วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การคัทลอสแบบเซียนเต่า

ตอนที่ 1 การคัทลอสแบบเซียนเต่า

ถึงแม้ว่าอาจจะเป็นวิธีการเล่นหุ้นที่มีนาน
มาแล้วแต่คิดว่ายังมีอีกหลายคนที่ไม่เคยรู้ว่ามีไอเดียแบบนี้อยู่ โดยปกติแล้วเรา
มักจะรุ้จักแต่การกำหนด Cut loss โดยอิงกับราคาที่เราคิดว่าหุ้นมันไปผิดทางแล้ว 
แล้วน แล้วนำมาคำนวนsizeของจำนวนเงิน
และจำนวนหุ้นที่จะซื้อเช่น 

กำหนด Portfolio Risk ไว้ที่2% 
ถ้าพอร์ท 1ล้านบาทเท่ากับว่าคุณยอมเสียตังค์แต่ละเทรดเป็นเงิน2หมื่นบาท 

เอาล่ะทีนี้ราคาหุ้นที่คุณจะซื้อคือ10 บาท
จุดหักกลับที่คุณคิดว่าหุ้นไปผิดทาง
คือหรือcut loss 9 บาท

นั่นก็คือ ถ้าคุณนำเอาเงิน 20,000 บาท มาเทียบว่ามีค่าเท่ากับส่วนต่าง 1 บาท ของ
ราคาหุ้น เราซื้อหุ้นที่ราคา 10 บาทจะเป็น
เงิน200,000 นั่นเอง ( ไม่รวมคอมมิสชั่น )

ถ้ายัง งงๆ นะครับ
Portfolio Risk = 1,000,000 * 2% = 20,000 บาท

หา Size ของจำนวนเงินที่จะเทรดได้โดย

1. หาจุด Cut loss ก่อน เช่นซื้อ10 บาท ขาย 9 บาท ส่วนต่าง = 1 บาท

2. นำส่วนต่าง1บาทมาเทียบกับ
 Port risk = 20,000

3. เมื่อ20,000/1 บาท ถ้าหุ้นราคา 10 บาทต้องใช้เงิน = 200,000 บาท

4. พูดเป็นสมการง่ายๆคือ Port risk/ส่วนต่าง * ราคาหุ้น นั่นเองครับ ทีนี้เราก็หาจำนวนเงินที่จะซื้อได้ง่ายๆแล้วนะครับ

5. จริงๆ สูตรสมการนี้จะง่ายกว่าเดิมอีก เอาแบบลัดไปอีก เอาเป็นหาจำนวนหุ้นที่จะซื้อเลย ก็แค่นำ Port risk/ส่วนต่าง = จำนวนหุ้นที่จะซื้อแล้วครับ

นี่คือวิธีการคำนวนเงินในพอรท์ที่เราจะนำมาซื้อโดยทั่วไปแต่ เหล่า “เซียนเต่า
” Turtle trader มีวิธีการที่ต่างไป 

คือคิดตามค่า N หรือ Average True Range ของหุ้นเป็นยังไงลองอ่านดูครับ 

( สำาหรับคนที่หัวช้าในการคำนวนผมหา
โปรแกรมมาช่วยแล้วนะครับ 
ใช้ง่ายดีครับ “ฟันธง” !! )
ผมจะนำมานำเสนอในโพสต์ถัดไป  และจะเริ่มทำแบบนี้คือเอาเทคนิคสูตรต่างๆมาแชร์ตลอดครับ  


ตอนที่ 2
Position Sizing
“นักเล่นหุ้นแบบ Turtle trader ใช้ค่าความผันผวนของตลาดมาเป็นตรรกะในการหา Position size”

การกำหนดขนาดของ position นั้นเป็นสิ่งที่
สำคัญที่สุด แต่กลับกลายเป็นสิ่งที่มีคนเข้าใจน้อยที่สุดในการเล่นหุ้น Turtle trader นั้นใช้กระบวนการคิดหา Posiotion Size ที่ต่างไป
จากนักเล่นหุ้นในยุคนั้นเป็นอย่างมาก

 เนื่องจากพวกเขานำค่าความผันพวนมา
คำนวน นั่นหมายความว่า Positionของเราจะมีค่าตามความผันผวนของตลาดนั่นเอง

