่า บางทีฟรอยด์อาจเป็นนักทฤษฎีบุคลิกภาพคนแรก ที่อธิบายเรื่องขั้นต้อน การพัฒนาบุคลิกภาพ ของมนุษย์ เขาย้ำนักหนาว่าลักษณะพัฒนาการและประสบการณ์ในวัยทารก และวัยเด็กเป็นรากฐานบุคลิกภาพของมนุษย์เมื่อเป็นผู้ใหญ่ การพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่เป็นการเสริมต่อจากรากฐานนั้นความจริงฟรอยด์มีประสบการณ์เรื่องเด็กไม่มาก เขาศึกษาพัฒนาการวัยเด็กจากการสอบสวนสาเหตุที่ผู้ใหญ่ประสบปัญหาทางอารมณ์และจิตใจเป็นเวลานาน โดยสืบสาวหา
ต้นเงื่อนของปัญหาต่าง ๆ นั้นที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ฟรอยด์เชื่อว่า ความต้องการทางร่างกายเป็นความต้องการตามธรรมชาติของคน ซึ่งทัดเทียมกับสัตว์ประเภทอื่น ๆ ความต้องการนี้เป็นพลังชีวิต ทำให้คนแสวงหาความสุขความพอใจจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (Zone) ที่แตกต่างไปตามวัย พัฒนาไปเป็นขั้นตอนตามลำดับ เริ่มต้นจากแรกเกิดจนสิ้นสุดในวัยรุ่น พัฒนาการนี้เรียกว่า "Psychosexual developmental stage" บุคคลใดพัฒนาไปตามขั้นตอนดังกล่าวด้วยดี ก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ หากไม่เป็นไปดังกล่าวก็จะเกิดสภาวะ "ติดข้ออยู่" (fixation)อาจเป็นการติดต่อข้องอยู่ในขั้นใดขั้นหนึ่งหรือหลายขั้นก็ได้ ผู้ใดติดข้องอยู่ในวัยใดขั้นใด ก้ยังคงแสวงหาความพอใจในขั้นที่ติดข้องอยู่ต่อไปแม่ว่าจะผ่านวัยนั้น ๆ ที่เป็นไป ตามขั้นตอนมาแล้ว สภาพ "ติดข้องอยู่" มีผลต่อพัฒนาการด้านบุคลิกภาพในแง่ลบ แต่บุคคลสามารถเปลี่ยนพลังนี้ให้เป็นบวกได้ หากเขารู้จักปรับตัว
ฟรอยด์ได้อภิปรายถึงขั้นตอนทั้ง ๕ ดังต่อไปนี้

(๑) ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะปาก (Oral stage) ช่วงนี้โดยประมาณตั้งแต่คลอดจนถึง ๑๘ เดือน ทารกมีความสุขในชีวิตโดย ทำกิจกรรมต่าง ด้วยปาก เช่นการดูด เคี้ยว กัด เล่นด้วยเสียง ผู้ที่มีพัฒนาการขั้นนี้ไม่สมบูรณ์ในช่วงวัยนี้ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ยังชอบ แสวงหาความสุขด้วยปากอยู่อีก เช่น ชอบกินจุบจิบ ชอบพูดคุย ชอบ เคี้ยวหมากฝรั่ง ชอบนินทา ชอบสูบบุหรี่ ฯลฯ

(๒) ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะทวารหนัก (Anal stage) ช่วงนี้อายุโดยประมาณตั้งแต่ ๑๘ เดือนถึง ๓ ปี เป็นช่วงที่ทารก หาความสุข โดยทำกิจกรรมที่ใช้ทวารหนัก หากช่วงเวลสนี้มีพัฒนาการไม่สมบูรณ์ทารกนั้น จะโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีบุคลิกภาพเป็น คนเจ้าระเบียบ จู้จี้พิถีพิถัน รักความสะอาดอย่างมาก

(๓) ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะเพศปฐมภูมิ (Phallic stage) ช่วงนี้อายุโดยประมาณตั้งแต่ ๓ ถึง ๖ ปี เด็กมีความพึงพอใจ ทำกิจกรรมที่เนื่องด้วยอวัยวะเพศ เช่น เล่นกับอวัยวะเพศของตน กิจกรรมนี้อาจทำให้พ่อแม่ตกใจ ควรทำความเข้าใจเสียว่า เป็นการเล่นขั้นหนึ่งในการพัฒนาการตามธรรมชาติ เมื่ออายุผ่านพ้นไปแล้วเด็กเลียน แบบผู้ใหญ่เพศเดียว กับตน ซึ่งตนรู้สึกรัก ใกล้ชิดสนิทสนม ถ้าตัวแบบนั้นเป็นพ่อแม่ของตน จะเป็นยุคเด็กชาย "ติดแม่" และ "เอาอย่างพ่อ" เป็นพิเศษในเพศกลับกัน เด็กหญิง "ติดพ่อ" และ "เอาอย่างแม่" เป็นพิเศษเช่นเดียวกัน ช่วงนี้ฟรอยด์เชื่อว่าเป็นช่วงเวลาวิกฤต (Critical period) สำหรับเลียนบทบาททางเพศให้คล้อยตามเพศของตนเอง เด็กหญิงเด็กชายที่ละเลย การเลียนแบบให้ถูกแนวในระยะเวลานี้ จะโตเป็นหญิงสาวชายหนุ่มที่นิยม แบบบทบาททางเพศตรงข้ามกับ เพศทางกายจริงของตน ฟรอยด์ยังเชื่อว่า การรู้จักผูกรักกับเพศตรงข้ามมีต้นกำเนิด ในช่วงเวลานี้เช่นกัน และเขายังอธิบายปมเอดิปัสไว้อย่างละเอียดว่าพัฒนาขึ้นในระยะเวลานี้ ซึ่งฟรอยด์ได้อธิบายเกี่ยวกับปม (Complex) นี้อย่างละเอียดแต่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้อย่างสังเขปมาก พร้อม ๆ กับการเลียนบทบาททางเพศ เด็กเริ่มพัฒนาความก้าวร้าว, อยากเป็นตัวของตัวเอง และเริ่มแสวงหาอัตลักษณ์แห่งตน (Self Identity)

(๔) ขั้นแสวงหาความสุขจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว (Latency stage) ช่วงนี้อยู่ระหว่างอายุประมาณ ๖ ถึง ๑๑ ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาพัก พัฒนาทักษะใหม่ (ศัพท์วิชาจิตวิทยาพัฒนาการเรียกว่า ระยะ plateau) พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นไปอย่างเชื่องช้า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านมา ระยะเวลานี้เด็กเริ่มพัฒนาชีวิตสังคมนอกครอบครัว ดังนั้นจึงแสวงหาความพึงพอใจ จากการติดต่อ กับผู้คนรอบตัวและเพื่อนร่วมวัย เพื่อนสนิทเป็นคนเพศเดียวกันมากกว่าคนต่างเพศ ทั้งนี้เป็นการสืบเนื่องจาก การเลียนและ เรียนบทบาททางเพศต่อออกไปจาขั้นที่ ๓ ข้างต้นดังนี้

(๕) ขั้นแสวงหาความสุขจากแรงกระตุ้นของทุติยภูมิทางเพศ (Genital stage) เด็กอายุประมาณ ๑๒ ถึง ๒๐ ปีย่างเข้าสู่วัยรุ่น และเริ่มเป็นผู้ใหญ่ ลักษณะทุติยภูมิ ทางเพศบรรลุวุฒิภาวะสมบูรณ์ทำงานได้เต็มที่ (เช่น เด็กหญิงมีระดูหน้าอกขยาย รังไข่ผลิตไข่ เพื่อสืบพันธุ์ เด็กชายถึงวัยผลิตน้ำอสุจิ ฯลฯ ) เด็กทั้งสองเพศมีความพอใจ คบหาสมาคม รักใครผูกพันกับเพื่อนต่างเพศ ขณะเดียวกันก็พยายามประพฤติตนให้สมบทบาททางเพศ โดยเลียนแบบคนเพศเดียวกันที่ตัวนิยม ระยะนี้มักเห้นแจ่มแจ้งว่า เด็กคนใดแสดงบทบาททางเพศผิดปกติ พวกนี้ได้แก่ผู้นิยมแสดงบทบาททางเพศตรงข้างเพศจริงของตน อีกพวกหนึ่งคือ เด็กที่ไม่มีเยื่อใย ต้องใจบุคคลต่างเพศ หรือเป็นเด็ก เลียนแบบบทบาททางเพศจากคนต้นแบบที่ผิด (เด็กที่แสดงบทบาททางเพศผิด ๆ ที่เรียกว่า ทอม ดี้ ตุ๊ด นั้นมีสาเหตุอย่างไรเป็นเรื่องยืดยาวเกินที่จะบรรยายได้ในที่นี้)
ผู้มีอายุตอนปลายในขั้นตอนนี้ ถ้าไม่ติดพันกับการศึกษา หรือการเริ่มอาชีพแล้ว มักแสวงหาคู่ครองแต่งงาน และครอบครัว
ฟรอยด์ย้ำว่า เมื่อเด็กพัฒนาถึงขึ้นนี้แล้วมิได้หมายความว่า เลิกแสวงหาความสุขจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ทางปาก ทางทวารหนัก ที่ผ่านมาแล้วในวัยต้น ยังอาจแสวงหาความสุขแบบนั้นต่อไป แต่ลดความติดใจและความเข้มข้นลง ผู้ที่พัฒนาตามขึ้นไม่สมบูรณ์ก็เกิดภาวะติดข้องอยู่ ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมแอบแฝงรูปแบบ ต่าง ๆ หรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบอย่างอื่น ทางอ้อมแต่แรงจูงใจที่เป็นพื้นฐานคือภาวะติดข้องอยู่