อีกนัยหนึ่งก็คือหากตลาดมีค่าของความผันพวนสูงจะทำให้Position Sizeของเรามีขนาดเล็กลงกว่าการเล่นหุ้นในตลาดที่มีความผันผวนน้อยกว่า

ค่าความผันผวนนี้มีความสำคัญมากที่จะนำมาใช้เนื่องจากมันจะทำให้เรา มีโอกาศได้เงินและเสียเงินจำนวนพอๆกัน 

แม้ว่าหุ้นเหล่านั้นจะเคลื่อนใหวแรงหรือช้าต่างกัน นั่นทำให้เราสามารถควบคุมความเสี่ยงจากการเล่นหุ้นที่ต่างตัวกันไป หรือต่างตลาดกันไป

ถึงแม้ว่าความผันผวนของการเคลื่อนไหวของหุ้นที่เรามีนั้นจะน้อยกว่าหุ้นตัวอื่นที่เรามี แต่ผลที่ได้รับออกมาจะไม่แตกต่างกัน

เนื่องจากเราจะมีหุ้นที่มีค่าความผันผวนต่างอยู่มากกว่าหุ้นที่มีความผันผวนสูงนั่นเอง

Volatility and Meaning of N
ค่าความผันผวนและความหมายของ N
Turtle trader นำคอนเซปท์ที่ได้รับจาก Richard Dennisและ Bill Eckhardt มาใช้ 

คอนเซปท์นี่ถูกเรียกง่ายๆว่า 
N ซึ่งหมายถึงค่าความผันผวนของตลาด
( พูดง่ายๆคือการนำค่า N มาใช้ในการ cut loss นั่นเองครับ )

N คือค่า 20 days Moving average คำนวนแบบ Simple ของค่า True range ( ค่าสมบูรณ์ของการเคลื่อนไหว) ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า ATR( Average true range )
 
ค่า N นั้นแสดงถึงค่า ATR ในตลาดหรือหุ้นต่างๆในช่วงเวลานั้นๆ

ตอนที่3
สูตรการหา ATR คือ
True range = Maximum(H-L,H-PDC,PDC-L)

โดย
H = Highจุดสูงสุดของวัน
L = Low จุดต ่าสุดของวัน
PDC = Previous day’s closeราคาปิ ดเมื่อวันก่อน
_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ 
การหาค่าของ N คือ
N = (19 * PDN + TR)/20
โดย
PDN = Previous day’s N ค่าN ของวันก่อน
TR = True range ค่าระยะความผันผวนสมบูรณ์( ค่าจะเป็นค่าเลขจำนวนซ้ำสมบูรณ์ ไม่มีค่าติดลบ )

สังเกตุว่าการหาค่า N นั้นต้องนำค่า N ของวันก่อนมาใช้ด้วย ค่าที่นำมาใช้ของ N ในการหา Position Size คือ 20 days 
Moving average แบบsimple ของ 
True range ( ใครอยากลองทำไม่ต้องคิดให้ปวดหัวนะครับในโปรแกรม Metastock มี indicator : ATR ให้อยู่แล้วลองไปหาดูแล้วกำหนดเป็น 20วัน )
แนวคิดพื้นฐานในการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค ของ Turtle trader นั้นอยู่บนหลักการ Peak and Through Dollar Volatility adjust (การปรับแต่งค่าความผันผวนเป็น
จำนวนเงิน)

ขั้นแรกเราในการหา Position Size นั้นเราต้องปรับแต่งให้ค่า N นี้กลายเป็นจำนวนของเงินขึ้นมาก่อน

( ในกรณีที่เล่น คอมโมดิตี้  หรือ ฟิวเจอร์ต่างๆ นะครับเนื่องจาก 1 จุดจะไม่เท่ากับ 1 บาทเหมือนการเล่นหุ้น ) หาได้โดยการ
คำนวน Dollar Volatility = N * Dollar Per Unit

เช่น ง่ายๆนะครับ1จุดมีค่า1000เหรียญ ถ้า N ที่ได้จากค่าความผันผวนคือ10จุด นั่นคือค่าความผันผวนทั้งหมด
คิดเป็น10000เหรียญครับ 