กล่าวโดยสรุป บุคลิกภาพที่ดี คือการประสมประสาน การได้รับความพอใจตอบสนองแรงกระตุ้นจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเหล่านั้น ในอัตราส่วนที่เหมาะเจาะพอควรสมตามวัย แนวคิดเรื่อง Psychosexual developmental stage สัญชาติญาณ
ฟรอยด์กล่าวว่า สัญชาตญาณเป็นเรื่องที่อธิบายยากมาก เพราะตนเองก็ยังไม่เข้าใจสัญชาตญาณทั้งหมด อย่างดรก้ดีเขาได้อธิบาย สัญชาตญาณ ๒ ประเภทไว้ คือ ฐิติสัญชาตญาณ (Life Instinct) หรือมุ่งเป็น และภังคสัญชาตญาณ (Death Instinct) หรือมุ่งตาย (ศัพท์ 'ฐิติ' และ 'ภังคะ' เดิมเป็นศัพท์ในคัมภีร์พุทธสาสนา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน รับเข้าบรรจุไว้เป็นคำไทยแล้ว มีความหมายตรงตัว กับศัพท์อังกฤษในที่นี้จึงได้นำมาใช้) ๗๘๕๔

รวบรวมจาก หนังสือ "พลังจิตใต้สำนึก" โดย Dr Joseph Murphyคุณเกิดมาเพื่อชัยชนะ และฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงด้วยพลังที่ทรงอานุภาพภายในกาย ซึ่งรอให้คุณปลุกขึ้นมาใช้ประโยขน์
จรงสร้างภาพแห่งความสำเร็จ และตระหนักถึงจุดมุ่งหมายในชีวิต จากนั้นจิตใต้สำนึกก็จะสนองตอบ และผลักดันให้คุณบรรลถึง ซึ่งความสำเร็จแนวคิดต่างๆล้วนถูกลำเลียงสู่จิตใต้สำนึก ด้วยการกล่าวย้ำซ้ำทวน รวมทั้งการมีความเชื่อมั่น และคาดหวังกฎแห่งจิตใต้สำนึกไม่มีวันล้มเหลว และอะไรก็ตามที่ประทับลงไปในนั้น มันจะทำให้ปรากฎเป็นจริงขึ้นมาคุณร่ำรวยเพราะสิ่งที่มีอยู่ภายใน... ทุกอย่างเป็นไปตามความเชื่อของคุณนั่นเองสูตรมหัศจรรย์แห่งความสำเร็จ คือการกล่าวย้ำซ้ำเตือนด้วยอารมณ์ความรู้สึกว่า..... "พระเจ้าทรงชี้แนะวิถีทางที่ดีกว่า เพื่อให้ฉันได้มีโอกาสรับใช้มนุษยชาติ"ฉันเคารพ และอัญเชิญพระเจ้ามาประดิษฐานอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ฉันดำรงรักษาไว้ซึ่งความมีสุขภาพดี ความเลื่อมใสศรัทธา และเคารพยำเกรงต่อสภาวะแห่งความประเสริฐสุดภายในกาย"จงตัดสินใจควบคุมชีวิตของเราเอง และคิดอย่างสร้างสรรค์ตามแนวทางของพระเจ้า เพื่อมิให้ต้องพบกับการแกว่งไกวของโชคเคราะห์จงเดินทางเข้าไปในจิตวิญญาณ แล้วคุณจะค้นพบความร่ำรวยแห่งสวรรค์ แฝงฝังอยู่ในส่วนลึกจงปรับคลื่นเข้าสู่พลังอันไร้ของเขต พร้อมกับล่วงรู้และรู้สึกว่าพลังไร้ขอบเขตเบื้องบนได้กำหนด ควบคุมและชี้นำชีวิต แล้วคุณจะถูกนำไปสู่ชีวิตที่สร้างสรรค์และสมดุล เป็นอิสระหลุดพ้นจากการแกว่งไกวอย่างรุนแรงของโชคชะตา. เราสามารถหนุนเนื่องตัวเองให้อยู่เหนือภาวะจำยอม และพันธนาการทั้งหลาย ของมวลแห่งจิตใจ ด้วยการอัญเชิญพระเจ้าเข้ามาอยู่ในจิตใจ และตระหนักว่า ความรักของพระองค์ อาบไร้จิตวิญญาณ ส่วนปัญญานั้นชโลมความคิดของคุณความร่ำรวยเริ่มต้นที่ตัวคุณ ความคิดและความรู้สึกเป็นผู้สร้างโชคชะตา พลังอำนาจ คุณสมบัติ และศักยภาพต่างๆ แห่งพระเจ้า ถูกปิดกั้นอยู่ภายในจิตใต้สำนึก และคุณมีกุญแจที่เปิดเข้าสู่ขุมทรัพย์ภายใน นั่นก็คือ "ความคิดของคุณเอง"มีพลังซ่อนเร้นอยู่ในตัวเราซึ่งสามารถหนุนเนื่องให้หลุดพ้นจากความเจ็บไข้ได้ป่วย จัดวางคุณไว้บนเส้นทางสู่ความสุขสงบและพรอันประเสริฐทั้งมวลแห่งชีวิตมิใช่พายุ แต่เป็นใบเรือที่กำหนดทิศทางเรือฉันใด ความคิด ความรู้สึก และภาพจินตนาการของคุณ ที่กำหนดอนาคต และนำความร่ำรวยมาสู่ชีวิตความเชื่อมั่นศรัทธาคือการคาดหมาย อย่างมั่นใจว่า ภาพจินตนาการที่คุณสร้างขึ้นในใจจะกลายเป็นจริงจงเติมจิตสำนึกด้วยสัจธรรมแห่งพระเจ้า แล้วคุณจะลบล้างและถอนรากถอนโคนรูปแบบในทางทำลายออกไป จากจิตใต้สำนึก ได้อย่างหมดสิ้นการปรากฎของพระเจ้านั้น มาในรูปแบบของระเบียบวินัย ความสอดคล้องกลมกลืน สุขสงบ ความรัก การมีสุขภาพแข็งแรง และความเพียบพร้อมจิตของพวกเราเป็นหนึ่งเดียว จิตไม่อยู่ในเงื่อนไขของเวลาและระยะทางเราสามารถพัฒนาประสาทสัมผัสพิเศษ โดยการถ่ายทอดแนวความคิดนี้ลงสู่จิตใต้สำนึก อันเป็นรากฐานที่ตั้งของประสาทสัมผัสพิเศษ ทั้งหลายทั้งปวงหน้าที่หลักของมนุษย์ คือการเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าจงทำตัวให้ใกล้ชิดพระเจ้า แล้วพระองค์จะใกล้ชิดท่านทุกๆสิ่งเกิดขึ้นเป็นคู่เสมอ เช่นกลางวัน-กลางคืน รุ่งเรือง-เสื่อมถอย, เหนือ-ใต้, ชาย-หญิง, สร้างสรรค์-ทำลาย, ใน-นอก, หวาน-ขม, หยุดนิ่ง-เคลื่อนไหว, ดีใจ-เสียใจความคิดของคุณ เกิดขึ้นเป็นคู่เสมอ ความคิดที่มาจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ต้องมลายไป และความคิดที่มีอยู่ในพระเจ้า จะต้องถูกฟื้นฟูและดำรงอยู่ในตัวคุณจงแนบชิดสนิทกับพระเจ้า แล้วคุณจะมีจิตใจที่เยือกเย็นบรรลุถึงความมุ่งมาดปรารถนาทั้งมวลความสงบเย็นและความสันติสุขของพระเจ้า รอคอยอยู่หน้าประตูแห่งจิตวิญญาณของคุณตลอดเวลาคุณเกิดมาในโลกนี้เพื่อแสดงตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ในสิ่งที่อยากทำคุณเป็นแม่พิมพ์ ผู้กำหนดรูปแบบและสร้างโชคชะตาตนเองด้วยวิถีแห่งความคิดจิตใต้สำนึกของคุณ ตอบสนองต่อธรรมชาติแห่งความคิดและจินตนาการของจิตสำนึกจงเรียกร้องต่อความเฉลียวฉลาดไร้ขอบเขตภายใน ให้แสดงแนวคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่อย่างชัดเจน.......