นี่คือราคาที่เราต้องจ่ายต่อ10จุดหรือ1N นั่นเองแต่หากเราเล่นหุ้นก็ไม่ยุ่งยากอะไรครับ ง่ายๆก็คือ

เช่น ราคาหุ้น 10 บาท เถ้าราได้ค่า N 
ที่ 1 บาทเราก็ไม่ต้องแปลงเพิ่มเติมอะไรครับ มันก็คือการหาจุด cut loss จาก
Volatility นั่นเองและนั่นคือ ค่าความผันผวนสูงสุดที่ยอมได้และหากหุ้นเคลื่อนไหวผิดจากที่คิดถึงจุดนี้ต้องขายทิ้งครับ


ตอนที่ 4

Volatility adjust position unit ( การนำมูลค่าที่ได้จากการผันผวนมาหาขนาดของ Position )

ง่ายๆอีกเช่นเคย 
สูตรคือ Unit Size (= 2% * Portfolio Value) / N * Dollar per point

ในกรณีนี้ถ้าเล่นหุ้นก็ เอาค่า N มาคิดได้เลยนะครับ เช่น portfolio เรามีเงิน 1,000,000 บาท 2% คือ20,000 นี่คือเงินที่เรายอมเสียในแต่ละครั้งเอามาหารด้วย
 N ( นำN มาเป็นจุด Stop loss ) เช่นหุ้นที่เราต้องการซื้อคือ10 บาทและ N คือ1 บาทเราจะ Cut loss ที่9 บาทนั่นเองครับ
 ทีนี้ เอา20,000 มาหารด้วย N=1
จะได้จำนวนหุ้นครับ กี่ unit ก็ว่า
ไปในที่นี้  ได้20,000 หุ้น จะต้องใช้เงินทั้งหมด 10บาท 
*20,000หุ้น = 200,000 บาท
มึนกันรึปล่าวครับ สรุปง่ายสำหรับวันนี้
ให้ก่อนนะครับ พวกเซียนหุ้น Turtle trader เนี่ยเค้ามีวิธีการหา Position size
      จากจุด Cut loss ที่ต่างไปกับเราๆครับ เช่นเราอาจจะกำหนดจุดขาย cut lossตามการหลุด trend line แล้วนำมาหา Position 
Size ในการเทรด

     แต่พวก “เซียนเต่า” Turtle trader จะใช้ ค่าเบี่ยงเบน Volatility มาใช้แทนครับ ซึ่งวิธีการเล่นหุ้นแบบนี้จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจาก “อุบัติเหตุ”ที่ไม่คาดคิด 

หรือที่เรียกว่า Price shock ได้ดีกว่าครับ
The importance of Position Sizing ( ความสำคัญของการหาPosition Size )
การกระจายความเสี่ยงนั้นมีความสำคัญเพื่อที่จะกระจายการลงทุนไปยังหุ้นต่างๆ เพื่อจำกัดความเสี่ยงของ Port และเพิ่ม
โอกาศที่จะเล่นหุ้นถูกตัวให้มากขึ้นด้วยครับ 

โดยในการนี้เมื่อเราใช้วิธีนี้แล้วจะทำให้เราสามารถจัดการRisk/Rewardในหุ้นแต่ละตัวได้อย่างเท่าๆกันด้วย

ระบบTurtle Trading System จะใช้ค่า “ความผันผวน หรือ Volatility” ในการประเมิณความเสี่ยงในการลงทุนแทนที่วิธี
ธรรมดา 

(อ่านบทที่ 2 ต่อ) เพื่อที่จะทำให้ความเสี่ยงในแต่ละการลงทุนที่ถืออยู่สามารถประเมินได้อย่างเท่าๆกันๆ และการทำเช่นนี้สามารถช่วยให้เกดิความน่าจะเป็นี่จะเพิ่มปริมาณการเทรด ที่ถูกต้องได้มากกว่ากว่าเทรดที่
ผิดพลาดครับ

#THAIBUSINESS 
27-07-2020

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour)

พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour ) พฤติกรรม หมายถึง กิริยาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์หรือที่มนุษย์ได้แสดง หรือปฏิกิริยาที่เกิ...