จงเชื่อมั่น เพราะสิ่งต่างๆล้วนเป็นไปตามความเชื่อของคุณเจตนารมณ์ของพระเจ้า ก็คือให้คุณมีชีวิตที่มั่งคั่งสมบูรณ์ในโลกนี้จิตแห่งสากลจักรวาล มีช่องทางนับพันๆล้านในการอำนวยพรอันประเสริฐ และคุณคือช่องทางของพระเจ้า จงยอมรับความดีงาม ของคุณเสียแต่บัดนี้ถ้าใครบางคนชี้แนะว่า คุณเกิดมาเพื่อความสำเร็จหรือมีชัยชนะเหนือปัญหาชีวิตทั้งหลาย และคุณยอมรับสิ่งนี้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยปราศจากความเคลือบแคลงแม้แต่น้อย ความมหัศจรรย์ ก็จะปรากฎขึ้นในชีวิตคุณจงมองให้เหนือกว่าภาพที่ปรากฏ และมุ่งมั่นอยู่กับความปรารถนาให้สิ่งที่มุ่งหมายกลายเป็นจริง แล้วคุณจะทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้จงเชื่อมั่นในความดีงามแห่งพระเจ้า เชื่อในแรงบันดาลใจ เชื่อในชีวิตที่มั่งคั่งยิ่งๆขึ้นไปคุณคือท่อธารแห่งพระเจ้า ดังนั้นความร่ำรวยจะหลั่งไหลผ่านตัวคุณโดยไม่จำกัดจงเชื่อมั่นว่า คุณคือบุตรแห่งพระเจ้า และเชื่อว่าคุณได้รับถ่ายทอดคุณสมบัติและพลังอันไร้ขอบเขตแห่งพระเจ้า หากยึดมั่นความเชื่อนี้ไว้อย่างเหนี่ยวแน่น ก็จะสามารถสร้างความมหัศจรรย์ให้กับชีวิต จงเชื่อมั่นว่าคุณสามารถทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จลงได้ด้วย พลังอำนาจ อันเข้มแข็งแห่งพระเจ้าที่ส่งผ่านตัวคุณถ้าคุณกล่าวกับภูเขาแห่งความยากลำบาก อุปสรรค ปัญหา ให้เคลื่อนย้ายด้วยความเชื่อมั่นว่าพลังอันไร้ของเขตสามารถดลบันดาล มันก็จะกลายเป็นจริงทั้งหมดล้วนเป็นไปตามความเชื่อของคุณ จงเชื่อมั่นว่า พลังอันไร้ของเขตของพระเจ้า.......สรรพสิ่งล้วนเป็นไปได้ทั้งสิ้นศรัทธาที่แน่นเหนียว การคาดหมายที่ยิ่งใหญ่ ไฟแห่งจินตนาการศรัทธาบำบัด เกิดด้วยแรงศรัทธาเชื่อมั่น จิตวิญญาณบำบัด คือปฏิกิริยาที่สอดคล้องของจิตสำนึก และจิตใต้สำนึก เป็นการชี้นำอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มันมิใช่สิ่งที่เราเชื่อมั่น แต่เป็นตัวความเชื่อมั่นเอง ที่ก่อเกิดพลังบำบัดอันน่าทึ่งขึ้นมาจงแปลเปลี่ยนความคิด แล้วโชคชะตาของคุณจะเปลี่ยนไปจงรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่าความรักของพระเจ้าห้อมล้อมคุณวิธีการซึมซับจิตใต้สำนึกของคุณไว้ด้วยความร่ำรวยอันมั่นคง ก็คือสงบจิต ระงับใจให้หลับไปทุกๆคือนพร้อมกับถ้อยคำที่ว่า "บัดนี้ความร่ำรวยเป็นของฉัน" แล้วความมหัศจรรย์จะเกิดขึ้นในชีวิตความศรัทธาในจิตใต้สำนึก ก็คือความร่ำรวยของคุณนั่นเองมีจิตดวงหนึ่ง เป็นจิตที่เป็นสากล ทุกสิ่งที่ดีงามมาจาก หรือถูกฝากไว้ที่จิตดวงนี้ คุณจะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่อยู่ในจิตสากล โดยการปรับคลื่นเข้าไปหาเท่านั้น"หากสูเจ้าต้องการความมั่งคั่ง สูเจ้าต้องไม่ครอบครอง"




© 2005 - 2018 NovaBizz  Privacy Policy - Term Of Service

เขียนครั้งแรก


สวัสดีครับ  
ผมไม่รู้จะเขียนอะไร  แค่คิดอยากเขียน 

    จะว่าได้ว่าเป็นวันแห่งความซวยมาเยือนเลยก็ว่าได้เพราะเป็นสิ้นเดือนพอดี  ถ้าว่าสิ้นเดือนคุณคงต้องรู้แน่ว่ามนุษย์เงินเดือนเป็นเช่นไร  แต่ผมไม่ใช่มนุษย์เงินเดือน  เนื่องจากผมได้ลาออกจากงานประจำ และ อยากมาลองใช้ชีวิตอิสระบ้าง  เพราะการที่ผมถูกปลูกฝังจากครอบครัวว่าต้องเข้าหลักสูตรการเรียน ตามปกติตามรัฐบาลตาม ความเชื่อของพ่อแม่บอกว่าจะต้อง เรียนให้เก่งๆได้เกรดเฉลี่ยสูงๆเมื่อจบปริญญาจะทำให้เป็นเจ้าคนนายคน มีชีวิตที่ดีมั่นคงมีครอบครัวที่อบอุ่น ซึ่งผมก็เชื่อมาตลอดอย่างนั้น    จนถึงอายุ 26 ปี ผมคิดว่ามันไม่ใช่เส้นทางเดียวที่จะประสบความสำเร็จได้   แต่ยังมีเส้นทางอีกมากมาย   ที่เราเลือกจะเดินไปหาความสำเร็จได้เช่นกัน  กว่าจะมาถึงจุดนี้ผมได้ทำงาน หลายๆที่ เริ่มตั้งแต่งานก่อสร้างมาจนถึง ล่าสุดคือพนักงานห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง

ผมพบว่า การทำงานก็ไม่ได้แตกต่างจาก คนในสังคมมากมายใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปที่ต้องแข่งกับเวลา  เร่งรีบอาบน้ำแต่เช้า ข้าวไม่ได้กิน งานสำคัญที่สุดคือต้องไปให้ถึงที่ทำงานให้เร็วที่สุด  แต่เมื่ออุปสรรคที่รุมเร้าทางด้านการเงินรัดตัว  จึงหันกลับมามองตัวเองจริงๆ หากผมยังเป็นเช่นนี้   ชีวิตคงดิ่งลงเหวไม่มีอะไรดีขึ้นแน่นอน

 ผมเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำยังไงถึงจะหลุดพ้นจากวงจร ของการเป็นหนี้ได้ ผมจึงเริ่มศึกษาหาหนังสือมาอ่าน หนังสือเล่มแรกที่ผมซื้อคือ คิดแบบยิวทําแบบญี่ปุ่น ซึ่งผมไม่รู้หรอกว่า หนังสือเล่มนี้ มีหลักการสอนยังไงรู้แค่ว่า ไปเปิดดูในอินเตอร์เน็ตแล้วเขาบอกว่าเป็นหนังสือที่ดีผมก็เลยซื้อมาอ่าน   แต่ใจผมอยากได้คือ  พ่อรวยสอนลูก แต่ช่วงเวลานั้นที่ผมไปซื้อพอดีหนังสือในร้านหมดผมก็เลยได้เล่มนี้มา

 สิ่งที่ผมได้จากหนังสือเล่มนี้ก็บอกว่า

"ถ้าอยากเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ คุณจะขาดองค์ประกอบ 3 อย่างต่อไปนี้ไม่ได้เลย    อย่างแรกก็คือตั้งใจว่าจะทำอะไรแล้วก็ต้องวางแผนเพื่อทำให้สำเร็จตามเป้าหมายอย่างที่สองคือการลงมือทำตามแผนที่วางไว้ อย่างสุดท้ายคือ ต้องมีใจสู้ที่จะทำมันให้สำเร็จโดยไม่มัวมานั่งกลุ้มว่าจะทำได้ดีหรือไม่ดีหรือเปล่า"

ถ้าพูดถึงเรื่องนักธุรกิจ ในฐานะผมตอนนี้คงไม่มีความรู้ความสามารถพอที่จะก้าวไปสู่คำว่านักธุรกิจได้ แต่เมื่อเปรียบเทียบจากบทความในหนังสือและชีวิตจริงคิดว่าอะไรกันที่จะพาผมไปถึงจุดนั้นได้ 

สิ่งที่อยู่ตรงหน้าผมตอนนี้ก็คือหนังสือ มันคือทางออกที่น่าจะดีที่สุดที่จะนำไปสู่การมีอิสรภาพทางการเงิน  และคติประจำใจผม ที่ผมใช้ ติดตัวมาตลอดคือ  จงเชื่อและศัทธาความพยายาม   

คุณลองมองดูรอบๆกายรอบๆสิ่งแวดล้อมที่คุณอยู่ เช่น เพื่อนที่ทำงานไม่ว่าจะเป็น ทั้งรุ่นน้องรุ่นพี่ที่คุณรู้จัก คุณลองคิดดูว่าพวกเขา มีชีวิตที่ดีขึ้นไปมากกว่าที่เป็นอยู่เท่าไหร่ในแต่ละเดือนแต่ละปี ซึ่ง ความจริง เป็นอย่างหนังสือบอกไว้ว่า ไม่ต่างอะไรจาก หนูถีบจักร  หมายความว่าการหมุนเวียนอยู่ในวงจรชีวิตเดิมๆไม่มีอะไรดีขึ้น

เมื่อเวลาที่คนเราพบอุปสรรคสิ่งที่เป็นตัวตัดสินมากคุณจะข้ามมันไปได้หรือเปล่า มันคือความคิดที่สร้างสรรค์ที่มันยึดติดกับกรอบที่ยึดติดกับชีวิตประจำวันที่คุณเป็น

คุณต้องเปลี่ยน เปลี่ยนเส้นทางเพื่อพิสูจน์ตัวตน ให้ได้ว่า ทำไมคนที่เขาเป็นนักธุรกิจเขาถึงเป็นได้  ทำไมเราจะทำไม่ได้หละในเมื่อ เขาเป็นคนเป็นมนุษย์เดินดินเช่นเรา เขาไม่ได้เป็นเทวดาหรือมีพลังวิเศษอะไรจากไหน   แล้วถามว่าเขาทำยังไงถึงมีอิสระทางการเงินได้หละ?  เป็นแบบไหน หากเราทำตามเขา เราจะเป็นเหมือนเขาได้ไหม ถ้าเป็นไปไม่ได้แสดงว่า เราไม่มีศักยภาพพอ แต่ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะทำไม่ได้เพราะคุณมีสองมือสองเท้าร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่  หายใจได้  

 ดังนั้น ก็ไม่สมควรที่จะไม่ลอง  เกิดเป็นคนต้องลอง  ไม่ลองไม่รู้  มัวแต่ดูเมื่อไหร่จะได้ทำ   ถ้าไม่ทำ คำว่า  อิสรภาพทางการเงินคงเป็นแค่ความฝันลมๆแล้งๆสำหรับคุณตลอดไป  แค่นั้นจริงๆหรือ   

ชีวิตคุณไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นลูกน้องใคร  ชีวิตคุณไม่ได้เกิดมาเพื่อจะโดนเจ้านายด่า แต่คุณควรเป็นหัวหน้าผู้นำเส้นทางของตัวเอง  คุณต้องเป็นอิสระจากชีวิตเดิมๆห่วยๆแบบนั้น   จงก้าวออกมากล้าลงมือทำผมเชื่อแน่นอนมันจะนำพาคุณไปที่ที่ดีกว่าที่คุณเป็นอยู่อย่างแน่นอน   

 ชีวิตคุณ  คุณเลือกได้  อย่ายอมแพ้

ผู้เขียน : ASAWINLHAOSRI

02-08-2020
ที่มา:
http://asawin002.blogspot.com/2020/08/blog-post.html

พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour)

พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour ) พฤติกรรม หมายถึง กิริยาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์หรือที่มนุษย์ได้แสดง หรือปฏิกิริยาที่เกิ...